4 มี.ค. 2021 เวลา 02:40 • ธุรกิจ
ดอนเมืองโทลเวย์ กำลังจะเข้าตลาดหุ้น
7
เมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานว่าบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง
หรือที่หลายคนเรียกกันว่า โทลเวย์ กำลังจะ IPO
หรือ เสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก
4
แล้วธุรกิจเจ้าของทางด่วน มีอะไรน่าสนใจบ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ 33 ปีที่แล้ว โดยบริษัท 2 แห่ง คือ
บริษัท ดิคเกอร์ฮอฟฟ แอนด์ วิดมานน์ จำกัด และ บริษัท ศรีนครการโยธา จำกัด
1
บริษัทแห่งนี้ ทำธุรกิจบริหารโครงการสัมปทานทางยกระดับดอนเมือง
มีระยะทางรวมประมาณ 28.1 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
1
1. ทางหลวงสัมปทานโครงการยกระดับดอนเมือง ครอบคลุมตั้งแต่ทางหลวงดินแดน ถึง ดอนเมือง
และทางหลวงต่อขยายจากดอนเมือง ถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ทั้งสิ้น 21.9 กิโลเมตร
2. ทางหลวงส่วนต่อขยายรังสิต 6.2 กิโลเมตร
โดยระยะเวลาสัมปทานจะสิ้นสุดลงในปี 2577 หรืออีกราว 13 ปี
ซึ่งหลังจากครบกำหนด ก็จะมีการประมูลคัดเลือกเอกชนเข้ารับสัมปทานโครงการอีกครั้ง
1
ทีนี้ เรามาดูกันว่าในแต่ละวันมีผู้ใช้บริการทางยกระดับแห่งนี้เท่าไร
ในปี 2562 มีผู้ใช้บริการทางหลวงส่วนเดิม เฉลี่ยวันละ 92,914 คัน
และผู้ใช้บริการส่วนต่อขยาย เฉลี่ยวันละ 51,895 คัน
โดยบริษัทมีรายได้จากทางด่วน เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 8.3 ล้านบาทต่อวัน
4
Cr. MGR Online
แล้วที่ผ่านมา ผลประกอบการของบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง เป็นอย่างไร?
1
ปี 2560 รายได้ 3,033 ล้านบาท กำไร 1,398 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 3,074 ล้านบาท กำไร 1,457 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 2,859 ล้านบาท กำไร 1,159 ล้านบาท
ในขณะที่ผลประกอบการ 9 เดือนแรกในปีที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโรคระบาดโควิด
ซึ่งส่งผลให้การใช้งานขนส่งสาธารณะ รวมถึงการใช้บริการทางด่วน มีปริมาณที่ลดลง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าว ทางบริษัทก็ยังมี
รายได้ 1,490 ล้านบาท กำไร 544 ล้านบาท
ซึ่งก็ถือว่าเป็นบริษัทที่ยังมีความสามารถในการทำกำไรได้ดี
สำหรับปี 2562 บริษัทรายงานว่ามีอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 64%
ซึ่งอัตรากำไรขั้นต้นที่ว่านี้ อธิบายง่ายๆ ก็คือ รายได้ หักต้นทุน
1
โดยต้นทุนหลักของบริษัท ก็จะเป็นค่าซ่อมบำรุงรักษา ซึ่งค่าใช้จ่ายประเภทนี้ จะอยู่ในระดับที่คาดการณ์ และควบคุมได้
แล้วบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง เข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
จะนำเงินที่ระดมทุนได้ ไปทำอะไรบ้าง?
1
บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง ได้แจ้งจุดประสงค์ในการระดมทุนครั้งนี้ แบ่งออกเป็น
- ชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นกับสถาบันการเงิน
- ชำระหุ้นกู้
- นำเงินไปลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
ถึงตรงนี้ เราก็พอจะสรุปภาพรวมของธุรกิจได้ว่า ดูราวกับเป็นธุรกิจเสือนอนกินที่เก็บค่าผ่านทาง
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจแบบนี้ ไม่มีความเสี่ยง
เพราะหนึ่งในความท้าทายที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับธุรกิจทางด่วน ก็คือ
เมื่อสัมปทานหมดอายุลง บริษัทจะได้ต่ออายุสัมปทานหรือไม่
2
Cr. thairath
ส่วนอีกเรื่องก็คือทางเลือกของการเดินทางในเส้นทางเดียวกัน ว่าจะมีอะไรมาทดแทนได้บ้าง
เพราะหากคำตอบคือ มี และสามารถใช้แทนกันได้ในราคาที่ต่ำกว่า
แม้บริษัทจะสามารถผลิตกำไรสม่ำเสมอ แต่รายได้ก็จะไม่ได้เติบโตสูง
1
ยกตัวอย่าง เช่น
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีเขียวที่มีพื้นที่ให้บริการใกล้เคียงกับทางยกระดับดอนเมือง
 
- รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อาจทำให้ผู้ใช้บริการทางยกระดับเพื่อไปสนามบินดอนเมืองลดลง
3
- โครงการก่อสร้างโดยรอบทางยกระดับเสร็จสิ้น ทำให้การจราจรกลับคืนสู่สภาพปกติ
ในช่วงที่ผ่านมา การที่โครงการเหล่านี้ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างก็ได้ส่งผลให้การจราจรติดขัด
ซึ่งเรื่องนี้ก็นับเป็นประโยชน์ต่อบริษัททางด่วนที่ผู้ใช้เส้นทางบางรายยอมจ่าย เพื่อแลกกับความรวดเร็วในการเดินทาง
1
แต่ในระยะยาว หากโครงการทั้งหมดนี้แล้วเสร็จ
มันก็อาจจะกดดันไปยังการเติบโตของบริษัททางด่วนได้
อย่างไรก็ตาม ทางยกระดับดอนเมือง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะ ที่คู่แข่งเข้ามาแข่งขันไม่ได้ ผู้ใช้บริการก็ต่อราคาไม่ได้ ถ้าไม่อยากใช้บริการ ก็คงต้องเดินทางในเส้นทางอื่นแทน..
โฆษณา