9 มี.ค. 2021 เวลา 12:30 • เกม
คู่มือ Total War: Warhammer 2 | Part แรก | เมนูหลัก & ฉากแคมเปญ
[ผู้ใดอยากสนับสนุนผม สามารถ Donate ได้ผ่านทางเว็บ https://www.patreon.com/pandawarzone หรือกดติดตามในเว็บ Blockdit นี้นะครับ]
เมนูหลัก (Main Menu)
New Campaign - เริ่มเล่นแคมเปญใหม่
Continue Campaign - เล่นต่อจากเซฟล่าสุดที่ได้เล่นไว้
Load Campaign - โหลดเซฟเกม
Multiplayer Campaign - เข้าสู่ล๊อบบี้สำหรับตั้งห้องเล่นแคมเปญกับเพื่อน
Movie Viewer - ดูฉากคัทซีนที่ผ่านมาทั้งหมด
Quest Battle - เล่นเควสฉากต่อสู้พิเศษของ Legendary Lord แต่ละคน
Custom Battle - จัดทัพสู้กับบอทแบบอิสระ
Multiplayer Battle - เข้าสู่ล๊อบบี้สำหรับตั้งห้องเล่นฉากต่อสู้กับผู้เล่นคนอื่น
Quick Battle - กดสุ่มหาผู้เล่นคนอื่นเพื่อต่อสู้กัน มีผลต่อการจัดอันดับ Ranking ด้วย
Leaderboards - ดูตารางคะแนนจาก Quick Battle
Replays - ดูรีเพลย์ฉากต่อสู้ย้อนหลัง
The Laboratory - คล้ายกับ Custom Battle แต่เพิ่มตัวเลือกให้สามารถปรับอะไรได้หลายอย่างมากกว่า เช่น ปรับให้ยูนิตจำนวนมากกว่าเดิม 5 เท่า ปรับให้แรงโน้มถ่วงเป็น 0
Graphics - ตั้งค่าเกี่ยวกับกราฟฟิค
Sound - ตั้งค่าเกี่ยวกับเสียงในเกม
Controls - ตั้งค่าการควบคุมต่างๆ เช่น มุมกล้อง เมาส์ คีย์บอร์ด
Game Settings - ตั้งค่าเกี่ยวกับเกมเพลย์
Brightness and Gamma - ตั้งค่าเกี่ยวกับแสงสว่างและความชัด
Credits - เครดิตผู้พัฒนา
Support - ลิงค์ไปยังเว็บไซต์ SEGA
Downloadable Content - DLC ที่ยังไม่ได้ซื้อหรือ FLC ที่ยังไม่ได้โหลด
ภาคนี้จะมีโหมดแคมเปญให้เลือกเล่นทั้งหมด 2 โหมด
The Eye of the Vortex - แคมเปญที่มีเป้าหมายหลักให้ผู้เล่นแข่งทำพิธีกรรมกับบอท ถ้าผู้เล่นทำพิธีกรรมจนครบก่อนก็จะชนะแคมเปญนั้นไป แต่ถ้าบอททำเสร็จก่อนและผู้เล่นขัดขวางไม่สำเร็จก็จะ Game Over ทันที โดยรวมเป็นแคมเปญที่มีความท้าทายสูง
Mortal Empire - แคมเปญสไตล์ดั้งเดิมที่ให้ผู้เล่นไล่เดินยึดเมืองและสู้รบกันแบบอิสระ แผนที่แคมเปญจะยกมาจากภาคแรกและขยายเพิ่มดินแดนของภาคสองเข้ามา ทำให้แผนที่มีขนาดใหญ่มาก นอกจากนี้ถ้าอยากเล่นเผ่าเก่าๆจากภาคแรกก็ต้องมาเล่นในโหมดนี้เท่านั้น บางเผ่ายังได้รับการอัพเดตระบบกับยูนิตใหม่ให้ดีขึ้นกว่าภาคแรกด้วย
ปล. โหมด Mortal Empire นั้นจำเป็นต้องซื้อตัวเกมภาคแรกก่อนถึงจะปลดล็อคให้เล่น และถ้าจะเล่นเผ่าพวก Chaos Beastmen Wood Elves Norsca ก็ต้องซื้อ DLC ของภาคแรกด้วยเช่นกัน
เลือกโหมดแคมเปญแล้วก็จะเข้าสู่หน้าจอเลือกเผ่าและ Legendary Lord ที่เราจะเล่น ถึงแม้จะเป็นเผ่าเดียวกันแต่ Legendary Lord แต่ละคนจะมีความสามารถหรือระบบการเล่นแตกต่างกันมาก บางตัวก็เล่นง่ายเหมาะกับมือใหม่ บางตัวก็เล่นยากเหมาะสำหรับคนมีชั่วโมงบินสูง
Race - ชื่อเผ่า
Race Attributes - จุดเด่นของเผ่านี้คร่าวๆ
Name - ชื่อของ Legendary Lord ที่เลือก
Enable Campaign Introduction - เปิดใช้โหมดสอนการเล่นเบื้องต้น สำหรับผู้ที่เริ่มเล่นเป็นครั้งแรก
Faction - ชื่อฝ่ายและธงสัญลักษณ์
Faction Effects - บัพหรือระบบพิเศษที่ฝ่ายนี้มี
Lord Effects - บัพหรือระบบพิเศษพิเศษเฉพาะของกองทัพ Legendary Lord ตัวนี้
