Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
5 มี.ค. 2021 เวลา 11:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงของ Bond Yield ส่งผลต่อตลาดหุ้น อย่างไร ?
“Bond Yield” หรือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตร
เป็นคำศัพท์ในโลกการลงทุน ที่เรามักได้ยินกันเป็นประจำ
11
ช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็น Bond Yield ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
สวนทางกับ ราคาหุ้นในหลายตลาด ที่ปรับตัวลดลง
แล้วเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
พันธบัตร คือ ตราสารหนี้ชนิดหนึ่งที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งจะมีอายุของตราสารมากกว่า 1 ปีขึ้นไป
6
โดยผู้ซื้อหรือนักลงทุน จะมีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” ของหน่วยงานของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นผู้ออกตราสาร โดยที่เจ้าหนี้ จะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” หรือ “Bond Yield”
3
ข้อดีของการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลก็คือ
มีความเสี่ยงต่ำ เพราะมีรัฐบาลเป็นลูกหนี้
ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่รัฐบาลจะผิดชำระหนี้เรา
ขณะที่ผลตอบแทนที่ได้รับนั้น ก็มักจะสูงกว่าการฝากเงินกับธนาคาร
5
โดยตราสาร ที่นักลงทุนติดตามกันมากที่สุดตัวหนึ่ง
คือ “พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี”
เพื่อให้เข้าใจคำว่า Bond Yield กันชัด ๆ ลองมาดูตัวอย่างนี้กัน
1
ถ้ารัฐบาลออกพันธบัตรอายุ 10 ปี มีอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้เท่ากับ 2% และมีราคาที่ตราไว้ (Par Value) เท่ากับ 1,000 บาท
1
ถ้าเราลงทุนในพันธบัตรนี้และถือจนครบกำหนด 10 ปี
สิ่งที่เราจะได้คือ ดอกเบี้ยปีละ 2% คิดเป็นปีละ 20 บาท ถ้ารวมดอกเบี้ยตลอด 10 ปี ก็จะรวมได้เป็น 200 บาท
ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่เราได้ปีละ 2% ก็คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
หรือที่เรียกว่า “Bond Yield” นั่นเอง
Cr. ศูนย์วิจัยกสิกร
อย่างไรก็ตาม พันธบัตรรัฐบาล สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ในตลาดรอง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ราคาพันธบัตรจึงสามารถเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงได้
ทำให้นักลงทุน สามารถมาซื้อขายทำกำไรกันตามการขึ้นลงของราคาพันธบัตรได้
โดยถ้ามี Demand ต้องการพันธบัตรในช่วงนั้น ราคาของพันธบัตรเพิ่มสูงขึ้นจากราคาที่ตราไว้ได้ ซึ่งเมื่อราคาสูงขึ้น Yield หรือผลตอบแทนของพันธบัตร เมื่อเทียบกับราคา ก็จะลดลงสวนทางกัน
3
เช่น ราคาพันธบัตรสูงขึ้นจาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท พันธบัตรให้ดอกเบี้ยปีละ 20 บาทเท่าเดิม ดังนั้น Yield ก็จะลดลงจาก 2% เหลือ 1%
2
ถ้าเราย้อนกลับไปตอนที่เริ่มเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 อย่างหนักในช่วงต้นปีที่แล้ว
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงถึงต่ำสุดที่ 0.54% ช่วงเดือนมีนาคม 2020
3
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้น สะท้อนความกลัวของนักลงทุนในเวลานั้นว่า โควิด 19 จะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ เพราะนักลงทุนเกิดการเทขายหุ้น เพื่อย้ายเงินเข้าไปซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งก็รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ซึ่งนั่นก็คือ สาเหตุที่ Bond Yield ในตอนนั้นลดต่ำลงมาก
4
หลังจากนั้น ธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลก ก็ได้ทำการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการทำ Quantitative Easing (QE) จนมีปริมาณเงินเพิ่มสูงขึ้นในตลาดการเงิน
4
Cr. Yahoo News Singapore
ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลที่ต่ำ บวกกับเงินที่ไหลเข้ามาในระบบจำนวนมาก
สุดท้ายนักลงทุนก็ต้องมองหาสินทรัพย์ ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
นั่นจึงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ราคาหุ้นในหลายตลาด ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
6
อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทั่วโลก เริ่มดูจะควบคุมได้มากขึ้นเพราะการมาของวัคซีน และเศรษฐกิจในหลายประเทศก็เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว
2
Bond Yield ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ก่อนหน้านี้ลดต่ำลง
ก็กำลังกลับมาปรับตัวสูงขึ้น จนมาอยู่ที่ประมาณ 1.45%
จากเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา ที่อยู่ที่ประมาณ 0.94%
3
Bond Yield ที่กลับมาเพิ่มขึ้นนี้ ก็เนื่องจาก นักลงทุนเริ่มมีความกังวลว่า
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการอัดเงินเข้ามา กำลังจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ
แล้วเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ก็จะกดดันให้ผลตอบแทนที่แท้จริง จากการถือครองพันธบัตรนั้นลดลงไป
6
(ผลตอบแทนที่แท้จริง คำนวณได้จาก อัตราดอกเบี้ย ลบด้วย อัตราเงินเฟ้อ)
5
ทำให้พันธบัตรรัฐบาลที่ถือกันอยู่ตอนนี้ มีความน่าดึงดูดลดน้อยลง และเริ่มถูกเทขายออกมากันมากขึ้น เมื่อถูกเทขายมาก Bond Yield ก็กลับมาเพิ่มสูงขึ้นตามกลไกที่ได้อธิบายไปข้างบนนั่นเอง
5
มาถึงคำถามสำคัญ คือ ทำไม Bond Yield ที่เพิ่มสูงขึ้น ถึงกดดันราคาหุ้นในหลายตลาดให้ลดลง ?
3
เรารู้กันไปแล้วว่า Bond Yield ที่เพิ่มขึ้นมานั้น
สะท้อนความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่กำลังจะเพิ่มขึ้นในไม่ช้า
3
เมื่อเงินเริ่มเฟ้อ ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ก็จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอีกไม่ช้า เพื่อคุมความร้อนแรงของเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว
และการที่ FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนี้เอง
เป็นปัจจัยส่งผลในด้านลบ กับบริษัทในตลาดหุ้น
7
เพราะหลายบริษัทที่กู้ยืมมาก่อนหน้านี้มาก ๆ ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ จะต้องแบกรับภาระหนี้ที่หนักขึ้น จากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับขึ้นในอนาคต
4
รวมถึงบริษัทไหนที่มีแผนจะกู้ยืมผ่านการออกหุ้นกู้ (Bond) ก็จะมีภาระมากขึ้น เพราะต้องเสนออัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้ที่สูงขึ้น
1
แล้วพันธบัตรรัฐบาลก็ถูกเทขาย หุ้นก็ถูกเทขาย แล้วเงินจะไปไหน ?
ประเด็นก็คือ พันธบัตรรัฐบาลจะมีการออกรุ่นใหม่มาเรื่อย ๆ
ซึ่งถ้า FED ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
พันธบัตรรุ่นใหม่ที่ออกมา ก็จะมี Yield ที่สูงขึ้น เพื่อดึงดูดให้คนมาซื้อ
5
Cr. AP News
หมายความว่า พันธบัตรรัฐบาลที่จะออกมาในอนาคต
จะให้อัตราดอกเบี้ยที่มากกว่า รุ่นที่ซื้อขายกันอยู่ปัจจุบัน
ซึ่งก็อาจบอกได้ว่า นักลงทุนจะเทขายพันธบัตรรุ่นเก่าในตลาด เพื่อเก็บเงินสดหรือตราสารหนี้ระยะสั้น เอาไว้รอซื้อพันธบัตรรุ่นใหม่
3
สรุปเรื่องนี้ทั้งหมดก็คือ การที่ Bond Yield เพิ่มขึ้นในช่วงนี้ เพราะนักลงทุนเริ่มเห็นถึงสัญญาณของเงินเฟ้อที่กำลังจะเกิดขึ้น
3
และความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ก็ส่งผลไปถึง ตลาดหุ้นที่เคยร้อนแรงก็จะดูน่าสนใจลดลงไป
เพราะต้นทุนทางการเงินของบริษัทกำลังจะสูงขึ้น
3
รวมไปถึงการประเมินมูลค่าบริษัทที่นักลงทุนส่วนใหญ่ชอบใช้คือ DCF (Discounted Cash Flow) จะใช้อัตราคิดลด (Discount Rate) ของเงินในอนาคตให้กลับมาที่ปัจจุบัน โดยอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ย
1
ซึ่งพออัตราคิดลดสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ย ก็จะทำให้ได้มูลค่าที่เหมาะสมลดลงเช่นกัน และนั่นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนขายหุ้น เพราะราคาหุ้นที่เหมาะสมของบางบริษัท อาจต่ำกว่าราคาหุ้นปัจจุบันไปแล้ว
2
และทั้งหมดนี้ก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไหวของ Bond Yield
กับราคาหุ้นในหลาย ๆ ตลาด ที่ลงทุนแมนคิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องนี้นั่นเอง..
2
References
-
https://www.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=4952&type=article
-
http://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/2017/25052017.aspx
-
https://www.investing.com/rates-bonds/u.s.-10-year-bond-yield
-
https://kasikornbank.com/th/k-expert/knowledge/articles/savings/Pages/Invest_A125.aspx
-
https://www.treasury.gov/resource-center/data-chart-center/interest-rates/pages/textview.aspx?data=yield
1
216 บันทึก
299
15
269
216
299
15
269
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย