5 มี.ค. 2021 เวลา 00:29 • การศึกษา
ทำไมเด็กไทย คนไทย
วิเคราะห์ไม่ได้
ตัดสินใจไม่เป็น...🤔
เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าหนึ่งในอุปสรรคในการพัฒนาประเทศที่เรามีคือเรื่องศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
ไม่ว่าจะเป็นการวัดผลทางวิชาการ
การแข่งขันทางด้านไหน เด็กไทยคนไทยเรามักได้ค่าเฉลี่ยที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินอยู่เสมอ ๆ
2
ที่ผมใช้คำว่าค่าเฉลี่ยก็เพราะ ไม่ใช่เราไม่มีเด็กเก่ง ๆ คนเก่ง ๆ
ไม่ใช่เราไม่เคยชนะการแข่งขันทางวิชาการ ทางเทคโนโลยีหรือทางธุรกิจเลย
3
เราเคยชนะมาหมดนั่นแหละครับ
แต่....
แต่มันน้อยมาก....😓
มันน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
มันน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร
มันน้อยมากเมื่อเทียบกับงบประมาณด้านการศึกษาที่เราทุ่มลงไป..
2
..
ทำไมเด็กไทยถึงมีศักยภาพเหล่านี้น้อยกว่าเด็กประเทศอื่น❓
..
ผู้รู้ส่วนใหญ่จะให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่า สิ่งที่ทำให้ศักยภาพการแข่งขันของเด็กไทยและคนไทยส่วนใหญ่ด้อยกว่าคนอื่นคือ..
1
"เราวิเคราะห์อะไรไม่ได้ ตัดสินใจไม่เป็น"
1
สาเหตุที่เราวิเคราะห์ไม่ได้ ตัดสินใจไม่เป็น ก็มีอยู่หลายประการ
เริ่มจาก...
1).เราถูกฝึกให้จำมากกว่าให้คิด
และถูกฝึกให้เชื่อมากกว่าสงสัย
24
ระบบการเรียนรู้ตั้งแต่บ้านมาถึงโรงเรียนจนไปถึงมหาวิทยาลัย เหมือนกันหมดคือ ระบบเจ้าจงจำไว้นะว่า...1 2 3 4 เป็นแบบนี้
2
และที่เด็กไทยต้องใช้วิธีจำมากกว่าคิดวิเคราะห์ก็ด้วยจำนวนเนื้อหาที่ระบุในแต่ละหลักสูตรมันโคตรเยอะ ...😬
หากมัวแต่คิดหาเหตุผลในแต่ละเรื่อง ส่วนที่เหลือคงจะจำได้ไม่ทันวันสอบอย่างแน่นอน
..
2).เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด
6
การที่เราใช้ระบบอาวุโสเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ใช่กับการเรียงลำดับความรู้
ผู้น้อยควรเชื่อผู้ใหญ่ด้วยเหตุผล ไม่ใช่เป็นเพราะอายุหรือตำแหน่ง
1
ประสบการณ์ไม่ได้แปลว่าอยู่มานาน แต่มันควรจะแปลว่าคนที่ทำซ้ำ ๆ และเรียนรู้จากการทำซ้ำ ๆ นั้นจนชำนาญ
..
3).ไม่เข้าใจคำว่าวิเคราะห์
เอาจริง ๆ ผมว่ามีคนหลายคนที่ไม่เข้าใจแม้แต่ความหมายของคำว่าวิเคราะห์
เมื่อไม่เข้าใจ ก็เลยไม่รู้ว่าจะต้องวิเคราะห์ยังไง?
วิเคราะห์ไปเพื่ออะไร?
วิเคราะห์แปลได้ 3 ความหมายในหลักเดียวกันคือ..
- ใคร่ครวญ พิจารณา
- แยกแยะ
- ตีความ
1
ทั้งหมดคือการทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องต่าง ๆ ทั้งความหมาย องค์ประกอบและความถูกต้อง
..
