7 มี.ค. 2021 เวลา 11:08 • ประวัติศาสตร์
• 5 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับขงเบ้ง
2
ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
• กลอุบายยืมลูกเกาทัณฑ์ของขงเบ้ง เรื่องจริงหรือหลอก?
ขงเบ้งพร้อมกับโลซกนำกองเรือฟางไปยังค่ายของโจโฉ
หนึ่งในกลอุบายที่มีชื่อเสียงของขงเบ้ง ก็คือกลอุบายยืมลูกเกาทัณฑ์ โดยเป็นเหตุการณ์ที่จิวยี่ได้สั่งให้ขงเบ้งหาทางนำลูกเกาทัณฑ์มากกว่า 1 แสนดอก มามอบให้กับตนให้ได้ภายในระยะเวลา 10 วัน ไม่เช่นนั้นขงเบ้งจะต้องถูกประหารชีวิต
2
ปรากฏว่า 9 วันแรก ขงเบ้งไม่ได้ทำอะไรเลย แต่พอถึงวันที่ 10 ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ขงเบ้งก็ได้สั่งให้โลซกจัดหาเรือพร้อมกับหุ่นทหารที่ทำจากฟาง
1
หลังจากนั้นขงเบ้งก็ได้นำกองเรือที่เต็มไปด้วยหุ่นทหารฟางนี้ เดินทางไปยังค่ายของโจโฉ เพื่อให้ทหารของโจโฉยิงลูกเกาทัณฑ์มาที่กองเรือทหารฟาง
1
โจโฉเข้าใจผิดคิดว่า กองเรือของขงเบ้งเป็นทหารจริง ๆ (ประกอบกับในตอนนั้นมีหมอกปกคลุมแน่นหนา) โจโฉจึงสั่งให้ทหารยิงเกาทัณฑ์เพื่อสกัดเรือไว้
ทหารโจโฉยิงเกาทัณฑ์ใส่เรือทหารฟางของขงเบ้ง
ซึ่งจำนวนลูกเกาทัณฑ์ที่ทหารโจโฉยิงใส่กองเรือทหารฟางของขงเบ้ง ก็มีจำนวนที่มากกว่า 1 แสนดอก ดังนั้นขงเบ้งเลยมีลูกเกาทัณฑ์ไปมอบให้กับจิวยี่
แต่รู้หรือไม่ว่า ในจดหมายเหตุสามก๊ก หรือ "ซานกว๋อจื้อ" ( 三国演) อันเป็นสามก๊กฉบับที่ตรงตามประวัติศาสตร์มากที่สุดนั้น (เพราะผู้แต่งเกิดในยุคสามก๊ก) ผู้ที่สั่งให้นำกองเรือไปยังค่ายโจโฉ แท้จริงแล้วไม่ใช่ขงเบ้งแต่เป็นซุนกวนต่างหาก
2
ในซานกว๋อจื้อบันทึกไว้ว่า ซุนกวนได้สั่งให้เรือลำหนึ่งออกไปลาดตระเวนที่ค่ายของโจโฉ ซึ่งซุนกวนก็ได้บัญชาการอยู่ที่เรือลำนั้นด้วย
2
เมื่อเรือของซุนกวนมาถึงค่ายโจโฉ ทหารของโจโฉก็ระดมยิงเกาทัณฑ์ไปยังเรือของซุนกวน ทำให้เรือของซุนกวนเกิดเอียงขึ้นมา (เพราะถูกเกาทัณฑ์ยิงที่ด้านข้างของเรือ)
ซุนกวนได้สั่งการให้ทหารบังคับเรือให้หันอีกข้างหนึ่ง เพื่อที่จะให้ทหารโจโฉยิงเกาทัณฑ์มาที่ด้านนี้ เพื่อที่จะให้เรือเกิดสมดุลและไม่จมลง
1
สุดท้ายซุนกวนก็สามารถพาเรือกลับมาที่ฝั่งได้ โดยที่มีลูกเกาทัณฑ์ติดอยู่กับเรือเป็นจำนวนมาก
2
และนี่ก็คือต้นแบบสำคัญของกลอุบายยืมเกาทัณฑ์ของขงเบ้ง ที่จะถูกแต่งเสริมเข้าไปในสามก๊กฉบับหลัง ๆ (ซึ่งก็คือสามก๊กฉบับที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน)
• ขงเบ้งเรียกลมอาคเนย์ จริงหรือหลอก?
ความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับของโจโฉในศึกผาแดง เกิดจากการที่กองเรือโจโฉถูกเรือเพลิงของจิวยี่เผาทำลาย
ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรือเพลิงสามารถทำลายกองเรือโจโฉได้อย่างย่อยยับ ก็มาจากลมอาคเนย์หรือลมตะวันออก ที่ขงเบ้งได้ทำพิธีกรรมขอลมอาคเนย์จากเทพยดาบนท้องฟ้านั่นเอง
คำถามคือ เหตุการณ์ที่ขงเบ้งเรียกลมอาคเนย์นี้ เคยเกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์หรือไม่?
คำตอบคือไม่ครับ
นั่นก็เพราะในซานกว๋อจื้อไม่ได้บันทึกเรื่องราวของขงเบ้งในศึกผาแดงนี้เลย
2
และที่สำคัญเหตุการณ์ที่โจโฉแตกทัพเรือนั้น ในประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า ผู้ที่เผากองเรือโจโฉแท้จริงแล้วก็คือตัวของโจโฉเอง
เพราะในตอนนั้นได้เกิดโรคระบาดภายในกองทัพ โจโฉไม่มีทางเลือกจึงสั่งให้เผากองเรือเพื่อป้องกันโรคระบาดนั่นเอง
1
• ขงเบ้งทำให้จิวยี่กระอักเลือดจนตาย จริงหรือไม่?
จิวยี่ในสามก๊กฉบับปี 1994
หากพูดถึงคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง เชื่อเลยว่าทุก ๆ คน จะต้องนึกถึงจิวยี่กันอย่างแน่นอน จิวยี่แค้นในตัวของขงเบ้งเป็นอย่างมาก และหาหนทางที่จะจัดการกับขงเบ้งอยู่ตลอดเวลา
แต่ในการศึกครั้งหนึ่ง จิวยี่พลาดท่าถูกเกาทัณฑ์อาบยาพิษ ทำให้เขามีอาการล้มป่วยซึ่งก็คืออาการกระอักเลือด
ท้ายที่สุดในวาระสุดท้ายของชีวิต จิวยี่ก็ได้ตะโกนออกมาด้วยความเคียดแค้นปนความน้อยใจว่า
"ฟ้าให้ข้ามาเกิด ไฉนให้ขงเบ้งมาเกิดด้วยเล่า?"
ซึ่งหลังจากกล่าวประโยคนี้จบ จิวยี่ก็กระอักเลือดและสิ้นใจตายตรงนั้นเอง
แต่ในซานกว๋อจื้อได้บันทึกเพียงแค่ว่า จิวยี่เกิดอาการล้มป่วยและเสียชีวิตลง โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับขงเบ้งหรือธนูอาบยาพิษเลย
• อุบายเปิดเมืองดีดพิณของขงเบ้ง เรื่องจริงหรือเรื่องแต่ง?