Additional Starting Units - ยูนิตพิเศษที่ได้รับมาตอนเริ่มเกม
Difficulty - ปรับระดับความยาก แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ Easy, Normal, Hard, Very Hard และ Legendary
Campaign - ความยากในฉากแคมเปญ ยิ่งปรับให้ยากฝ่ายบอทก็จะยิ่งได้รับบัพในฉากแคมเปญมากขึ้น เช่น เงินเยอะขึ้น สร้างยูนิตไวขึ้น
Battle - ความยากในฉากต่อสู้ ยิ่งปรับให้ยากฝ่ายบอทก็จะยิ่งได้รับบัพในฉากต่อสู้มากขึ้น เช่น สเตตัสยูนิตสูงกว่าปกติ
Chaos Invasion - จำนวนกองทัพเผ่า Chaos ที่จะบุกมาช่วงกลางเกม ยิ่งปรับให้ยากยิ่งมีโผล่ออกมาเยอะ แถมยูนิตยังมีเลเวลสูงขึ้นด้วย
Advisor Help - ปรับระดับการให้คำแนะนำระหว่างเล่น
Autosave to Cloud - ปรับให้เซฟขึ้นระบบคลาวด์โดยอัตโนมัติ
Incremental Autosaves - ปรับให้เซฟอัตโนมัติโดยไฟล์เซฟจะไม่ทับกับของเดิม
Battle Settings - ปรับเวลานับถอยหลังในฉากต่อสู้ ถ้าเวลาหมดแล้วยังตัดสินแพ้ชนะไม่ได้ฝ่ายที่ตั้งรับจะเป็นผู้ชนะ
Battle Realism Mode - เปิดโหมดฉากรบแบบสมจริง ผู้เล่นจะไม่สามารถกดหยุดเวลาหรือปรับให้เวลาช้าลงได้ระหว่างสู้ Mini Map ก็จะไม่มีให้มอง นอกจากนี้มุมกล้องก็จะล็อคติดอยู่กับยูนิตของผู้เล่น ไม่สามารถเลื่อนมุมกล้องไปไหนมาไหนได้อิสระ
ฉากแคมเปญ
เมื่อกดเริ่มเกมแล้วเราจะเข้ามาอยู่ในฉากแคมเปญ ซึ่งเป็นฉากบริหารจัดการต่างๆในรูปแบบเทิร์นเบส โดยมีรายละเอียดหลายส่วน
1) หน้าต่างแสดงเงื่อนไขการชนะเกม
2) หน้าต่างการทูต สำหรับใช้เจรจากับฝ่ายอื่น
3) หน้าต่างเทคโนโลยี สำหรับวิจัยเทคโนโลยีเพื่อรับบัพพิเศษต่างๆ
4) หน้าต่างพิธีกรรมย่อย กดทำพิธีกรรมเพื่อรับบัพพิเศษแตกต่างกันไปตามเผ่า
5) ปุ่มกดข้ามเทิร์น
6) เลขเทิร์นปัจจุบัน
เงื่อนไขการชนะเกม (Objective)
หน้าต่างเงื่อนไขการชนะเกม ถ้าเป็นโหมด The Eye of the Vortex จะทั้งหมด 2 แบบคือ
Vortex Victory - การจบเกมโดยการทำพิธีกรรมครบทั้ง 5 อย่างและกดเข้าไปต่อสู้ในเควส The Final Battle ถ้าเราชนะก็จะจบเกมได้
Domination Victory - การจบเกมโดยการยึดครองดินแดน ผู้เล่นต้องทำลายฝ่ายที่ระบุไว้และยึดครองเมืองให้ครบ 50 จังหวัดก็จะจบเกมได้
การทูต (Diplomacy)
หน้าต่างการทูต เป็นอีกหนึ่งระบบที่สำคัญมากในเกม Total War มันช่วยให้ผู้เล่นสามารถเจรจาขอเป็นพันธมิตร เปิดการค้าหรือขอสงบศึก โดยมีรายละเอียดดังนี้
แถบแสดงรายละเอียดของฝั่งผู้เล่น มีรายละเอียดดังนี้
1) Strength Rank - ระดับความแข็งแกร่งของฝ่ายผู้เล่นหรือฝ่ายบอท โดยคำนวนจากกำลังรบเป็นหลัก ถ้าอีกฝ่ายอันดับสูงกว่าผู้เล่นมากจะทำการทูตยากขึ้นเพราะมันไม่เห็นหัวเรา
2) Reliability - ความน่าเชื่อถือทางการทูต ถ้าไปฉีกสัญญาการทูตกับฝ่ายอื่นค่านี้ลดลง ถ้าค่านี้ต่ำมากๆจะทำให้ฝ่ายอื่นไม่อยากทำการทูตกับเรา ต่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายดีแค่ไหนก็ตาม
3) Relations - รูปแบบความสัมพันธ์ทางการทูตกับฝ่ายที่มีธงปรากฏอยู่
4) Trade Goods - โชว์ทรัพยากรที่แลกเปลี่ยนกับฝ่ายอื่น ยิ่งทรัพยากรเรามีเยอะยิ่งขายได้เงินต่อเทิร์นเยอะ
ส่วนถ้าเป็นแถบแสดงรายละเอียดของอีกฝั่งนึงจะแตกต่างจากผู้เล่นเล็กน้อย
1) ความสัมพันธ์ - ถ้าเป็นสีเขียวแสดงว่ามันเป็นมิตรต่อผู้เล่น ถ้าสีเหลืองคือเฉยๆ ถ้าสีแดงคือมันไม่ชอบหน้าผู้เล่น ยิ่งแต้มเป็นสีเขียวสูงยิ่งทำการทูตด้วยง่าย โอกาสที่มันจะปรกาศสงครามใส่เราก็น้อย
