2 มี.ค. 2021 เวลา 06:21 • ปรัชญา
🔻ถ้าทำผิดแล้วขยัน มันจะผิดมาก🔺
1
อย่าสักแต่ว่า ทำสมาธิ ..!!
ขอบคุณภาพจาก TripAdvisor
สัมมาสมาธิ 🔸มิจฉาสมาธิ
เช้านี้ผมได้รับฟังพระธรรมเทศนาจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช แล้วเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ และฟังเข้าใจง่าย เหมาะกับผู้ที่กำลังสนใจใคร่จะเข้ามาศึกษาและปฏิบัติ
เรื่องหลักในการปฏิบัตินั้น จำเป็นต้องรู้และเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเสียก่อน การปฏิบัติจึงจะได้ไม่ผิดทางและก้าวหน้าได้ไว ไม่เนิ่นช้าในการปฏิบัติ
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช
อย่าสักแต่ว่า สมาธิ สมาธิ ที่เราทำอยู่อาจจะเป็นสมาธิแบบผิดๆที่เรียกว่า "มิจฉาสมาธิ" ก็ได้
ต่อจากนี้เป็นส่วนที่คัดมาจากคำสอนของพระอาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสมาธิที่ถูกต้อง
ในหัวข้อธรรมคือ วิธีนั่งสมาธิที่ถูกต้อง
สมาธิมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ มิจฉาสมาธิ และสัมมาสมาธิ
มิจฉาสมาธิ คือสมาธิที่นักปฏิบัติเกือบร้อยทั้งร้อยทำกันอยู่
เป็นสมาธิที่ไม่ประกอบด้วยสติ
จิตเป็นอกุศลนะ จิตไม่ได้เป็นกุศลจริง
อย่างบางคนภาวนาด้วยความโลภ ใจมันโลภการปฏิบัติ
นั่งหายใจไป ก็นั่งโลภไป อยากให้จิตสว่าง อยากให้จิตสงบ อยากเข้าฌาน อยากมีตาทิพย์ หูทิพย์ เต็มไปด้วยความอยาก
อันนี้เป็นมิจฉาสมาธินะ
จิตอย่างนี้ไม่มีสติกำกับ ใช้ไม่ได้
สัมมาสมาธิต้องมีสติกำกับ
ถ้าเมื่อไหร่ขาดสติ นั่งแล้วเห็นโน่นเห็นนี่
เห็นผี เห็นเปรต เห็นเทวดา เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเลย
🌸 แต่ไม่เห็นกาย เห็นใจตัวเอง
1
อย่างนี้ใช้ไม่ได้
หรือบางที เห็นกาย เห็นใจแล้วถลำลงไปจ้อง
อันนี้ได้เป็นมิจฉาสมาธิ อันนี้เป็นสัมมาสมาธิ เป็นสัมมาสติ
สัมมาสมาธิมี 2 แบบ แต่เอามิจฉาสมาธิเสียก่อน
อย่างเวลาเรานั่ง แล้วก็เคลิ้ม
ง๊อกๆ แง๊กๆ หรือนั่งแล้วน้ำลายยืดไปเลย
อย่างนี้เรียกว่าขาดสติ
โมหะครอบงำแล้ว
นั่นเป็น มิจฉาสมาธิ
นั่งสมาธิแล้วเห็นผี เห็นเปรต เห็นเทวดา
จิตวิ่งออกไปข้างนอก
ไม่เห็นว่าจิตโลภ อยากเห็นเทวดา
จิตวิ่งไปดูเทวดาแล้ว
เรามองไม่เห็นว่าจิตกำลังโลภ
อันนี้เป็นมิจฉาสมาธินะ
งั้นเวลาพวกเราทำสมาธิ
ต้องทำด้วยความรู้สึกตัว
อย่าขาดสติ ต้องมีสติอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
🌸หาอารมณ์กรรมฐานสักอย่างหนึ่งนะ มาเป็นเครื่องอยู่ของจิต
นี่ในส่วนของมิจฉาสมาธินะ คนไหนเคยทำอยู่ เลิกซะ
อย่างถ้าปฏิบัติแล้วจิตแน่น เครียดไปหมดเลย
อย่างนี้ทำผิดแล้วหล่ะ อย่าทำเลยดีกว่านะ
ถ้าทำผิดแล้วขยัน มันจะผิดมาก
ก่อนจะปฏิบัติ ให้เรียนรู้หลักให้แม่นเสียก่อน
แล้วเวลาปฏิบัติจะได้ไม่ผิด
สมาธิที่ถูกต้องเรียกว่า สัมมาสมาธิ มี 2 ส่วน
อันแรกสมาธิแยกเป็น 2 ค่าย ค่ายนึงมิจฉาสมาธิ จิตมีอกุศล จิตไม่มีสติจริง
อีกค่านึงสัมมาสมาธิ จิตมีกุศล มีสติกำกับอยู่
ในส่วนสัมมาสมาธินั้นมีสมาธิอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด
แต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจศัพท์ 2 คำนี้ก่อน ตัวหนึ่งคือ จิต อีกตัวหนึ่งคืออารมณ์
คำว่า จิต แปลว่าอะไร
จิตคือ ผู้รู้อารมณ์ หรือจิตที่เป็นตัวรู้อารมณ์นั่นเอง
อารมณ์คือ อะไร
อารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้
อารมณ์ตัวนี้ไม่เหมือนอารมณ์ในภาษาที่เราพูดๆกัน
อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย อะไรอย่างนี้
คำว่า "อารมณ์" ในทางพุทธศาสนานี้
แปลว่า สิ่งที่ถูกรู้
ถ้าจิตคือ ผู้ไปรู้อารมณ์เข้า
อะไรที่เรียกว่า "อารมณ์" บ้าง
สิ่งที่เรียกว่า "อารมณ์" มี 4 อย่าง
1.)เรื่องราวที่คิด อย่างเราคิด
พุท -โธ พุท-โธ เนี่ย อันนี้เป็นความคิด
อย่างนี้ อารมณ์ที่ตั้งใจคิดนะ อย่างตั้งใจคิด พุท-โธ
ตั้งใจคิดบทสวดมนต์
บางทีมันก็คิดเรื่องนี้ เรื่องโน้น สะเปะสะปะ ไป
เรื่องราวที่คิดนั่นแหละ เรียกว่า
อารมณ์ ชนิดหนึ่ง เรียกว่า "อารมณ์บัญญัติ"
🌸อารมณ์บัญญัติเนี่ย หมามันก็คิดเป็นนะ แมวมันก็คิดเป็น
การที่เราไปรู้เรื่องราวที่คิดไม่ใช่ของอัศจรรย์อะไร
ไม่มีประโยชน์เท่าไหร่
แต่ว่ามันมีประโยชน์ในทางโลก
อย่างเราจะทำมาหากินเราก็ต้องคิดนะ
ความคิดอย่างนี้เรียกว่า อารมณ์บัญญัติ นะ
ไม่ได้ใช้ทำ วิปัสสนา นะ
2) อารมณ์ที่ 2 คือรูปธรรม รู้สึกไหมว่าเรามีรูปธรรม
บางทีเราก็ระลึกได้
ลองพยักหน้าซิ ลองพยักหน้า
รู้สึกมั้ย ร่างกายนี้มันเคลื่อนไหว
ลองยิ้มสิ ยิ้ม ยิ้มหวานๆ เหมือนคนมาบอกรักเรา ยิ้มหวานๆ
รู้สึกมั้ย ร่างกายมันยิ้ม
เนี่ย ตัวรูปเป็นอารมณ์ ที่จิตรู้
อย่างขณะนี้เรานั่งอยู่ รู้สึกมั้ย
รูปมันนั่งอยู่ ใครเป็นคนรู้ จิตเป็นคนรู้
ตัวรูปเป็นอารมณ์ชนิดหนึ่ง
เรื่องราวที่คิดเป็นอารมณ์อีกชนิดหนึ่ง
ร่างกายเรานี้เป็นรูป เป็นอารมณ์อีกชนิดหนึ่ง
ความรู้สึกทั้งหลายเป็น นามธรรม เป็น อารมณ์ อีกชนิดหนึ่ง
ความรู้สึกทั้งหลายเช่น ความสุข ความทุกข์ ความไม่สุขไม่ทุกข์
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ สติ สมาธิ ปัญญา
เนี่ย พวกนี้อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า
เป็น "นามธรรม" สิ่งเหล่านี้มันถูกรู้ได้
อย่างจิตเรา มีสติขึ้นมานะ ก็มีจิตอีกดวงนึงรู้ว่าจิตตะกี้มีสติ
จิตเป็นคนรู้ สิ่งที่ถูกรู้ มีทั้งเรื่องราวที่คิด
มีทั้งรูปธรรม มีทั้งนามธรรม
3 อย่างนี้ที่พวกเรารู้อยู่ทั้งวัน
มันจะรู้สลับไป สลับมา
บางทีเราก็รู้ร่างกายที่เคลื่อนไหว
บางทีรู้ว่าร่างกายหายใจ
บางทีกวาดบ้าน เห็นร่างกายกวาดบ้าน
บางทีกวาดบ้านอยู่หนีไปคิดเรื่องอื่น
ไปรู้เรื่องราวที่คิด
ตรงที่รู้เรื่องราวที่คิดนี้
🌸จิตตกจากวิปัสสนากรรมฐานแล้วนะ
อารมณ์ที่จะใช้วิปัสสนาได้คือ
รูปธรรม นามธรรม ที่รวมกันขึ้นมาเป็นตัวเรานี่
ไม่ใช่เรื่องราวหรืออารมณ์ที่คิดๆเอานะ
ความคิดไม่ใช่ของจริงนะ
กายนี้เป็นของจริง
ความรู้สึกที่เกิดกับจิตใจเป็นของจริงที่เราจะเรียนรู้
ของจริงที่เราเรียกว่า "ปรมัตถธรรม"
มีความจริง จริงๆ
4)อารมณ์อีกชนิดหนึ่ง พวกเรายังไม่มีหรอกนะ
อารมณ์ที่ 4 คือ นิพพาน
อารมณ์นิพพาน
นิพพาน ไม่ใช่โลก โลกหนึ่ง อย่าเข้าใจว่านิพพานเป็นโลก โลกหนึ่ง
พระอรหันต์ตายแล้ว ไปเกิดในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่สัมมาทิฏฐิเลย
เป็น มิจฉาทิฏฐิ นะ
ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้านะ
สิ่งที่เราใช้ทำวิปัสสนามันมีอารมณ์ 4 อย่างนี้
แต่อารมณ์บัญญัติใช้ทำวิปัสสนาไม่ได้
เพราะเป็นอารมณ์ความเพ้อฝัน
รูปธรรม นามธรรม ใช้ทำวิปัสสนาได้
นิพพานไม่ได้ใช้ทำวิปัสสนา
เพราะนิพพาน ไม่มีเกิดมีดับ
ร่างกายเรา มีเกิดมีดับ
ความรู้สึกเรา มีเกิดมีดับ นะ
นิพพานไม่มี ไตรลักษณ์ มีลักษณะเดียว
คือไม่มีเจ้าของ ไม่มีใครสั่งนิพพานได้
งั้นเราต้องรู้แล้วว่า
ต่อไปนี้เราจะต้องเรียนเรื่องอารมณ์นะ
รูปนาม ในการเจริญปัญญา
จิตเป็นคนไปรู้รูป จิตเป็นคนไปรู้นามนะ
นี่จิตจะเป็นคนรู้ได้ต้องฝึกจิตให้มีสมาธิ
สมาธิมี 2 อัน บอกแล้ว
อันที่ 1 เรียกว่า
อรัมนูปนิฌาณ
คือจิตนี้แหละเคลื่อนเข้าไปอยู่ในอารมณ์เดียว
จิตของเรานี้วิ่งวุ่นไปตามอารมณ์ต่างไป มากมาย
เดี๋ยวก็วิ่งไปดูรูป เดี๋ยวก็วิ่งไปฟังเสียง
รูป รส กลิ่น เสียงสัมผัสทางกาย เรื่องราวที่คิดเนี่ย ล้วนแค่เป็นธรรมารมณ์ที่จิตวิ่งไปรู้
วันๆนะ จิตจะวิ่งไป พล่านไป ทางทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดเวลา
อย่างนั่งฟังหลวงพ่อเทศน์ให้ฟังเนี่ย รู้สึกมั้ย จิตเราก็วิ่งไปทางทวารต่างไป
เดี๋ยวก็มองหน้าหลวงพ่อ เดี๋ยวก็ตั้งใจฟัง ไม่ได้มองหลวงพ่อ แต่ตั้งใจฟัง ตาก็ยังลืม จ้องอยู่อย่างนี้ แต่ใจไปจดจ่ออยู่กับการฟัง
ฟังแล้วก็สลับไปคิด ฟังแล้วก็คิด
ตอนที่ฟังเนี่ยเป็นจิตดวงนึงนะ ตอนที่คิดเป็นจิตอีกดวงนึง
มันเกิดสลับกันไปเรื่อยๆ
เนี่ยจิตเรา ร่อนไปในอารมณ์ในโน้นที อารมณ์นี้ที
อย่างเวลาเราดูโทรทัศน์ ดูทีวีนะ บางทีเราก็ดูด้วยตา เห็นรูปในจอ
บางทีเราก็ฟังเสียง บางทีเราก็คิดถึงเรื่องราวที่เราไปดูมาว่ามันคืออะไร
เนี่ยจิตจะทำงานสลับกันตลอดเวลา
ฉะนั้น ติตจะร่อนเร่ตลอดเวลา นี่คือจิตไม่มีสมาธิ
แบบที่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว
จิตจะฟุ้งซ่าน จิตจะทำงานไปเรื่อยไป วิ่งพล่านไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
จิตแบบนี้จะเหน็ดเหนื่อยนะ
เพราะฉะนั้นเราจะต้องฝึกให้มีสมาธิหยุดอยู่ในอารมณ์อันเดียว
🌸ถ้าจิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตจะเกิดพลังขึ้นมา
เหมือนเวลาที่เราเจริญวิปัสสนาเนี่ย เราจะใช้สมาธิอีกแบบนึงนะ
ตรงนี้กำลังสอนสมาธิแบบที่ 1 เป็นสมาธิที่ถูกต้อง เรียกว่า
อารัมนูปนิฌาณ
สมาธิมี 2 อัน อารัมนูปนิฌาณ จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว
🌸อีกอันนึง ลักขนูปนิฌาณ จิตตั้งมั่นเห็นอารมณ์ทั้งหลายเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง จิตเป็นหนึ่ง แต่อารมณ์เป็นแสนเป็นล้านได้
ส่วน อารัมนูปนิฌาณ จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่ง หนึ่งต่อหนึ่ง อยู่ด้วยกัน
นมัสการ
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช สาธุในธรรม
ขอขอบคุณ
ธรรมะสวัสดี
1
โฆษณา