ขงเบ้งดีดพิณลวงสุมาอี้
การศึกระหว่างขงเบ้งกับสุมาอี้ ในศึกครั้งหนึ่งขงเบ้งรู้ว่ากองทัพของตนไม่สามารถเอาชนะกองทัพของสุมาอี้ได้ ดังนั้นขงเบ้งจึงได้คิดกลอุบายที่เรียกว่าพิศดารกลอุบายหนึ่ง
โดยขงเบ้งสั่งการให้เปิดประตูเมืองทั้งสี่ทิศ และสั่งให้ทหารแต่งตัวเป็นชาวบ้านออกมากวาดพื้นรอบ ๆ เมือง จากนั้นขงเบ้งก็จะขึ้นไปนั่งเล่นพิณอยู่บนกำแพงเมือง เพื่อแสร้งว่าขงเบ้งไม่มีความเกรงกลัวในกองทัพสุมาอี้
และเมื่อกองทัพสุมาอี้มาถึงเมืองที่ขงเบ้งนั่งเล่นพิณอยู่ สุมาอี้ก็เข้าใจว่าขงเบ้งนำทหารซุ่มอยู่ในเมือง ดังนั้นสุมาอี้จึงตัดสินใจไม่กล้านำทหารบุกเข้าไปในเมือง ก่อนที่สุมาอี้จะสั่งให้ถอนทหารกลับไป
สำหรับเหตุการณ์ขงเบ้งดีดพิณลวงสุมาอี้นี้ ในซานกว๋อจื้อไมได้มีการบันทึกไว้แต่ประการใด ดังนั้นจึงเชื่อว่าเหตุการณ์นี้ถูกแต่งเสริมเข้ามาทีหลัง
1
ส่วนในประวัติศาสตร์จีนนั้น ก็เคยมีเหตุการณ์เปิดเมืองลวงข้าศึกที่คล้ายคลึงกับขงเบ้งเช่นกัน โดยเป็นการศึกระหว่างแคว้นสู่กับแคว้นเจิ้ง ในช่วงยุคชุนชิว (ก่อนสามก๊กราว 700 ปี) เชื่อว่าเหตุการณ์นี้อาจจะเป็นต้นแบบสำคัญ ของอุบายดีดพิณเปิดเมืองของขงเบ้งก็เป็นได้
1
• ขงเบ้งรู้วันตายของตัวเอง และทำพิธีต่อชะตาอายุ จริงหรือไม่?
ในช่วงบั้นปลายชีวิตของขงเบ้ง เขาได้สืบทอดเจตนารมณ์ของเล่าปี่ ในการทำศึกรวมแผ่นดินจีนให้เป็นหนึ่งเดียว โดยขงเบ้งก็ได้ยกทัพขึ้นเหนือเพื่อทำศึกกับแคว้นเว่ย (หรือวุ่ยก๊ก)
แต่ด้วยสุขภาพที่ไม่ค่อยดีของขงเบ้ง ประกอบกับขงเบ้งยังเคยตรวจดูดวงชะตาของตนเอง แล้วพบว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน ดังนั้นขงเบ้งจึงทำพิธีกรรมต่ออายุตนเองเป็นเวลา 7 วัน
ขงเบ้งทำพิธีกรรมต่ออายุตัวเอง โดยการไม่ให้ไฟในเทียนดับเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน
แต่เจ้ากรรมอุยเอี๋ยนแม่ทัพของขงเบ้งดันทำพิธีกรรมพังในวันสุดท้าย ขงเบ้งมิอาจฝืนชะตาฟ้าลิขิตได้ ทำให้สุดท้ายขงเบ้งก็ได้เสียชีวิตลง โดยที่การศึกกับแคว้นวุ่ยยังไม่จบสิ้น
แน่นอนว่าเรื่องราวของอภินิหารต่าง ๆ ในตัวของขงเบ้งนั้น (รวมไปถึงในสามก๊ก) ล้วนมีที่มาจากปลายปากกาของ หลอกว้านจง นักประพันธ์ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคราชวงศ์หมิง (หลังจากสามก๊กราวพันกว่าปี) ซึ่งเขาก็เป็นผู้ที่เขียนสามก๊กในฉบับที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน
1
โดยหลอกว้านจงมีความชื่นชอบในตัวของขงเบ้งเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดังนั้นเขาจึงแต่งเสริมเรื่องราวเข้าไป เพื่อให้ขงเบ้งเป็นตัวละครที่มีความสามารถทั้งในด้านการศึกรวมไปถึงด้านอภินิหารนั่นเอง
3
#HistofunDeluxe
โฆษณา