Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นิลกาฬ
•
ติดตาม
13 มี.ค. 2021 เวลา 05:14 • การเกษตร
ออกแบบพื้นที่เลี้ยง ไก่ อย่างไรให้ทั้งคนและไก่มีความสุข o(* ̄▽ ̄*)ブ
(คำเตือน : เนื้อหาในบทความนี้ ถูกรวบรัดเพื่อให้เข้าใจง่ายเหมาะสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง)
เพราะบ้านที่ ดี ไม่ใช้บ้านที่หรูหราใหญ่โต แต่คือบ้านที่อยู่เเล้วมีความสุข
เนื่องจากปีที่ผ่านมาเราต้องพบเจอกับ ไวรัสโควิด-19 ที่อยู่ๆก็กระโดดเข้ามาทีบเราโดยไม่ได้ตั้งตัว คนสวนใหญ่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตจากหน้ามือเป็นหลังมือ บ้างคนละเหียใจกับการทำงานที่เเสนจะน่าเบื่อจึงอยากหันหน้าเข้าหา ชีวิตเกษตรอยู่กับธรรมชาติ ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการ แต่ปัญหาของคนส่วนใหญ่คือ ฉันไม่เคยเลี้ยง นึกภาพไม่ออกว่ามันควรจะออกแบบพื้นที่เลี้ยงยังไง
ซึ่งในบทความนี้ผมจะมาเม้ามอย เกี่ยวกับวิธีออกแบบพื้นที่สำหรับเลี้ยง ไก่ ซึ่งเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย การจัดการไม่วุ่นวาย แต่ก็ต้องเอาใจใส่ตั้งแต่ก้าวแรกกันเลยทีเดียว
ภาพส่วนใหญ่ที่เรามักจะเห็นจนชินตาคือโรงเรือนปิดขนาดใหญ่แยกกันเป็นหลังๆ ภายในมีระบบให้น้ำ/อาหาร/ระบบระบายอากาศ/แสงสว่าง/อุณหภูมิ แบบอัตโนมัติ(ล้ำมาก~)
ซึ่งไม่ใช้สิ่งที่เราจะเอามาพูดในบทความนี้ เพราะเราจะพูดถึงการเลี้ยงแบบปล่อยธรรมชาติ โรงเรือนไม่ต้องใหญ่โต ใช้พื้นที่น้อย พึ่งพาตนเอง ใช้งบไม่มาก มือใหม่สามารถเลี้ยงไปด้วยศึกษาไปด้วย แก้ไขปัญหากับอุปสรรคที่ได้พบเจอ จนต่อยอดไปเป็นธุรกิจที่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ในภายภาคหน้า
❓แล้วพื้นที่ในการเลี้ยงต้องประกอบด้วยอะไรบ้างละ ถึงจะทำให้ไก่อยู่ได้อย่างสบาย มีความสุข ไม่อำลาโลกนี้ไปก่อนที่จะให้ผลผลิตตอบแทน (Bye~เจ้ามนุษย์ขี้เปียก) ผมจะขอแยกออกมาเป็นข้อๆเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายตามภาพด้านล่างนี้นะครับ
ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ ให้มันเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น
1.ตัวโรงเรือน หรือ เล้าไก่
ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญเลยสำหรับเลี้ยงสัตว์ เพราะเป็นทั้งที่นอน/กิน/หลบแดดหลบฝน ไก่จะต้องใช้ชีวิตอยู่ตั้งแต่เล็กจนถึงวันที่มันอำลาจากโลกนี้ ดังนั้นการวางแผนในการสร้างโรงเรือนสักหลัง หรือ จัดวางให้อยู่ในจุดที่เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ตามสุษาสิดที่ได้กล่าวว่า "ปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย" เพราะจะทำให้เกิดปัญหาจุกจิงกวนใจตามมา อย่างเช่น
💢ไม่มีลมพัดผ่านแลกเปลี่ยนอากาศภายในโรงเรือน = เกิดกลิ่นเหม็นสะสมภายในโรงเรือน