2) นิสัย - บ่งบอกถึงพฤติกรรมของบอทฝ่ายนั้น เช่น ถ้าเป็น Defensive มันก็จะไม่ค่อยประกาศสงครามหรือขยายดินแดนมากเท่าฝ่ายอื่น ถ้าเป็น Underdog ก็จะยอมยกดินแดนให้เรา Confederate ง่ายกว่าปกติ มีนิสัยในเกมนี้หลายสิบแบบ พยายามสังเกตก่อนตกลงทำการทูตหน่อยก็ดี
ตรงกลางจะเป็นแถบเลือกฝ่ายที่จะกดเจรจาด้วย
1) เผ่าพันธุ์ของฝ่ายนี้ ถ้าเผ่าเหมือนกันจะมีธงรูปเดียวกัน
2) ชื่อฝ่าย
3) ลำดับความแข็งแกร่ง ด้านข้างก็จะมีเกจพลังให้ดูเทียบกำลังรบระหว่างฝ่ายเรากับฝ่ายนั้น
4) จำนวนเมืองที่ครอบครองอยู่
5) สัญญาการทูตที่ทำไว้อยู่
6) เป้าหมายที่สั่งให้ช่วยโจมตี กรณีที่ฝ่ายนี้เป็นพันธมิตรกับผู้เล่น
7) การค้าขาย
8) ความสัมพันธ์
9) ปุ่มกดเลือกเป้าหมายให้พันธมิตรช่วยโจมตี
เมื่อเลือกฝ่ายแล้วจะขึ้นตัวเลือกในการเจรจาแบบนี้
1) Non-Aggression Pact - ทำสัญญาไม่รุกรานกัน ทำให้อุ่นใจได้ระดับนึงว่าบอทจะไม่ประกาศสงครามใส่ผู้เล่นเมื่อมีสัญญานี้อยู่ ยกเว้นมันเป็นพวกนิสัยชอบแทงข้างหลัง
2) Trade Agreement - เปิดการค้า จะทำได้กับฝ่ายที่มีดินแดนติดกันหรือมีท่าเรือทั้งคู่เท่านั้น เมื่อเปิดการค้าแล้วทั้งสองฝ่ายจะได้รายได้ต่อเทิร์นเพิ่มขึ้น และถ้ามีทรัพยากรพิเศษก็จะยิ่งเพิ่มรายได้ต่อเทิร์นมากขึ้นไปอีก
3) Military Access - ทำสัญญาขอข้ามแดน ทำให้สามารถยกกองทัพเดินข้ามดินแดนของอีกฝ่ายได้โดยไม่ลดค่าความสัมพันธ์ลง
4) Defensive Alliance - ทำสัญญาพันธมิตรเชิงรับ ถ้ามีศัตรูประกาศสงครามใส่ฝ่ายไหนอีกฝ่ายจะถูกดึงเข้าร่วมสงครามด้วย แต่ถ้าเป็นฝ่ายประกาศสงครามใส่คนอื่นเองสัญญาฉบับนี้ก็จะไม่มีผลอะไร
5) Military Alliance - ทำสัญญาพันธมิตรทางการทหาร ไม่ว่าฝ่ายไหนประกาศสงครามเองหรือถูกประกาศสงครามใส่อีกฝ่ายก็จะถูกดึงเข้าร่วมสงครามด้วยทั้งหมด เป็นสัญญาการทูตที่ทำยากที่สุด
6) Join Confederation - รวมชาติ เป็นการรวมดินแดนของฝ่ายนั้นทั้งหมดและกองทัพที่มีอยู่มาเป็นของผู้เล่น ถ้าฝ่ายนั้นมี Legendary Lord อยู่ก็จะกลายมาเป็นของเราด้วย
7) Break XXX - เป็นการบีบให้ฝ่ายนั้นยกเลิกสัญญาการทูตต่างๆกับฝ่ายอื่น
8) Payments - จ่ายเงินหรือเรียกร้องเงินจากฝ่ายอื่น
9) Join War Against - เรียกร้องให้ฝ่ายนั้นเข้าร่วมสงครามกับศัตรูของเรา ไม่ก็เราเสนอตัวเข้าร่วมสงครามกับศัตรูของฝ่ายนั้น ถ้ากดเข้าร่วมสงครามแบบนี้จะทำให้สัญญาพันธมิตรทั้งหลายไม่ส่งผลด้วย เลยเหมาะจะใช้กับศัตรูที่มีพันธมิตรเยอะๆเพราะถ้าประกาศสงครามโต้งๆนี่เราจะโดนรุมเอาได้
1
10) Declare War - ประกาศสงครามใส่ฝ่ายนั้น ถ้าเราและฝ่ายนั้นมีพันธมิตรอยู่จะถูกดึงเข้าร่วมสงครามด้วยทั้งหมด แต่ถ้าพันธมิตรฝ่ายไหนไม่ยอมเข้าร่วมจะเป็นการฉีกสัญญาพันธมิตรทิ้งทันที
เมื่อเลือกตัวเลือกเสร็จแล้วจะเข้าสู่หน้าต่างนี้
1) บอกข้อเสนอของฝั่งเรา
2) บอกข้อเรียกร้องของฝั่งเรา
3) บอกโอกาสสำเร็จในการเจรจา โดยคำนวนจากข้อเสนอและข้อเรียกร้องที่ยื่นไป ถ้าเป็น Low นี่คือไม่มีโอกาสสำเร็จแน่นอน ถ้า Moderate นี่คือมีลุ้นอยู่ ถ้า High นี่คือสำเร็จแน่นอน 100%
เทคโนโลยี (Technology)
