4 มี.ค. 2021 เวลา 16:17 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Quantum Computing คืออะไร!?
Quantum Computer คืออะไร Quantum Computing ในส่วนนี้จะเป็นระบบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ระบบการประมวลผลกลางคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วมากขึ้น โดยใช้ฟิสิกส์กลศาสตร์ ในการโยกย้ายข้อมูลต่างๆ ซึ่งผลที่ตามมาคือจะทำให้ข้อมูลต่างๆของคอมพิวเตอร์รวดเร็วกว่าในยุคดิจิตอล ควอนตัมคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมาอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า
ในระยะแรก ผู้ที่ริเริ่ม Quantum Computing จะเป็นระบบไมโครชิพ ชิปควอนตัม (Quantum Chip) ขนาด 72-Qubit โดยผู้ริเริ่มคือบริษัท google คนที่เป็นตัวตั้งตัวตีคือ Bristlecone การประชุมเริ่มขึ้นที่งาน American Physics Society ที่ Los Angeles เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2018 เพื่อจะสร้างไมโครชิปที่ทรงพลังมีความรวดเร็วและสามารถที่จะเก็บข้อมูลได้มากมายมหาศาล เพราะว่าคู่แข่งรายอื่น สามารถผลิต 50-Qubit จึงเป็นการดีที่บริษัท google จะทำนวัตกรรมใหม่เพื่อประกาศชัยชนะ เทคโนโลยีในโลกยุคดิจิตอล
ไมโครชิพอันนี้ถูกสร้างขึ้นจากพันธมิตร IDM และ D-WAVE เพื่อสามารถจำลองเป็นในระบบคอมพิวเตอร์ในอนาคตข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม เครื่องมือที่ลึกลับเหล่านี้ มักเป็นต้นเหตุให้เกิดคำถามที่ตามมาอีกมากมาย และถ้ามันใช้งานได้จริง มันจะส่งผลกระทบต่ออนาคตของเทคโนโลยีอย่างไร?
ความแตกต่างระหว่าง Quantum ในระบบคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิม!?
ระบบดังเดิม การเก็บข้อมูลเป็นบิต (bit) ที่โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของ 0 หรือ 1
ระบบแบบควอนตัมคอมพิวเตอร์ จะเป็นรูปแบบอะตอม อนุภาคเล็กๆ โฟตอน (Photon) เป็นส่วนหนึ่งในการประมวลผล โดยรูปแบบอะตอมอาจจะเป็นเสียงแสง หรือรูปแบบอื่นก็ได้ ยังหาคำตอบอยู่!? แต่ระบบนี้จะเป็นระบบที่เล็กกว่าอะตอมอย่างแน่นอน
ฉะนั้นระบบคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิมจะประมวลผลได้ทีละคำสั่ง และการแก้ข้อมูลก็จะใช้เวลานานมากๆ
แต่ระบบควันตั้มจะประมวลผลได้รวดเร็วและซับซ้อนกว่า สามารถเอาข้อมูลหลายอย่าง มาวิเคราะห์ได้ในเวลาเดียวกัน
ถ้าในโลกอนาคตจะมีการประยุกต์ใช้ อย่างเช่นเรื่องการแพทย์ สมมุติว่าคนนึงมีโรคภัยไข้เจ็บที่ซับซ้อนและมีหลายโรค สมองกลอย่างควันตัมตัวนี้ก็อาจจะวิเคราะห์โรคได้รวดเร็วมากกว่าในปัจจุบันมากขึ้นและถูกต้องมากขึ้นด้วย
Quantum Computer ทำงานอย่างไร!?
จากข้อมูลที่มีอยู่ตอนนี้ระบบแบบดั้งเดิมจะทำงานเป็นหน่วย bit ส่วนคอมพิวเตอร์เชิงควอนตัมจะมีหน่วยประมวลผลที่เรียกว่า คิวบิต (Qubit) ซึ่งย่อมาจากควอนตัมบิต (Quantum bit) นั่นเอง
ก็จะเห็นว่าระบบควันตั้มมีหน่วยความจำและประมวลผลที่ใหญ่กว่า งั้นผมจะบอกการทำงานอย่างคร่าวๆในระบบเดิมการทำงานของ bit จะมี 0 กับ 1 แล้วจะทำได้ทีละอย่าง แต่ระบบควันตั้ม สามารถประมวลผล 0 1 ได้พร้อมกันและแม่นยำด้วย เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องและไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหมด
องค์กรที่กำลังพัฒนาก่อนทำอยู่ มีกี่องค์กร!??
จริงๆแล้วตอนนี้สถานการณ์เรื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัม ถ้าติดตามข่าวอย่างที่ผมพอรู้น่าจะมี 3 ประเทศใหญ่ที่เป็นมหาอำนาจที่ผลักดันฮิลและพัฒนาควันตั้มในรูปแบบของตัวเอง จีน ญี่ปุ่นและอเมริกา รายการบ้านน่าจะมีประเทศอื่นๆอีกที่ยังไม่ประกาศ แต่ทางจีนก็พยายามที่จะพัฒนาระบบนี้โดยทุ่มเงินมหาศาล เพื่อจะพัฒนาไปได้ไกลกว่าอเมริกา
ในโพสต์นี้ก็ขอจะพูดถึงอเมริกาก่อน IBM เป็นองค์กรหัวหอกหลัก ส่วนพาร์ทเนอร์อื่นๆได้แก่ Honda, สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) และ JP Morgan Chase & Co ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านการเงินและการลงทุน พยายามพัฒนาองค์กรยังต่อเนื่อง
โฆษณา