💢แสงแดดส่องเข้ามาภายในโรงเรือนน้อยเกินไปหรือไม่มีเลย = เกิดการสะสมของเชื้อโรคภายในโรงเรือน
💢แดดตอนบ่ายส่องเข้ามาภายในโรงเรือนมากเกินไปจนทำให้เหลือพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมอื่นๆน้อยลง = ไก่ไม่ค่อยกินอาหารแต่จะไปกินน้ำมากขึ้นแทน
จากปัญหาที่ได้กล่าวมาจะส่งผลเสียต่อ สุขภาพของไก่ การเจริญเติบโตไม่เต็มประสิทธิภาพ ให้ผลผลิตน้อยลง
ดังนั้นเพื่อให้น้องไก่ของเราอยู่อย่างมีความสุข สุขภาพแข็งๆ เราควรจะเข้าใจหลักการ วางทิศทางของตัวโรงเรือนให้เข้าใจเสียก่อน(ตามหลักวิชาการ)
ลองตั้งใจมองในสิ่งที่คุณ มี ไม่ใช่มองหาสิ่งที่คุณ ไม่มี
ตอนนี้เท่ากับว่าเรารู้หลักการเรียบร้อยเเล้ว แต่บ้างครั้งพื้นที่ของเราก็มีข้อจำกัดบ้างประการทำให้ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ อาจจะไม่ตรงตามตำราบ้างก็ถือว่าไม่ผิดกติกาอะไรครับ เพราะตามจริงเเล้วผมก็ไม่ได้ทำตามหลักการ 100% (เพราะชีวิตมันไม่เคยได้ดังใจสักกะที) ขอแค่เรารู้หลักการนี้แล้วนำไปปรับแก้ตามพื้นที่ของเรา แค่นี้ถือว่าใช้ได้เเล้วครับ o(* ̄︶ ̄*)o
โดยผมจะแนะนำว่าก่อนจะตัดสินใจ ลงหลักปักฐาน ให้เราไปนั่งสังเกตุ ทิศทางของแดด ทิศทางของลมก่อน จินตนาการว่าโรงเรือนของเราตั้งตระหง่านอยู่ตรงจุดที่เราคิดไว้ เเล้วตอบกับตัวเองให้ได้ว่า ทิศทางของแดด/ลม แต่ละช่วงเวลา(เช้า,บ่าย,เย็น)มันเป็นยังไงเหมาะสมกับการตั้งโรงเรือนหรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช้ตรงนี้แหละแม่สาวน้อย ก็จัดไปอย่าให้เสีย ψ(`∇´)ψ
❓คำถามคือ ขนาดของโรงเรือน กว้าง/ยาว เท่าไหร่ละถึงจะเหมาะสม?
💡คำตอบคือ ขนาดของโรงเรือนต้องสัมพันธ์กับจำนวนเลี้ยง เพราะถ้าเลี้ยงแน่นเกินไป ไก่อยู่อย่างแออัด ก็จะทำให้เกิดปัญหาเรื่อง โรคภัยไข้เจ็บตามมาได้ง่าย ไก่เครียด เจริญเติบโตไม่ดี จิกกันเอง เป็นต้น
หากพื้นโรงเรือนเป็นพื้นปูน ควรมีวัสดุรองพื้นเป็นพวก แกลบ ขี้เลื่อย หรือ วัสดุธรรมชาติที่ดูดซับความชื่นได้ดี เพื่อรองรับ น้ำและมูลไก่
ดังนั้นถ้าเราต้องการเลี้ยงไก่เนื้อ 100ตัว โรงเรือนจำเป็นต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 10 ตารางเมตร ตามภาพนี้เป็นการคำนวณพื้นที่เลี้ยงตามหลักการทางวิชาการ สำหรับบางคนที่ขี้เกียจคำนวณ ก็ไม่ได้ผิดอะไรครับ แค่ระวังอย่าให้ไก่อยู่อย่างแออัดกันจนทำให้เกิดปัญหาตามมาเท่านั้น ( •̀ ω •́ )✧
2.ลานวิ่งเล่น หรือ พื้นที่ปล่อย
ถือว่าเป็นลานกิจกรรมของไก่เลยก็ได้ เพราะจะพบเห็นทั้งการวิ่งเล่น คุยเขี่ยหาแมลง จิกกินใบหญ้า นอนอาบแดดยามเช้า อาบฝุ่นเผื่อกำจัดไร่ ซึ่งเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ ส่งผลให้
✔ไก่สุขภาพดี
✔ไม่เครียด
✔ให้ผลผลิตสม่ำเสมอและมีคุณภาพ
❓คำถามคือ ต้องใช้พื้นที่เท่าไหร่ละ มีหลักการคำนวณไหม?