เทคโนโลยีเป็นอีกปัจจัยสำคัญของเกมนี้ เมื่อวิจัยเทคโนโลยีแต่ละอันสำเร็จก็จะได้รับบัพพิเศษมาใช้งาน แต่ละเผ่าจะมีเทคโนโลยีแตกต่างกันออกไป บางอย่างก็ต้องทำเงื่อนไขปลดล็อคก่อนเพื่อให้วิจัยได้ด้วย
ถ้าเอาเมาส์ไปวางบนเทคโนโลยีแต่ละอันก็จะบัพที่ได้รับเมื่อวิจัยเสร็จ ส่วนหลอดนาฬิกาทรายด้านบนคือจำนวนเทิร์นที่ต้องใช้ในการวิจัย ยิ่งเทคโนโลยีระดับสูงก็จะใช้เทิร์นเยอะขึ้นตามไปด้วย แต่ถ้าผู้เล่นสามารถเพิ่ม Research Rate หรือความเร็วในการวิจัยได้ก็จะช่วยลดเทิร์นลงมาหน่อยนึง บัพ Research Rate นั้นสามารถหาได้จาก Trait ของตัวละครหรือสิ่งก่อสร้างพิเศษตามเมืองต่างๆ
เทคโนโลยีบางอย่างก็ต้องใช้เงินเพื่อการวิจัย ไม่ก็ต้องมีสิ่งก่อสร้างที่ระบุไว้เพื่อปลดล็อคการวิจัยก่อนด้วย อย่างตามภาพที่ต้องสร้างสิ่งก่อสร้าง Elven Embassy ก่อนเพื่อให้วิจัยเทคโนโลยี Trade Advancements ได้
พิธีกรรมย่อย (Rites)
พิธีกรรมย่อยหรือ Rite นั้นเป็นระบบที่มีเฉพาะเผ่าจากภาค Warhammer 2 เท่านั้น เผ่าจากภาคแรกจะไม่มี ระบบนี้จะเป็นการจ่ายทรัพยากรเพื่อรับบัพต่างๆชั่วคราว สามารถกดใช้ได้เรื่อยๆ บัพบางอย่างก็สำคัญมากต่อการเล่นของฝ่ายนั้นๆ
1) จำนวนเงินหรือทรัพยากรที่ต้องใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมนี้
2) จำนวนเทิร์นที่ต้องรอคูลดาวน์เพื่อให้กดใช้พิธีกรรมนี้ได้อีกครั้งนึง
3) จำนวนเทิร์นที่บัพจากพิธีกรรมนี้จะส่งผล
4) รายละเอียดบัพที่ได้จากพิธีกรรมนี้
5) ข้อความบอกเงื่อนไขการปลดล็อคพิธีกรรมนี้ อย่างในภาพคือให้ Legendary Lord ของผู้เล่นเลเวล 5 ก็จะปลดล็อคให้ทันที
อีเวนท์และเควส (Events & Quests)
อินเตอร์เฟสทางขวาของจอจะโชว์แผนที่ Mini Map ของเกมและก็จะมีบอกอีเวนท์ของแต่ละเทิร์นด้วย และถ้าเอาเมาส์ไปวางค้างไว้มันก็จะแสดงรายละเอียดอีเวนท์ขึ้นมาให้อ่าน
ปุ่มถัดมาจะเป็นปุ่มเปิดหน้าต่างเควสของเรา ซึ่งเควสในเกมจะมีทั้งหมด 2 แบบ
Quests - เควสหลักของฝ่ายเรา ส่วนใหญ่ไม่มีจำกัดเวลา ถ้าทำสำเร็จจะได้ของรางวัลดีมาก อย่างเช่น ไอเท็มสวมใส่ของ Legendary Lord
Missions - เควสย่อยที่สุ่มได้มาเรื่อยๆตลอดทั้งเกม บางอันจะมีจำกัดเวลาไว้อยู่สังเกตได้จากสัญลักษณ์รูปนาฬิกาทราย ถ้าทำไม่ทันเควสก็จะถูกยกเลิกไป
รายได้ (Income)
เงินและรายได้นั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในเกม Total War ทุกอย่างจำเป็นต้องใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสิ่งก่อสร้าง สร้างทหารหรือสร้างเอเจนท์ ถ้าเงินติดลบเมื่อไหร่ทหารในกองทัพจะทยอยหนีทัพไปเรื่อยๆจนหมด ดังนั้นต้องระวังให้ดี รายได้ถูกแบ่งหลักๆออกเป็น
Background Income - รายได้พื้นฐาน แต่ละฝ่ายจะมีคงที่เท่ากันหมดคือ 2,500 ต่อเทิร์น เพิ่มหรือลดไม่ได้ ถ้าเล่นเป็นฝ่ายเร่ร่อน
Taxes/Extorted - รายได้จากสิ่งก่อสร้าง ยิ่งเรามีสิ่งก่อสร้างผลิต Income เยอะเรายิ่งได้รายได้ตรงส่วนนี้เยอะ
Trade - รายได้จากการค้า ถ้าเราเปิดการค้าและมีทรัพยากรไว้แลกเปลี่ยนเยอะก็จะมีค่าตรงนี้สูง
Raiding - รายได้จากการปล้น เป็นรายได้ที่จะได้รับเมื่อเราเอากองทัพไปตั้ง Stance Raiding ใส่ดินแดนฝ่ายอื่นเพื่อปล้นเอาเงิน ซึ่งจะทำได้แค่บางเผ่าเท่านั้น
Looting - รายได้จากการปล้นเมือง ได้รับเมื่อเราตีเมืองแตกและกดปล้น
