7 มี.ค. 2021 เวลา 10:11 • การศึกษา
EP-28 เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำ
หลายคนอาจคิดว่าการมีความจำที่ดีเพราะมันช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้นยังไง ส่วนตัวคิดว่ามันสำคัญมากเรายิ่งมาอ่านหนังสือก็ทำให้เข้าใจว่ามันสำคัญมากๆ จริงๆ
เพราะเมื่อเรามีความจำที่ดีแล้ว การใช้ชีวิตประจำวันของเราการเรียนรู้ ทักษะใหม่ๆ ของเรามันจะพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดหากเรามีความจำที่ดี
ตอนแรกคิดว่ามันคงจะยากยิ่งคนที่อายุใกล้ๆ 30 หรือ 40 ปีขึ้นไปแล้วก็ยิ่งยากมากขึ้นไปอีก
"เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำมที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ" หนังสือเล่มนี้ได้ให้คำแนะนำไว้ดีมาก อ่านเสร็จแล้วคิดว่าจะลองทำตามแทบ
จะทุกเรื่องเลย
เพราะคนเขียนเป็นจิตแพทย์และที่สำคัญก็คือ เขาเป็นจิตแพทย์ที่วิจัยเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์อยู่ประมาณ 10 ปีและวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกก็ทำเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ด้วย
ทำให้จิตแพทย์คนนี้รู้ว่าความจำของมนุษย์ก่อตัวขึ้นยังไงและมีอะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการจำบ้าง
จิตแพทย์คนนี้ชื่อ ชิออน คาบาซาวะ เขาเป็นชาวญี่ปุ่น
เขาบอกว่าความจำ มันเป็นเรื่องที่พัฒนาได้ เพราะว่าความทรงจำของเรามันจะดีขึ้นได้ ไม่ได้เกิดจากว่า ใครมีจำนวนเซลล์สมองมากน้อยกว่ากันแต่
"ขึ้นอยู่กับจำนวนการเชื่อมต่อของ ไซแนปส์"
"ไซแนปส์" คือ จุดประสานของเซลล์ประสาท หรือเซลล์ประสาท 1 เซลล์ เชื่อมต่อกับเซลล์ประสาทอื่น
หากสมองได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่องจำนวนการเชื่อมต่อของไซแนปส์ จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแม้ว่าเราจะอายุ 40 หรือ 50 ปีแล้วก็ตาม
🥰อ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็รู้สึกมีความหวังขึ้นมาเลย
ซึ่งเคล็ดลับในหนังสือเล่มนี้ จะบอกว่ามีด้วยกัน 4 ขั้นตอน คือ
1.การทำความเข้าใจ
2.การจัดระเบียบ
3.การจำ
4.การทบทวน
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็ถึงบางอ้อเลยว่าทำไมความจำไม่ค่อยดี ก็เพราะว่าเราตั้งใจไปจำ
โดยข้ามขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 ไป
แต่ดันแต่ดันไปโฟกัสที่การจำ ถามว่าแล้วมันเสียหายตรงไหน มันเสียหายอีกนิดนึงคือมันจะทำให้เราลืมง่ายเพราะการจำนั้นมันไม่ได้เกิดจากความเข้าใจ
ต่อไปนี้วิธีการแก้ไขก็คือเมื่อเรา รับรู้อะไรเข้ามาแล้วเราต้อง "ทำความเข้าใจ" กับสิ่งนั้นทำความเข้าใจแล้วก็ทำการจัดระเบียบมัน
แล้วก็จำจากนั้นก็ทบทวน
📌การทำความเข้าใจและการจัดระเบียบ เวลาที่เหมาะสมในการทำคือช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน
📌ส่วนการจำและการทบทวนเวลาที่เหมาะสมคือช่วงเวลาก่อนเข้านอน
คำตอบจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ก็คือว่า Back To The basic คือการกลับสู่พื้นฐานนั่นแหละ
ทำความเข้าใจกับเรื่องราวนั้น แล้วค่อยถ่ายทอดออกมา แล้วเราจะจำได้แม่นโดยไม่ต้งไปท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง ที่ผ่านมาส่วนตัวยังสลับกันอยู่ในข้อ 1 ถึงข้อ 4 ที่เล่าไป แต่ตอนนี้จะต้องกลับมาโฟกัสที่ข้อ 1 ก่อนให้เป็นนิสัย
หลายคนอาจคิดว่ามันมีปัญหาอะไรนักหนา
เหรอกับการทำความเข้าใจ การจัดระเบียบ เพราะคนที่ทำอาชีพนักเขียนนักข่าวมายาวนาว
นั่นสิ ด้วยอาชีพแล้วมันต้องใช้การทำความเข้าใจแล้วก็ถ่ายทอดออกมา แต่ไฉนเรายังรู้สึกว่าเรายังมีปัญหาตรงนี้อยู่?
แสดงว่าการทำงานที่ผ่านมาของเรามันอาจ
จะผิดวิธีรึปล่าว มาคิดคิดๆ ดูแล้ว ด้วยความ
ที่เป็นนักข่าวเรียลไทม์ คือฟังเสร็จปุ๊บต้องอัพโหลดขาวขึ้นเว็บไซต์ทันที บางครั้งเราอาจจะไม่ได้เข้าใจมันทั้งหมดแต่เมื่อการทำงานที่เราต้องเน้นความเร็ว มันอาจจะต้องอัปโหลดสิ่งที่แหล่งข่าวพูดขึ้นไปในทันทีหลังจากที่เราฟังจบ
จะต่างจากการทำงานข่าวหนังสือพิมพ์ หรือการเขียนบทความสัก 1 เรื่อง ที่มีเวลามานั่งละเมียดค่อยๆ ทำความเข้าใจเรื่องราว จากนั้นก็จัดระเบียบข้อมูล แล้วค่อยเขียนข่าวมา 1 ชิ้น ซึ่งวิธีการจัดระเบียบก็จะเริ่มมาตั้งแต่การเขียนโปรยข่าว จากนั้นก็มาเขียนเรียบเรียงเนื้อหาของข่าว ให้เป็นไปตามโปรยที่ได้เขียนไว้
และอีกอย่างที่ทำให้ความจำสั้นก็คือ พอเราเขียนข่าวเรื่องหนึ่งเสร็จแล้วมันก็คือจบแต่เราไม่ได้ทำ Content นั้นมาทบทวนซ้ำเพื่อทำให้สมองรู้ว่านี่คือข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งการทบทวนซ้ำนั้นหมายความว่าการหยิบเอา Content นั้น ไปทำซ้ำต่อ ภายใน 1 สัปดาห์
ยกตัวอย่างเช่น เขียนข่าวหรือเขียนบทความเสร็จแล้ว อาจจะนำไปพูดใน podcast ต่อ , นำไปตัดเป็นคลิปวีดีโอสั้นๆ ต่ออีก หรืออาจจะเอาไปเล่าให้เพื่อนฟังอีกแบบนี้ เป็นต้น
ที่ผ่านมาก็ทำตรงนี้อยู่แต่ว่ามันยังกระจัดกระจายสมอง และอาจจะงงว่าตกลงแล้วเรื่องไหนคือเรื่องที่สำคัญสำหรับเรา เพราะสมองจะจำก็ต่อเมื่อเรามีการเรียกใช้ข้อมูลนั้นๆ ภายใน 1,3,7
กล่าวคือผ่านไป 1 วัน 3 วันและ 7 วันเรามีการเรียกใช้ข้อมูลนั้นซ้ำอีก จะทำให้ความจำ เรา ยังคงอยู่ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ภายหลังจากการ
รับข้อมูล
ดังนั้น ฝากไว้หากใครอยากจะจำเรื่องอะไรได้ดีภายหลังจากการรับข้อมูลมาแล้ว 1 วันให้ทำดังนี้
ส่งออกข้อมูลทันที ด้วยการ "ทำความเข้าใจ" + "จัดระเบียบข้อมูล" จากนั้นทำการส่งออก ด้วยการเล่าให้เพื่อนฟัง หรือเขียนขึ้น Social Media หรือ จดลงในสมุดบันทึก หรือนำไปลงมือปฏิบัติจริง ได้หมดเลยค่ะ อะไรก็ได้ขอให้มีสัก 1 วิธีในการส่งออกหลังการรับเข้า
หากทำได้เช่นนี้แล้วมันจะทำให้เกิดข้อ 3 และ 4 โดยอัตโนมัตินั่นคือเราจะจำได้และเราจะได้ทบทวนไปในคราวเดียวกัน ซึ่งทั้ง 4 ขั้นตอนนี้จะทำให้จำนวนการเชื่อมต่อของ "ไซแนปส์" เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และนี่คือสิ่งที่ทำให้เราจำได้แบบไม่ต้องจำ
"นี่คือสิ่งที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ"
ชัชชญา
07/03/64
#เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำ #ชิออนคาบาซาวะ
# กล้าที่จะถูกเกลียด #พัฒนาตัวเอง
โฆษณา