Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ้าว รถเป็นอะไรวะ
•
ติดตาม
5 มี.ค. 2021 เวลา 07:00 • ยานยนต์
Ep.3 ปุ้ง !!! อ้าวว ยางแตกก
ยางแบนขณะขับขี่มีอันตรายถึงชีวิต ภาพ:pixabay
Q:สิ่งเดียวที่รถของคุณสัมผัสกับพื้นของถนนคืออะไร??
A:คำตอบคือ ยางรถยนต์ ใช่ครับ ยาง รถ ยนต์
Q: ยางรถยนต์ที่ดี เราควรเลือกยังไงละ?
A: ข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกซื้อยางใหม่
- ค่าการยึดเกาะถนนในสภาพพื้น แห้งและเปียก
- ระยะการเบรคในสภาพพื้น แห้งและเปียก
- เนื้อยางควรมีความนิ่ม
- ประเภทของดอกยาง
ข้อมูลด้านบน เป็นแค่ข้อมูลคร่าวๆเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกยางเส้นใหม่ให้รถของเรา ส่วนข้อมูลต่อจากนี้ไปจะเป็นข้อมูลที่เจาะลึกลงถึงรายละเอียดที่เป็นส่วนประกอบทั้งหมดที่เราต้องเอามาเปรียบเทียบในการเลือกซื้อยางใหม่ (ในEPนี้ จะขอนำเสนอเฉพาะข้อมูลที่ใช้ตัดสินใจซื้อยางSize ขนาดเท่าเดิมจากโรงงานก่อนนะครับ)
1. TREADWEAR TRACTION TEMPERATURE
ภาพจาก wikipedia.com
ขอเล่าประวัติความเป็นมานิดนึงนะครับ หน่วยงานที่กำหนดค่าคะแนนนี้ ชื่อเต็มว่า Uniform Tire Quality Grading เรียกสั้นๆว่า UTQG อยู่ภายใต้ความควบคุมของ National Highway Traffic Safety Administration หรือชื่อไทย หน่วยงานด้านความปลอดภัยทางถนนสากล โดยเริ่มกำหนดค่าคะแนนทดสอบตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 1979 เป็นต้นมา
Treadwear - ค่าการสึกหรอของยาง
สังเกตุไหมว่าที่แก้มยางของรถเรา จะคำว่า treadwear 300 บ้าง 500 บ้าง 180 บ้าง มันแตกต่างกันยังไง ยิ่งค่าtreadwear ยิ่งมากการสึกหรอยิ่งต่ำ แต่ แต่ แต่
ต้องแลกกับการแข็งกระด้างที่มากกว่า
Traction - ค่าความสามารถในการหยุดบนทางเปียก บนพื้นยางมะตอย บนพื้นผิวคอนกรีต
เป็นการทดสอบการเบรคแบบหน้าตรง ระดับสูงสุด AA,A,B,C ไล่เรียงกันลงมา
Temperature - ค่าการทนความร้อนและกระจายความร้อน
ทดสอบในห้องปฎิบัติการ โดยมีเงื่อนไขควบคุมระหว่างการทดสอบ ระดับคะแนนจะมี A,B,C เรียงลงมา
2.เลือกประเภทของยางให้เหมาะสมกับการใช้งาน
เวลาไปเลือกซื้อยาง บางร้านจะมีการแบ่งโซนออกเป็นประมาณ 3 - 4 ของประเภทยาง มี HT,HP,AT,MT แล้วรถของเราควรเลือกอันไหนละ
วิธีเลือกให้ดูตามลักษณะการใช้งาน เราขับรถบนถนนแบบไหน ควรเลือกให้เหมาะสมตามนั้น เพราะยางแต่ละประเภทจะมีข้อจำกัดในการใช้งานแตกต่างกันไป
2.1 ยาง HT - Highway Terrain
เป็นยางที่ใช้งานกันทั่วไปอย่างแพร่หลาย ลักษณะการใช้งานจะวิ่งบนถนนยางมะตอยหรือถนนคอนกรีตเกือบ 90%