Captives - รายได้ที่ได้จากการจับเชลยหลังการต่อสู้ แล้วเราก็เรียกค่าไถ่กับเงิน
Post-Battle Loot - รายได้ที่ได้จากการยึดของจากศพศัตรูเมื่อชนะการต่อสู้ ยิ่งศัตรูมีกองทัพใหญ่ยิ่งได้เงินเยอะ
Vassals - รายได้จากเมืองขึ้น เมืองขึ้นแต่ละเมืองจะส่งเงินบรรณาการให้เราทุกเทิร์น
ที่กล่าวมาทั้งหมดคือรายได้หลักที่เราได้รับ แต่ก็ยังมีวิธีหาเงินแบบอื่นอยู่อีก เช่น ทำเควส ล่าสมบัติกลางทะเล กดปล้นเมือง ขอเงินผ่านการทูต
กดที่ปุ่มรูปสมบัติมันจะพาเราเข้าสู่หน้าต่าง Treasury ที่แจกจายรายได้และรายจ่ายให้เราดูแบบชัดๆอีกที
ถัดมาเป็นหน้าต่าง Trade ที่บอกรายละเอียดการค้าของเรา เราสามารถเปิดเส้นทางการค้าได้จากหน้าต่างการทูต ยิ่งเราผลิตทรัพยากรได้เยอะก็จะยิ่งค้าขายได้เงินเยอะ แล้วก็ถ้าเปิดการค้าขายกันนานๆก็จะได้รับโบนัสเงินพิเศษจากฝ่ายคู่ค้าด้วย
1) Producing - ทรัพยากรทั้งหมดที่เราผลิตได้
2) Importing - ทรัพยากรทั้งหมดที่เรานำเข้ามา
3) Name - ชื่อฝ่ายที่เราเปิดการค้าด้วย
4) Imports - ทรัพยากรที่เรานำเข้าจากฝ่ายนั้น
5) Exports - ทรัพยากรที่เราขายให้ฝ่ายนั้น
6) Route - เส้นทางการค้าที่เปิดและระยะเวลาทั้งหมดที่ได้ทำการค้าขายด้วย
7) Value - รายได้ที่เราได้รับจากการค้ากับฝ่ายนี้
เมือง (Settlements)
เมืองในเกมนี้คือฐานที่มั่นของแต่ละฝ่าย เอาไว้ใช้สร้างรายได้และสร้างกองทัพไปสู้กันศัตรู ถ้าเมืองฝ่ายไหนโดนตีแตกจนหมดก็คือแพ้แน่นอน รายละเอียดเมืองมีดังต่อไปนี้
1) ชื่อจังหวัด โดยแต่ละจังหวัดจะมีเมืองใหญ่ 1 เมืองและเมืองเล็ก 1-3 เมือง ถ้ายึดเมืองในจังหวัดนั้นครบทั้งหมดจะสามารถตั้งนโยบายบริหารจังหวัดได้
2) เมืองใหญ่ เป็นเมืองที่เป็นจุดศูนย์กลางของแต่ละจังหวัด จะมีช่องสิ่งก่อสร้าง 6-10 ช่องแล้วแต่ขนาดของเมือง สิ่งก่อสร้างในเมืองใหญ่สามารถอัพเกรดได้ถึง Tier 5 และจะมีกำแพงเมืองให้มาด้วย ทำให้ป้องกันเมืองได้ง่ายกว่าเมืองเล็กมาก
3) เมืองเล็ก จะมีช่องสิ่งก่อสร้างให้มาแค่ 4 ช่องและไม่มีกำแพงเมืองให้ ต้องสร้างกำแพงเอาเอง สิ่งก่อสร้างในเมืองเล็กก็อัพเกรดได้สูงสุดแค่ Tier 3 ทำให้ไม่ควรสร้างสิ่งก่อสร้างระดับสูงไว้ในเมืองเหล่านี้
1
4) สัญลักษณ์กำแพงเมือง ถ้าเมืองไหนมีกำแพงศัตรูก็จะบุกยากกว่าปกติเพราะต้องสร้างอุปกรณ์ตีเมืองก่อน แต่ถ้ากำแพงเมืองเป็นสีแดงหรือส้มแสดงว่ากำแพงได้รับความเสียหาย ศัตรูสามารถกดเข้าโจมตีได้เลยโดยไม่ต้องสร้างอุปกรณ์ตีเมือง
ส่วนอันนี้คือ Commandments หรือนโยบายบริหารจังหวัด ที่จะได้มาเมื่อยึดเมืองในจังหวัดนั้นได้ครบ มีให้เลือกประมาณ 4-5 แบบและจะแจกบัพแตกต่างกันไปตามแต่ละเผ่าพันธุ์ บัพที่ได้ค่อนข้างดีมาก เป็นเหตุผลให้เราควรโฟกัสยึดเมืองใครครบไปทีละจังหวัด
ต่อมาคือสัญลักษณ์ขนาดเล็กที่อยู่รอบเมือง ประกอบด้วย
1) สภาพภูมิประเทศ ถ้าสีเขียวแสดงว่าเหมาะกับฝ่ายเรา ถ้าสีแดงนี่คือไม่เหมาะที่ฝ่ายเราจะไปอยู่อาศัยเพราะจะโดนดีบัพต่างๆหนักมาก
2) สัญลักษณ์บอกสิ่งก่อสร้างพิเศษ จะขึ้นโชว์เพื่อแสดงว่าเมืองนี้มีสิ่งก่อสร้างพิเศษหรือ Landmark ให้เราสร้างได้
3) รายได้ที่เราได้จากเมืองนี้
4) ชิ้นส่วนพิธีกรรมที่เราได้รับจากเมืองนี้ในแต่ละเทิร์น เอาไว้ใช้ประกอบพิธีกรรมเพื่อจบเกมในแคมเปญ The Eye of the Vortex
