8 มี.ค. 2021 เวลา 14:11 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จักจี้
ทำไมคนเราถึงจักจี้ ?
จักจี้มีประโยชน์อะไรกันแน่ในการวิวัฒนาการ ?
ทำไมเวลาจักจี้เราหัวเราะ(มีความสุข) แต่พยายามดิ้นหนี(โกรธ/ต่อสู้) ?
ทำไมเราจักจี้ตัวเองไม่ได้ ?
การจักจี้ ความจริงมี 2 แบบ กล่าวคือ
1. Knismesis (ขนลุก) > ทำกับตัวเองได้
2. Gargalesis (ขำก้าก) > ทำกับตัวเองไม่ได้
ในบทความนี้เราจะพูดถึงการจักจี้แบบขำก้าก
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการจักจี้คือ
- บริเวณที่เรามักรู้สึกจักจี้เป็นพิเศษคือ รักแร้ เอว ต้นขา ง่ามขา ฝ่าเท้า ฝ่ามือ และ
ซอกคอ ซึ่งล้วนเป็นบริเวณที่สำคัญทั้งสิ้น
- การจักจี้เริ่มชัดเจนในเด็กวัยกำลังคลาน และค่อย ๆ น้อยลงเรื่อย ๆ
- พบอาการจักจี้ได้ทั่วไปในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หนูจักจี้บริเวณท้อง
ม้าจักจี้บริเวณสะโพก แต่สัตว์เหล่านี้ไม่หัวเราะ มีเพียงแค่การดิ้นหนีไปมา
ด้วยเหตุการณ์เหล่านี้นำไปสู่ข้อสันนิษฐานที่มีความเป็นไปได้สูงนั่นคือ
จักจี้มีประโยชน์ในการพัฒนาการของกล้ามเนื้อให้พร้อมสำหรับใช้ในการป้องกันส่วนสำคัญของเราตั้งแต่ยังเด็ก สังเกตได้จากการที่อาการจักจี้พัฒนาขึ้นเมื่อเราเริ่มขยับตัวได้ดีระดับนึง ทำให้เมื่อมีคนมาจักจี้เราจะมีพฤติกรรม ต่อสู้ ! ดิ้นหนี ! เพื่อให้หลุดจากการที่ผู้อื่นมาแตะส่วนที่สำคัญของเรา
แต่ทำไมเราจึงแสดงพฤติกรรมที่มีความเป็นมิตรอย่างการหัวเราะออกมา
นั่นเป็นเพราะว่าเราอยากที่จะฝึกฝนการต่อสู้ ! ดิ้นหนี ! เราจึงจำเป็นต้องแสดงพฤติกรรมในทางที่เป็นมิตรเพื่อให้คนที่เราไว้ใจมาโจมตีจุดต่าง ๆ ที่ทำให้เรารู้สึกจักจี้ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราหัวเราะอย่างมีความสุขในขณะที่ต้องพยายามดิ้นหนี
โดยพฤติกรรมการถูกจักจี้จะชัดเจนมาก ถ้าหากจักจี้แบบไม่ทันตั้งตัว นั่นเป็นสาเหตุที่เราไม่สามารถจักจี้ตัวเองได้
แถม จากงานวิจัย
- คนที่กำลังระวังการถูกจักจี้ อาจรู้สึกจักจี้ขึ้นมาเองได้
- ความรุนแรงของความจักจี้ ขึ้นอยู่กับอารมณ์ในเวลานั้น ถ้ากังวล ซึมเศร้า
หรือโกรธ ความรู้สึกจักจี้จะลดลง
- ความรู้สึกจักจี้จะรุนแรงขึ้น เมื่อคนที่เราไว้ใจเป็นผู้จักจี้
ใครจักจี้ที่บริเวณไหนเป็นพิเศษบ้าง ?
เวลาถูกจักจี้ปกติแล้วมีวิธีต่อสู้ ดิ้นหนี กันยังไงบ้าง ?
ลองคุยกันใน comment ได้นะ
1
โฆษณา