2
4).ไม่ชอบถาม
ไม่ให้ถาม
และถามไม่เป็น
3
ทักษะการตั้งคำถามเป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้มากที่สุด เพราะมันคือจุดเริ่มต้นของการจะเดินหน้าต่อไปในกระบวนการค้นหาคำตอบ
1
3 สิ่งเกี่ยวกับคำถามที่คนไทย เด็กไทยเป็นกันมากก็คือ..
🔺ไม่ชอบถาม เราไม่ถูกฝึกให้ถามมาตั้งแต่เด็ก ๆ ทำให้เราไม่ชอบตั้งคำถามโดยเฉพาะกับครู อาจารย์ เพราะเรากลัวผิด กลัวเสียหน้า กลัวถูกมองว่าโง่ ไม่มีความรู้
3
เมื่อไม่ถามก็เท่ากับไม่ได้เริ่มต้นคิด
2
🔺ไม่ให้ถาม หลายคนอาจจะบอกว่ามีด้วยเหรอที่ไม่ให้ถาม
มีครับ บางมีการไม่ให้ถามก็ซ่อนอยู่ในคำถามที่พูดว่า"ใครมีอะไรสงสัยไหม?"นั่นแหละครับ
2
การจะทำให้เกิดคำถามหรือไม่ มันอยู่ที่ปฏิกิริยาของผู้ถูกตั้งคำถามด้วย โดยเฉพาะผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจ ผู้บังคับบัญชาและครูผู้สอน
1
หากมีการแสดงออกในเชิงกดข่ม
ก็ยากที่จะมีใครกล้าตั้งคำถาม จริงไหมครับ?
6
🔺 ถามไม่เป็น
ผลพวงจากการไม่ถูกฝึกให้ถาม เมื่อถึงเวลาอยากรู้จริง ๆ ก็ตั้งคำถามไม่ถูก พอตั้งคำถามผิด คำตอบที่ได้ก็แก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด
มันเลยไปกันใหญ่เลยทีนี้...
..
3
5).อ่านน้อย
1
ข้อนี้อาจจะมีคนเห็นแย้งว่า เดี๋ยวนี้เด็กไทยคนไทยอ่านไม่น้อยแล้วนะ
เพราะทุกคนมีอากู๋อยู่ในมือถือ มีสื่อโซเชี่ยลที่ทุกคนเข้าไปอ่านไปดูด้วยจำนวนชั่วโมงที่มากมายในแต่ละวัน
ใช่ครับ ทุกคนเหมือนจะอ่านมากขึ้น แต่ความจริงก็คือเกินกว่าครึ่งที่เข้าไป ไม่มีสาระอะไรเลย
4
เวลาส่วนมากที่เด็กไทย คนไทยทุ่มเทลงไปบนสื่อออนไลน์คือบันเทิงและเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่การเพิ่มความรู้ที่หลากหลายเพียงพอ
เมื่ออ่านสาระน้อย พื้นความรู้ที่จะนำไปประกอบการวิเคราะห์ก็ไม่มี
ก็จบเพียงแค่นี้ ไปต่อไม่ได้ เท่านั้นเอง...😓
2
..
ทั้งหมดทั้งมวลเมื่อคนไทยเราวิเคราะห์อะไรไม่แตกฉานแล้ว
หนทางเดียวที่ทำให้เด็กไทย คนไทยรู้สึกว่าปลอดภัยในการใช้ชีวิตมากที่สุดก็คือคิดแค่ว่า...
1
"มันจะยากตรงไหน
เราก็ทำตาม ๆ เขาไปสิ...."
สุดท้ายเราจึงเป็นประเทศที่เชื่อง่าย หลอกง่ายและทำตามแฟชั่นติดอันดับโลก...ในทุก ๆ เรื่อง
2
เมื่อการทำตามคืองานถนัด
การตัดสินใจก็เลยไม่ใช่สิ่งจำเป็น
1
เมื่อไม่ค่อยอยากตัดสินใจอะไร
ถึงเวลาต้องเลือกอะไรสักอย่าง
ก็เลยเลือกแบบมั่ว ๆ ...
สิ่งบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าคนไทยชอบตัดสินใจเลือกอะไรแบบมั่ว ๆ ก็คือสิ่งที่เรียกว่า "ส.ส. 😂😂"
25
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา