4 มี.ค. 2021 เวลา 23:22 • ประวัติศาสตร์
การบริหารเศรษฐกิจฌอง - บัพติสท์ กอลเเบร์(Jeen – Baptiste Colbert)
ฌอง – บัพติสท์ กอลแบรต์(Jean-Baptiste Colbert)เสนาบดีคนสำคัญในรัชกาลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 วาดโดยฟิลิป เดอ แชมเปญ(Philippe de Champaigne)วาดเมื่อปีค.ศ.1666?,ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2553 เวลา 18.08 น. โดยคุณชายเเกเวน(ภาพจาก: https://en.wikipedia.org/wiki/File:Colbert1666.jpg)
_
การปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการสร้างโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งการค้าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ เป็นรากฐานความยิ่งใหญ่ของทางฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงพยายามเป็นอย่างมากในการที่ทรงเอาฌอง – บัพติสท์ กอลแบรต์(Jeen – Baptiste Colbert) มาเป็นทีมงานบริหารราชการแผ่นดินกับลูกทีมของพระคาร์ดินัลมาซาแร็ง(Jules Raymond Mazarin)และทรงให้เป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังซึ่งกอลแบรต์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมแนวคิดพาณิชย์นิยมให้ดีกว่าเดิมกอลแบรต์ได้ส่งเสริมการสนับสนุนให้ฝรั่งเศสผลิตสินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ การผลิตถ้วยแก้ว การเป่าแก้ว การทอผ้า จนสามารถเทียบชั้นได้กับรัฐอิตาลี(ดูเพิ่มที่ - https://qz.com/quartzy/1123395/the-complete-history-of-luxury/ )ซึ่งรัฐอิตาลีเป็นศูนย์กลางของสินค้าฟุ่มเฟือยของยุโรปในสมัยนั้น ซึ่งไม่แปลกที่ทำไมเราถึงได้ยินคำว่า “เฟอร์นิเจอร์หลุยส์” บ่อยๆ สาเหตุก็เพราะฝรั่งเศสนั้นสามารถมีสินค้าต่างๆ ที่เทียบชั้นได้กับอิตาลีได้นั่นเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงความรุ่งเรืองในยุคพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้เป็นอย่างดี
กอลแบรต์ได้ทำการปฏิรูปเศรษฐกิจโดยยกนโยบายพาณิชย์นิยมขอองรัฐให้มากขึ้น ซึ่งนอกจากจะส่งเสริมนโยบายทางเศรษฐกิจภายในประเทศแล้ว กอลแบรต์ยังได้ทำเกี่ยวกับเรื่องภาษีนำเข้าและส่งออกรวมทั้งระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่เศรษฐกิจของฝรั่งเศส เช่น ถนนหลวง คลอง และปรับปรุงท่าเรือหลายๆ ที่ให้ดีขึ้น เช่น คาเลส์ ดันเคิร์ก เบรสต์ และเลอ ฮาฟวร์
แต่การประกาศฎีกาแห่งฟองแตนโบล(Edict of Fontainebleau)ซึ่งถือเป็นการยกเลิกฎีกาห่างเมืองนองต์(Revocation of Edict of Nantes)และการมีขันติธรรมของราชอาณาจักรฝรั่งเศสที่ประกาศมาตั้งแต่ค.ศ.1598 ส่งผลให้มีการอพยพของช่างฝีมือ นักธุรกิจ และนักการเงินทางธนาคารที่เป็นชาวคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์จำนวนมากออกจากพระราชอาณาจักรฝรั่งเศส ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจอันใหญ่หลวงต่อฝรั่งเศสเอง และเป็นการส่งเสริมให้รัฐโปรแตสแตนท์ เช่น ดัตช์ อังกฤษ แข็งแกร่งมากขึ้นด้วย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีสิ่ง...ผลพลอยได้จากการอพยพทำให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษากลางในยุโรป มีคำกล่าวว่า “ราชสำนักทุกแห่งใช้ภาษาฝรั่งเศส” ซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นผลดีอีกอย่างหนึ่ง
แต่สิ่งที่กอลแบรต์ก็ใช่ว่าจะได้ผลดีเสมอไป การทำสงครามใหญ่ตลอดรัชกาลเพื่อส่งเสริมพระเดชานุภาพอันศักดิสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรและระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทำให้เปลืองทรัพยากรเป็นอันมากและเป็นหนี้มากด้วย ยุคน้ำแข็งน้อยในปลายรัชกาลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของฝรั่งเศสลดลง ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจก็หดถอยลงไปด้วยและนโยบายของกอลแบรต์เองก็กลับทำลายอุตสาหกรรมภายในประเทศเอง เนื่องจากการตั้งภาษีที่สูงมากทำให้กำลังการผลิตของฝรั่งเศสไปได้ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร การส่งออก – นำเข้าของฝรั่งเศสขาดดุลลงไปมาก
ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาสำคัญในช่วงปลายรัชกาลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จนทางราชสำนักต้องออกภาษีชนิดใหม่มาเพื่อเก็บภาษีชดเชยและแก้ปัญหาให้ฝรั่งเศสดีขึ้น นอกจากนี้มีความพยายามเป็นอย่างมากที่จะเก็บภาษีจากเหล่าผู้ดี แต่เหล่าผู้ดีและชนชั้นสูงเหล่านี้กลับได้รับสิทธิพิเศษมากจนเหมือนกับว่าไม่เสียภาษีเลย! ปัญหาเหล่านี้ยังคงเรื้อรังจนเกิดการปฏิวัติปี 1789 ในที่สุด
รายการอ้างอิง
หนังสือ “History of France - https://archive.org/details/historyoffrance00mars/page/14/mode/2up
A history of aspiration, from Socrates’ “luxurious state” to Instagram envy - https://qz.com/quartzy/1123395/the-complete-history-of-luxury/
โฆษณา