ยางแบบ HT ดอกยางจะเรียงถี่ชิดกัน ภาพจาก walmart
2.2 ยาง HP - Highway Performance
เป็นยางที่ผลิตมาเพื่อ SUV ที่เน้นใช้ความเร็วสูงในทางเรียบ จะมีความแข็งกระด้างมากกว่าแบบ HT จะแตกต่างกับ HT ที่เนื้อยางและ Speed rate
ดูคล้ายกับ HT แต่ต่างกันนะ ภาพจาก tiresize.com
2.3 ยาง AT - All Terrain
ดอกยางจะมีความห่างเพิ่มขึ้นจากแบบ HT/HP รถยนต์ของบางค่ายที่เป็นแบบ 4x4 ก็ใช้ยางประเภทนี้เป็นแบบมาตรฐานออกจากโรงงาน มีคุณสมบัติในการลุยทางขรุขระได้มากกว่าแบบ HT/HP เพราะดอกยางมีการออกแบบลวดลายเน้นการตะกุยดิน หิน เพิ่มขึ้นกว่าวิ่งทางเรียบ แลกกับเสียงที่ดังขึ้น น้ำหนักยางที่มากขึ้น การเกาะถนนที่ลดลง
ดอกยางที่ห่างขึ้น เพิ่มการตะกุย สลัดดิน ภาพจาก walmart.com
2.4 ยาง MT - Mud Terrain
ชาวแคมป์ สายป่า ถูกใจสิ่งนี้ ยางMT ผลิตมาเพื่อการตะกุย ลุย สลัด สะบัดดิน ดอกยางออกแบบมาให้แข็งแรงมาก มีความห่างของร่องยางมาก เพราะฉะนั้นเวลาเอายางประเภท MT มาวิ่งบนถนนทางเรียบจะมีเสียงดังที่สุดในบรรดา ยางทุกประเภท ทำให้รถกินน้ำมันเพิ่มขึ้นเนื่องจากน้ำหนักที่มาก การเกาะถนนทางเรียบสู้ประเภทอื่นไม่ได้
MT ดอกยางจะใหญ่มากเพื่อการตะกุย ภาพจาก exploroz.com
3.ความสามารถในการรับน้ำหนักของยาง
ยางไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่กลิ้งไปบนถนนเพียงอย่างเดียวแต่มันก็เป็นตัวรับน้ำหนักที่ถ่ายลงมาจากด้านบนด้วยเหมือนกัน เราสามารถดูตัวเลขบอกพิกัดน้ำหนักบรรทุกของยางได้ที่แก้มยาง แล้วนำมาเทียบกับตารางพิกัดน้ำหนัก
โดยตัวเลขบอกพิกัดจะเป็นตัวเลขที่อยู่หลังตัวเลขที่บอกขนาดของล้อแม็กของรถเรา
ตัวบ่งชี้พิกัดน้ำหนักคือ วงสีแดงที่สาม ภาพ:generaltire
เมื่อรู้ตัวเลขบอกพิกัดน้ำหนักแล้ว เราสามารถนำมาเทียบค่าได้ตามตารางด้านล่างนี้
ภาพจาก blackcircle.com
วิธีคำนวณพิกัดน้ำหนักบรรทุก จากภาพด้านบนจะเห็นว่า ตัวเลขบ่งบอกพิกัดน้ำหนักคือ 95 เทียบในตารางคือ 690 กิโลกรัมต่อยาง1เส้น รถของเรามียาง 4 เส้น
ผลรวมคือ 690 x 4 = 2760 กิโลกรัม หรือ 2.7 ตัน
บวกลบคูณหาร น้ำหนักรวมก่อนบรรทุกนะครับ
MT ลุยๆ โหดๆ ภาพจาก depositphoto
เป็นยังไงบ้างครับ ได้ข้อมูลตัดสินใจ เอาไว้เปรียบเทียบเวลาจะซื้อยางเส้นใหม่ให้รถที่เรารัก ข้อมูลข้างต้นนำไปใช้สำหรับยางสเปคเดิมโรงงานนะครับ รอบหน้าจะมาเล่าถึง รายละเอียดบนแก้มยางมีอะไรบ้าง การเพิ่มหรือลด ขนาดล้อแม็กมีผลอะไรบ้าง ติดตามกันนะครับ
กด “ ติดตาม “ เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ
T.K
1 บันทึก
1
2
1
1
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย