4 มี.ค. 2021 เวลา 07:34 • การศึกษา
#งานประณีตศิลป์ จิตรกรรมไทย ปิดทองประดับลวดติดกระจก
ขนาดA4
หัวข้อความเชื่อไทย
เรื่องเทวดาประจำสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือทวารบาล
โดย อภิชญา นาฏลดารมภ์(พลอย)
ผลงานขณะศึกษา สาขาหัตถศิลป์
หนังสือทวารบาลผู้รักษาศาสนสถาน ที่จัดทำโดยพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร เขียนไว้ว่า "ทวารบาล" มาจากคำว่า
"ทวาร" ที่แปลว่า "ประตู"และ
"บาล" ซึ่งแปลว่า "รักษา ปกครอง"
"ทวารบาล" จึงมีความหมายว่า "ผู้รักษาประตู"
ซึ่งจากคำแปล ก่อให้เกิดการตีความต่อรูปทั้งจิตรกรรมเเละประติมากรรมไทยประเภททวารบาลว่าคือ รูปของสัตว์ อสูร เทพ เทวดา และมนุษย์ หรือสิ่งมีชีวิตใดๆก็ตาม ที่ตั้งอยู่บริเวณบานประตู ช่องทางผ่านเข้าออก ช่องหน้าต่าง หรือราวบันได
แต่หากจิตรกรรมหรือประติมากรรมไทยชนิดเดียวกันนี้ไปตั้งอยู่บริเวณอื่นที่มิใช่ประตู หรือช่องหน้าต่าง หรือทางเข้าออก ก็ไม่สามารถจะกล่าวว่าเป็นทวารบาลได้
จากการศึกษาปุราณวิทยา(ศาสตร์โบราณ,เก่าเเก่,อดีต)
กำเนิดของการสร้างทวารบาลนั้น น่าจะเกิดมาจากความเชื่อที่ว่า "ผี" เป็นผู้กระทำให้เกิดสิ่งต่างๆ เหนือธรรมชาติ และได้รับการพัฒนามาเป็นความเชื่อในเรื่องของเทวดาโดยได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ โดยทางศาสนาฮินดูนั้นก่อเกิดเทพเจ้าต่างๆขึ้น
โดยกำหนดให้เขาไกรลาส หรือเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มีพระอิศวรเป็นใหญ่ และมีเทพชั้นรองทำหน้าที่พิทักษ์ผู้รักษาประตู หรือทางเข้าสู่เขาไกรลาส ทั้งแปดทิศ
ซึ่งเทพเจ้าในศาสนาฮินดูไม่จำกัดรูปร่าง จะเป็นมนุษย์ สัตว์ หรือครึ่งมนุษย์ครึ่งสัตว์ ตามแต่ความเชื่อ ซึ่งสัตว์ที่ไม่มีในโลกมนุษย์เรียกว่า "สัตว์หิมพานต์" ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาสที่ถือเป็นดินแดนแห่งเทพเจ้านั่นเอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา