12 มี.ค. 2021 เวลา 02:00 • สุขภาพ
ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาจนถึงช่วงนี้ทุกคนคงได้ยินข่าวหรือรับรู้เกียวกับน้ำประปากร่อยหรือน้ำประปามีรสชาติเค็ม
บางคนอาจวิธีการบริโภคน้ำโดยการซื้อเครื่องการน้ำที่มีระบบ RO หรือซื้อน้ำขวดจากร้านค้าต่างๆ
ช่วงนี้บางคนยังไม่แน่ใจว่าน้ำกลับมาบริโภคได้เป็นปกติแล้วรึยัง
อ่านบทความนี้จะช่วยให้คุณทำความเข้าใจได้เพิ่มขึ้นคับ
เริ่มกันที่ น้ำกร่อยคืออะไร
น้ำกร่อย คือ น้ำที่มีการผสมกันระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม(หรือน้ำทะเล) โดยส่วนใหญ่มักพบน้ำกร่อยตามพื้นที่แถวชายทะเล หรือป่าชายเลนต่าง ๆ ระบบนิเวศน้ำกร่อยปกตินั้นเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
ซึ่งจะมีน้ำทะเลเป็นด่างอ่อน ๆ ที่ PH 7-8 สาเหตุก็เพราะว่าน้ำทะเลนั้นมีส่วนผสมของแร่ธาตุมากมายหลายชนิดนั่นเอง
รสชาติของน้ำกร่อยเป็นแบบไหน
น้ำกร่อยดังที่กล่าวไปคือจากการผสมระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็ม จึงมีรสชาติที่เค็มค่อนไปทางจืด ไม่เค็มเหมือนน้ำทะเลและไม่จืดเหมือนน้ำจืด
โดยการที่เราจะรับรู้ได้ถึงความเค็มนั้น น้ำจะต้องมีค่าคลอไรด์ ต้องมากกว่า 250 มิลลิกรัม/ลิตร ถึงจะส่งผลต่อการรับรู้รสชาติ ตามเกณฑ์แนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO Guideline for Drinking Water 2017)
สาเหตุน้ำกร่อยในบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณทล
Pic from Jones Salad
เนื่องจากเกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูง และเกิดการยกตัวของน้ำทะเลที่ปากอ่าวไทยสูงกว่าปกติ
ประกอบกับน้ำในเขื่อนหลักมีน้อยลง ทำให้ปล่อยน้ำมาช่วยผลักดันน้ำเค็มได้ไม่มากพอ
สามารถนำน้ำกร่อยไปใช้ได้หรือไม่
ถ้าในการอุปโภค ใช้ชำระล้างร่างกาย ซักผ้า ใช้ทำความสะอาดบ้าน หรืออื่นๆ ได้ตามปกติ ไม่มีปัญหาอะไร
แต่ในทางการบริโภค การดื่ม การกิน การใช้ประกอบอาหาร ไม่เหมาะสม เพราะโดยปกติแล้วร่างกายเราจะสามารถรับสารโซเดียมได้เพียงวันละไม่เกิน 1 ช้อนชา(2,000 มิลลิกรัมต่อวัน)
แต่หากร่างกายของเราบริโภคโซเดียมมากเกินไป โซเดียมจะปนเปื้อนในหลอดเลือด ทำให้เลือดเสียสมดุล และร่างกายก็พยายามดูดน้ำเข้ามาในเลือดเพื่อเจือจาง และทำให้แรงดันในเลือดสูงขึ้น อาจก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมา
การต้มน้ำประปา ช่วยแก้ปัญหามั้ย
การนำน้ำประปาไปต้ม ไม่ได้ช่วยให้น้ำประปาหายเค็ม เนื่องจากสิ่งที่ระเหยไปคือน้ำ แต่ตัวเกลือไม่ได้ระเหยไปด้วย ดังนั้น ยิ่งทำให้น้ำระเหยไปมากเท่าไร ยิ่งทำให้สัดส่วนความเค็ม หรือ ความกร่อยเพิ่มมากขึ้น
การกลั่นน้ำ ช่วยแก้ปัญหาได้
การกลั่น คือ การเอาน้ำมาทำให้เดือด แล้วน้ำจะกลายไปไอน้ำ และน้ำไอน้ำผ่านการควบแน่น ซึ่งก็จะได้น้ำกลับมา ซึ่งเกลือคลอไรด์ก็จะอยู่ในหม้อต้ม(หม้อด้านซ้ายในรูป)เดิมสามารถนำไปแยกทิ้งได้
แต่ 2 วิธีอาจเป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยากสำหรับใครหลายๆคน อยากแนะนำ 3 วิธีทั่วไปที่น่าสนใจและทำได้ไม่ยากมาให้ฟังกันคับ
วิธีการแก้ไข หลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำเค็ม
ที่ผมแนะนำมี 3 วิธ๊คับ
- ใช้เครื่องกรองน้ำที่มีระบบ RO
- ซื้อน้ำขวดจากร้านค้า
- เช็คเวลาที่น้ำมีค่าคลอไรด์ต่ำ(ดูตามเขตและตามเวลา)
ใช้เครื่องกรองน้ำที่มีระบบ RO
Pic from Olympia Water Systems
ระบบกรองน้ำแบบ RO หรือ Reverse Osmosis เป็นระบบการกรองที่ใช่มีความละเอียดผ่านเมมเบรนขนาดเล็กมากๆครับ อาศัยการดันย้อนสวนทางกลับการแพร่แบบ Osmosis ทำให้แยกออกมาได้เฉพาะโมเลกุลน้ำ ซึ่งสามารถทำให้กรองน้ำกร่อยหรือน้ำเค็มได้
ซื้อน้ำขวดจากร้านค้า
น้ำขวดจากร้านค้า เลือกซื้อตามกำลังทรัพย์เลยคับ
เช็คเวลาที่น้ำมีค่าคลอไรด์ต่ำ จากกรมการประปานครหลวง
การประปานครหลวง
ผมแนะนำวิธีนี้สุด เพราะไม่จำเป็นต้องเสียค่าใชจ่ายเพิ่มเติมเหมือนดัง 2 ข้อแรกที่กล่าวไปข้างต้น เพียงแค่เราดูกราฟ ตามเขตที่อยู่ของตัวเราเองและดูช่วงเวลาในกราฟว่าช่วงนั้น ทางกรมการประปานครหลวงวิเคราะห์มาว่าอย่างไร
เช็คได้จากเพจของกรมการประปานครหลวง https://www.facebook.com/MWAthailand/
ตัวอย่างวิธีการดูง่ายๆ
ยกตัวอย่างบ้านผม อยู่ในเขตของ สจ.ลาดกระบัง(สถานีสูบจ่ายน้ำลาดกระบัง)
ของวันที่ 12/03/2021
ของวันที่ 12/03/2021
ซึ่งวันนี้วันที่ 12 มีนาคม 2021 จากกราฟไม่มีช่วงเวลาที่น้ำกร่อยเลย
ตัวอย่างการสังเกตกราฟที่มีสีแดง กราฟของ วันที่ 8 มีนาคม 2021 เราก็จะสังเกตได้จากกราฟว่าช่วง 14.00-16.00 เป็นแท่งสีแดง ซึ่งไม่เหมาะสมแก่การบริโภค เพราะเป็นช่วงที่ค่าคลอไรด์ในน้ำสูงกว่า 250 มก./ลิตร
ของวันที่ 08/03/2021
จะเห็นว่าวิธีสุดท้ายทำได้ไม่ยากและไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เพียงแค่ดูตรวจสอบกราฟตามที่กรมการประปานครหลวงแจ้งลงทาง facebook คับ
ตัวอย่างภาพโพสต์ใน Facebook เพจของกรมการประปานครห
สุดท้ายนี้ อยากฝากว่าน้ำจำเป็นต่อร่างกายมากเลยนะ ช่วยเรื่องต่างๆในร่างกาย เช่นรักษาสมดุลแร่ธาตุ อุณหภูมิ ฯลฯ อยากให้ทุกคนดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวันนะคับ
คิดเห็นยังไงติชมกันได้ใน comment เลยคับ ผมพยายามจะกลับมา active ในการลงบทความที่น่าสนใจให้มากขึ้นคับ ขอบคุณคับ
Reference :
โฆษณา