💡คำตอบคือ มีครับ ตามหลักวิชาการ เขาแนะนำอัตราส่วน จำนวนตัว/พื้นที่ = 1ตัว/5ตารางเมตร แต่ก็เหมือนทุกที่ผมก็ไม่ได้ยึดหลักการตามตำรา 100% พอดีไม่มีพื้นที่ขนาดนั้น ก็เลยจะแนะนำตามประสบการณ์ของผมก็คือ ขอแค่มีลานให้เขาก็พอไม่ต้องใหญ่มากหรือเล็กจนเกินไปเมื่อเทียบกับจำนวนตัว ถือว่าใช้ได้เเล้วครับ ยึดหลักสายกลาง
สังเกตุจากพฤติกรรมของเค้าเวลาที่ออกมาเล่นด้านนอก ว่ามีพฤติกรรมตามธรรมชาติที่ได้กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ ถ้ามีก็ถือว่าผ่านเเล้วครับ (´▽`ʃ♡ƪ)
3.ต้นไม้ แหล่งสร้างล่มเงา
นอกจากบังแดดบังลมให้กับโรงเรือนเเล้ว ยังเป็นแหล่งของว่างให้ ไก่ได้เอ็นจอยกับดอกผลที่ตามมาอีกด้วย
แต่มีข้อควรระวัง 1 อย่างคือ นอกจากต้นไม้จะเป็นที่ให้ล่มเงาแล้ว ยังเป็นแหล่งพักพิงให้แก่
นก แมลง ซึ่งถือว่าเป็นพาหะนำโรคอีกด้วย ฉะนั้นต้องเอาใจใส่ความสะอาดในพื้นที่เลี้ยงให้ดีครับ จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมา
❓คำถามคือ ถ้าในพื้นที่ไม่มีต้นไม้ได้ไหม
💡คำตอยคือ ได้ครับ แล้วแต่สภาพอากาศและความสะดวกของแต่ละพื้นที่ บางที่ไม่มีก็ได้เพราะอากาศดี เย็นตลอดวัน หรือพื้นที่ไม่อำนวย อาจจะใช้แสลนพลางแสงคลุมไว้บางส่วนของพื้นที่ก็พอ(แต่ก็ต้องคำนึงถึงอายุการใช้งาน) ดังนั้นก่อนตัดสินใจควรใช้ข้อดีข้อเสียมาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบดูครับแล้วเราจะได้จุดที่สมดุล
4.รั้ว ปราการป้องกันภัย
ข้อนี้ไม่ต้องโม้สรรพคุณ ทุกคนคงจะรู้อยู่เเล้วว่ามีไว้ป้องกันสัตว์ที่เป็นอันตรายต่างๆ เช่น สุนัข งู คน (อย่างหลังกันไม่เคยจะได้ ฮ่าาาา~) และยังป้องกันไก่ของเราหนีเที่ยวอีกด้วย ไปเเล้วไม่กลับซวยละทีนี้
❓คำถามคือ รั้วควรจะมีความสูงเท่าไหร่ แล้วถ้าเลี้ยงภายในบ้านที่มีรั้วรอบขอบชิดเเล้วจำเป็นต้องทำอยู่ไหม
💡คำตอบคือ แล้วแต่หน้างานครับ อย่างกรณีของผมจะมีปัญหาเรื่องสุนัขและไก่ที่เลี้ยงเป็นไก่พื้นเมือง จะใช้ความสูง 2 เมตร เพราะบินเก่งงงงง ถ้าเป็นสายพันธุ์อื่นที่บินไม่เก่งมาก ก็ไม่จำเป็นต้องมีความสูงมากก็ได้ครับ แล้วช่วงด้านล่างจะใช้แผ่นสังกะสีปิดอีกชั้นเพื่อป้องกันสุนัข
แต่กรณีเลี้ยงภายในบริเวณบ้านที่มีรั้วรอบขอบชิดสามารถป้องกันได้อยู่เเล้ว จะปล่อยให้เค้าสำรวจพื้นที่ได้อย่างอิสระก็ไม่มีปัญหาครับ เพราะเขาจะวิ่งกลับมาเมื่อถึงเวลาเราให้อาหารเอง ถ้าเลี้ยงเพื่อขุนเป็นไก่เนื้อน้ำหนักดีๆหน่อย ก็อาจจะมีปัญหาเนื่องจากกิจกรรมของเขาจะมากตามพื้นที่ไปด้วย เหมือนกับคนที่ออกกำลังกายจะมีการสะสมของไขมันน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายนั้นเอง
Hello~~~
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกคนที่หลงเข้ามาอ่าน พ่ามพาม(ล่อเล่นนะครับ) และหากมีข้อผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ ขอบคุณครับ
เรื่อง: นิลกาฬ
พิสูจน์อักษร: นิลกาฬ
ภาพ: นิลกาฬ
อ้างอิง:
http://breeding.dld.go.th/th/images/document/poutlry/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%20%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0.pdf
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย