7 มี.ค. 2021 เวลา 11:52 • ความคิดเห็น
Moonoi’s sunday talk : ที่ไหนๆก็มี Bubble โดย พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
1
เชื่อเถอะครับว่า ... ถ้า Bubble แตกขึ้นมาคนที่ซวยไม่ได้มีแค่อเมริกาคนเดียวแน่ๆ
ในชีวิตประจำวันบางครั้งเรามักจะได้ยินคำว่า "การไม่เป็นหนี้คือลาภอันประเสริฐ"
แต่โลกการเงินกำลังค่อยๆ แอบกระซิบเราว่า จริงๆแล้ว
"เราสามารถเร่งอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจได้ด้วยหนี้" : Leverage
ใครๆก็ใช้การ leverage
ให้ตายเถอะโลกเรามันต้องบ้าไปแล้วแน่ๆ ตำราเศรษฐศาสตร์บอกเราว่าบริษัทที่มีหนี้มากกว่าความสามารถในการสร้างรายได้ มันคือบริษัทที่อาการโคม่าแล้วนี่นา
แล้วทำไมหลายๆประเทศที่หนี้พุ่งขึ้นสูงกว่า ความสามารถในการสร้างรายได้ มันถึงยังไม่ล้มละลายเนี่ย
หรือว่า เราควรจะเผาตำราทิ้งให้หมดแล้วไปทำงานที่ธนาคารกลางสหรัฐ (อิ อิ)
ก่อนหน้าที่จะมี Covid มีการวิเคราะห์มากมายที่บอกให้เราประเมินสัดส่วนทางการเงินของบริษัท
เพื่อวัดว่าบริษัทนี้มีปัจจุบัน และอนาคต พอที่จะฝากผีฝากไข้ได้หรือไม่
เมื่อเราดูสัดส่วนหนี้ของโลกนี้ภาพที่เรามองกลับทำให้เรารู้สึกขัดแย้งกับสิ่งที่เราถูกสอนมายิ่งนัก
บางประเทศ มีหนี้มากกว่าความสามารถในการสร้างรายได้มากเกินกว่า 2 เท่าเสียอีก
แต่ก็อย่างว่าล่ะครับ ในบางครั้งการประเมินอะไรสักอย่างก็ไม่ได้มองในเชิงเดี่ยว
แต่อาจต้องพิจารณาถึงผลกระทบร่วมหากโครงสร้างมันพังลงมาด้วย
เมื่อเราอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดที่ว่า
“เราสามารถใช้หนี้ในการเร่งอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจได้”
คำถามที่น่าสนใจคือ
ใครเป็นคนเอาแนวคิดนี้มาใส่หัวเรา?
คนเขียนตำรา มักจะมีสิ่งที่ผมเรียกมันว่า การอัพเดทแพทซ์
ก่อนหน้านี้ โลกก็ไม่เคยมี QE
ปัจจุบันนี้มีแม้กระทั่ง yield curve control
ทุกครั้งที่วิกฤติดูเหมือนจะเกินควบคุม เหมือนว่ามนุษย์เราจะพัฒนานวัตกรรมทางการเงินและสร้างกฏพิเศษมาใช้แก้ปัญหาเสมอ
รอบนี้เรามีแนวนโยบางอย่าง Fiscal และ Monetary policy มาใช้กันในระดับโลก
2
(ที่น่าสนใจคือ ในการวิเคราะห์บริษัท มีแม้กระทั่งให้มองข้ามความสามารถในการสร้างรายได้ไปอีกหลายปี 5555 ... เอาน่ามันโควิดนี่นา ใครมันจะไปรู้ว่าโควิดจะทำเอาระบบมันเละขนาดนี้)
และก็ได้สร้างความเหลื่อมล้ำขนาดมหาศาลขึ้นในเชิงระบบ
ประเทศเศรษฐกิจชั้นนำอัดฉีดกันจุกๆ พร้อมวัคซีนทุกบริษัท ทุกเทคโนโลยี
Lock วัคซีนให้คนในประเทศตัวเองใช้ก่อน
เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วที่สุด
ในขณะที่หลายๆประเทศยังฉีดวัคซีนได้ไม่ถึง 20% ของประชากรเลยด้วยซ้ำ
ท้ายที่สุดเมื่อประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่พร้อม
นโยบายก็คงจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกรอบ
วันนี้ ผมได้สัมผัสกับ bubble แล้วครับ ... แต่มันอยู่ในชานมไข่มุก
บางที Bubble ในชานม กับ Bubble ในระบบเศรษฐกิจ อาจจะมีความคล้ายกันก็ได้?
บางคนเลือกแบบหวานน้อย
บางคนเลือกหวานมาก
บางคนก็ไม่ใส่
ทุกคนต่างเห็น Bubble แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเลือกกิน
พูดคุยสบายๆวันอาทิตย์กันครับ
Reference
Usdebtclock : world’s debt
โฆษณา