5) Public Order หรือค่าความสงบในดินแดน ถ้ามันลดต่ำถึง -100 จะเกิดกบฏขึ้นในจังหวัดนั้น กบฏจะค่อยๆรวบรวมกำลังพลและเข้าโจมตีเมืองเรา ถ้ามันยึดเมืองได้เราก็ต้องมาไล่ยึดคืนเองอีก
6) Corruption หรือค่าคอรัปชั่นในดินแดน จะมีบางเผ่าที่มีระบบคอรัปชั่น อย่างเช่น Vampire Skaven Chaos พวกนี้จะแพร่คอรัปชั่นไปยังดินแดนต่างๆเพื่อใช้บัพเผ่าของพวกมันเอง แต่เผ่าอื่นๆนั้นค่าคอรัปชั่นพวกนี้จะไปลด Public Order ในดินแดนลง ยิ่งคอรัปชั่นสูงยิ่งมีโอกาสเกิดกบฏง่าย ดังนั้นต้องพยายามเพิ่มค่า Untainted ในดินแดนเพื่อกดค่าคอรัปชั่นให้ต่ำลง โดยคอรัปชั่นจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
Chaos Corruption - คอรัปชั่นของเผ่า Chaos Beastmen และ Norsca ผลของมันนอกจากทำให้ Public Order ลดลงแล้วยังสร้างความเสียหายให้กองทัพเผ่าอื่นที่ไม่ใช่เผ่าพวกนี้ด้วย
Vampire Corruption - คอรัปชั่นของเผ่า Vampire ทั้งหลาย ให้ผลคล้ายๆของ Chaos คือ ลด Public Order และสร้างความเสียหายให้กองทัพเผ่าอื่นที่เดินผ่าน แต่คอรัปชั่นเผ่านี้จะส่งผลเสียต่อพวกเดียวกันเองด้วยถ้ามีน้อยเกินไป เนื่องจากกองทัพ Vampire เดินบนพื้นที่คอรัปชั่นน้อยๆจะได้รับความเสียหายซะเอง
Skaven Corruption - คอรัปชั่นของเผ่า Skaven ที่นอกจากลด Public Order แล้วก็ไม่ได้ส่งผลเสียอื่น แต่ว่าถ้าสู้กับกองทัพ Skaven ในพื้นที่คอรัปชั่นสูงๆจะทำให้มันใช้สกิลเสกหนูได้มากกว่าปกติ เราเลยจะไปเสียเปรียบในฉากต่อสู้แทน
1
7) จำนวนทหารป้องกันเมืองหรือ Garrison
ปุ่มถัดจากหน้าต่างเมืองจะบอกถึงจำนวนทหารป้องกันเมืองหรือ Garrison พวกนี้เป็นทหารฟรีที่จะออกมาช่วยสู้เมื่อกองทัพศัตรูบุกตีเมืองหรือยืนอยู่ใกล้ๆเมืองเท่านั้น
ต่อมาเป็นหน้าต่างผังสิ่งก่อสร้างของเมือง ซึ่งจะแสดงรายการสิ่งก่อสร้างทั้งหมดที่เรากดสร้างได้ โดยแบ่งออกดังนี้
Province Capital - สิ่งก่อสร้างหลักประจำเมือง ถ้าอยากเลื่อน Tier ของสิ่งก่อสร้างอื่นๆจำเป็นต้องอัพเกรดสิ่งก่อสร้างหลักขึ้นไปเป็นอันดับแรกก่อน
Port - ท่าเรือ ถ้าเมืองอยู่ติดน้ำจะมีท่าเรือมาให้ทันทีเลยโดยไม่ต้องสร้าง ท่าเรือจะช่วยเพิ่มรายได้และอัตราการเติบโตให้เมืองได้เยอะมาก นอกจากนี้ยังต้องใช้ในการเปิดการค้าทางทะเลอีกด้วย
Landmark - สิ่งก่อสร้างแลนด์มาร์ค เป็นสิ่งก่อสร้างพิเศษที่เราสร้างได้เฉพาะในเมืองนั้นแค่เมืองเดียว ส่วนใหญ่เป็นสิ่งก่อสร้างตามเนื้อเรื่องและให้บัพดีกว่าปกติมาก ควรสร้างเอาทุกครั้งที่เจอ
Basic Military - สิ่งก่อสร้างทหารขั้นพื้นฐาน ใช้สร้างยูนิตระดับต่ำในช่วงแรกๆ
Advanced Military - สิ่งก่อสร้างทหารขั้นสูง ใช้สร้างยูนิตระดับสูงระดับ Tier 3 เป็นต้นไป
Defense - สิ่งก่อสร้างป้องกัน ประกอบด้วยกำแพงเมืองสำหรับเมืองเล็กและป้อมเพิ่มจำนวน Garrison สำหรับเมืองใหญ่ ควรสร้างติดไว้ทุกเมืองเพราะบอทมันชอบโจมตีเมืองที่ไม่มีกำแพง
Infrastructure - สิ่งก่อสร้างทั่วไป จะเป็นพวกสิ่งก่อสร้างที่เพิ่ม Public Order ลดค่าคอรัปชั่น เพิ่มรายได้ เพิ่มอัตราการเติบโตของเมือง
ปุ่มต่อมาจะเป็นปุ่มกดสร้าง Lord และกองทัพใหม่ โดย Lord ทุกตัวนั้นจะสามารถสร้างได้ตั้งแต่เริ่มเกมเลย แต่ว่าการมีกองทัพเพิ่มจะโดนดีบัพเพิ่ม Upkeep ยูนิตทุกกองทัพอีก 2% ถ้ามีกองทัพเยอะไปก็อย่าแปลกใจว่ารายได้หดหายไปไหนหมด
ปุ่มต่อมาจะเป็นปุ่มกดสร้าง Hero ซึ่ง Hero เกมนี้ก็ทำงานเหมือนเอเจนท์ในภาคอื่นๆนั่นแหละ คือไว้ใช้ก่อการร้ายหรือลอบสังหารศัตรู แต่ Hero ภาคนี้จะสามารถนำใส่กองทัพเพื่อเอาไปใช้สู้ได้เหมือนกับยูนิตตัวนึงด้วย Hero ส่วนใหญ่จะถูกล็อคไว้ในช่วงเริ่มเกม ต้องสร้างสิ่งก่อสร้างที่มันระบุก่อนถึงจะปลดล็อคให้สร้าง
กองทัพ (Army)
เมื่อสร้างกองทัพขึ้นมาแล้ว สิ่งที่ต้องทำอันดับต่อไปคือสร้างยูนิตมาใส่ในกองทัพ แต่ละกองทัพจะมียูนิตได้สูงสุดแค่ 20 ตัวเท่านั้น ถ้าเกินกว่านั้นต้องไปสร้างกองทัพใหม่อีกกองแทน
ปุ่มสร้างยูนิตจะอยู่ทางซ้ายของหน้าต่างกองทัพ เมื่อกดแล้วจะมีรายละเอียดดังนี้
1) ช่องสร้างยูนิตแบบ Global อันนี้คือจะสามารถสร้างยูนิตจากจังหวัดอื่นได้โดยไม่ต้องส่งกองทัพเดินไปสร้างถึงที่ แต่ข้อเสียคือต้องใช้เงินค่าสร้างและเวลาสร้างมากขึ้นเป็นเท่าตัว และจะสร้างได้กองทัพต้องอยู่ใน Stance Encampment หรืออยู่ในเมืองเท่านั้น
2) ช่องสร้างยูนิตแบบ Local จะสร้างได้เฉพาะยูนิตจากสิ่งก่อสร้างในจังหวัดที่กองทัพยืนอยู่เท่านั้น
3) ระยะเวลาที่ใช้สร้างยูนิตตัวนั้น ถ้าเวลาสร้างมากกว่า 1 เทิร์นกองทัพก็จะขยับไม่ได้จนกว่าจะสร้างเสร็จหรือยกเลิกการสร้าง
4) ค่าสร้างและ Upkeep ที่ต้องจ่ายให้ยูนิตตัวนั้น ค่าสร้างนั้นจ่ายแค่ครั้งเดียวตอนกดสร้าง แต่ Upkeep นั้นต้องจ่ายเรื่อยๆจนกว่ายูนิตกองนั้นจะโดนลบทิ้งหรือตายยกกอง
5) Upkeep รวมของยูนิตทั้งกองทัพ
ปุ่มถัดมาจะเป็นยูนิตพิเศษชื่อว่า Regiments of Renown หรือ RoR โดยยูนิตพวกนี้จะมีการ์ดเป็นสีม่วงและสร้างได้แค่กองเดียวเท่านั้น ทุกตัวจะมีความสามารถพิเศษแตกต่างจากยูนิตเวอร์ชั่นธรรมดาและเลเวลสูงสุดเลยตอนกดสร้างมา แต่การจะสร้าง RoR ได้นั้นจำเป็นต้องซื้อ DLC เสียก่อน
รวมถึงบางเผ่าอาจจะมียูนิตพิเศษประเภทอื่นก็สามารถมากดสร้างได้จากปุ่มนี้เช่นเดียวกัน
ด้านซ้ายมือจะเห็นแถบที่คล้ายๆนโยบายจังหวัด นี่คือ Stance หรือรูปแบบกองทัพ เมื่อกดปรับ Stance แล้วกองทัพจะได้รับบัพหรือความสามารถพิเศษบางอย่าง ซึ่งแต่ละเผ่าจะมี Stance แตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่จะมี Stance หลักคล้ายๆกัน ได้แก่
None - Stance ปกติ ไม่มีอะไรพิเศษ
Ambush - Stance ซุ่มโจมตี เมื่อกดแล้วห้ามขยับอีกในเทิร์นนั้นแล้วรอลุ้นให้ศัตรูเดินผ่าน ถ้าศัตรูเดินมาชนก็จะเข้าสู่ฉากต่อสู้พิเศษที่ทหารเรากรอบศัตรูทั้ง 2 ด้าน ถือว่าเป็น Stance ที่สำคัญเอาไว้ใช้จัดการศัตรูที่มีหลายกองทัพได้ดี
March - Stance เร่งเดินทัพ จะเพิ่มระยะเดินกองทัพอีก 50% แต่จะกดโจมตีศัตรูไม่ได้และถ้าถูกศัตรูโจมตีใส่จะกดถอยทัพ 1 ครั้งไม่ได้ด้วย
Encampment - Stance ตั้งจุดพัก ช่วยเพิ่มอัตราฟื้นฟูเลือดทหารและทำให้ไม่ได้รับผลจากความเสียหายทุกอย่าง เช่น ความเสียหายจากคอรัปชั่น ระหว่างอยู่ใน Stance นี้ยังสามารถสร้างยูนิตเพิ่มจากช่อง Global ได้ด้วย
1
Raiding - Stance ปล้นสะดมภ์ ทำให้เราได้ขโมยรายได้จากเมืองในจังหวัดนั้นมาเป็นของเราบางส่วนและยังไปลดความสงบของจังหวัดนั้นลงด้วย แต่ระวังไว้อย่างคือมันจะไปลดค่าความสัมพันธ์กับฝ่ายที่เราปล้นเขานะ
Channeling - Stance รวบรวมพลังเวท ทำให้กองทัพเรามีแต้มพลังเวทมากขึ้น นักเวทเลยจะร่ายเวทได้มากกว่าปกติ
Lord & Hero
จุดขายอีกอย่างนึงของภาค Warhammer คือการที่สามารถคัสต้อมตัวละครได้หลากหลายเหมือนกับเกมแฟนตาซีเลย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนของไอเท็มกับ Trait และ ส่วนของสกิล
ส่วนหน้าต่างไอเท็มกับ Trait จะประกอบด้วย
1) ไอเท็ม - เอาไว้สำหรับสวมใส่ไอเท็มที่ได้รับจากเควสหรือดรอปจากศัตรู ระดับของไอเท็มจะแบ่งตามสีดังนี้ Common (ไม่มีสี) Uncommon (สีเขียว) Rare (สีน้ำเงิน) Legendary (สีม่วง) ส่วนแต่ละช่องจะแบ่งออกเป็น
Armour - ส่วนของเกราะ เน้นเพิ่มสเตตัสด้านการป้องกัน
Weapon - ส่วนของอาวุธ เน้นเพิ่มสเตตัสด้านการต่อสู้
Talisman - ส่วนของเครื่องราง เน้นเพิ่มสเตตัสด้าน Save ที่ทำหน้าที่ลดทอนพลังโจมตีศัตรูแบบเป็นเปอเซนต์
Enchanted Item - ส่วนของไอเท็มเวท เน้นเพิ่มสกิลพิเศษหรือบัพให้ตัวละคร
2) Trait - เป็นบัพพิเศษที่ตัวละครจะได้รับเมื่อทำตามเงื่อนไขที่มันระบุไว้ Trait นั้นจะมีทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยด้านบวกจะเป็นสีเขียวส่วนด้านลบจะเป็นสีแดง Lord และ Hero ทุกตัวจะเกิดมาพร้อม Trait ติดตัว 1 อันเสมอ ส่วน Trait ที่เหลือจะได้เพิ่มมาทีหลังขณะเล่น
3) ผู้ติดตามและธง - ธงนั้นเป็นเหมือนบัพเสริมให้กับยูนิตในกองทัพ ธงแต่ละอันจะติดให้ยูนิตได้ 1 ตัวเท่านั้น เราสามารถกดติดธงให้ยูนิตได้ก่อนเข้าฉากต่อสู้ ส่วนผู้ติดตามนั้นจะเป็นบัพเสริมให้ Lord หรือ Hero ตามปกติ
ด้านซ้ายมือจะเป็นสรุปผลบัพที่ได้รับจากสกิลและไอเท็มทั้งหมดของตัวละคร Battle Effect คือบัพทั้งหมดที่จะได้รับในฉากต่อสู้ ส่วน Campaign Effect คือบัพทั้งหมดที่จะได้รับในฉากแคมเปญ ทำให้เราไม่ต้องเหนื่อยมานั่งบวกลบคูณหารผลบัพเอง
ในส่วนของสกิลตัวละครจะค่อนข้างหลากหลายมาก แต่หลักๆจะมีการแบ่งสายให้ผู้เล่นเข้าใจง่ายอยู่แล้ว
1) สายพิเศษ - สกิลสายนี้ส่วนใหญ่จะเป็นสกิลเฉพาะของตัวละครนั้นๆ ไม่ก็พวกพาหนะและไอเท็ม Legendary ของตัวละคร สกิลส่วนใหญ่จะใช้แต้มอัพน้อยแต่ให้บัพเยอะมาก เป็นสายที่ผู้เล่นควรให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะมันจะกำหนดแนวทางการเล่นของตัวละครตัวนั้น
2) สายต่อสู้ - สกิลสายนี้เน้นบัพสเตตัสต่อสู้ให้ตัวละคร ใครจะปั้นตัวละครสายบู๊ควรอัพให้เต็มไปเลย
3) สายเวท - ตัวละครบางตัวที่ใช้เวทมนตร์ได้จะมีสายนี้ขึ้นมาให้อัพ เวทมนตร์บางอันนั้นทรงพลังมากพอจะชี้เป็นชี้ตายในฉากต่อสู้ได้เลย
4) สายกองทัพ - สกิลสายนี้จะช่วยบัพสเตตัสให้ยูนิตในกองทัพแทน สำหรับผู้เล่นที่เน้นปั้นยูนิตไม่เน้นปั้นตัวละคร
5) สายแคมเปญ - สกิลสายนี้จะช่วยบัพในฉากแคมเปญแทน ไม่มีผลในฉากต่อสู้แต่สกิลหลายอันอย่าง Lightning Strike หรือลด Upkeep นั้นก็ดีเกินกว่าจะมองข้ามเหมือนกัน
ตัวละครในเกมนี้จะเลเวลตันที่ 40 หมายความว่าจะมีแต้มสกิลให้อัพ 39 แต้ม ถ้ามีเวลาก็นั่งดูตารางสกิลและวางแผนอัพล่วงหน้าไว้หน่อยก็ดี ระวังแต้มสกิลไม่พอใช้
สำหรับ Hero นั้นจะมีผังสกิลต่างจาก Lord เล็กน้อยตรงที่โดนตัดสกิลสายกองทัพออกไป ส่วนสกิลสายแคมเปญก็ถูกเปลี่ยนเป็นสกิลบัพการทำงานในฐานะเอเจนท์แทน เช่น สกิลระเบิดกำแพง สกิลลอบสังหาร
โดยรวมแล้ว Hero นั้นอัพสกิลง่ายกว่า Lord เยอะเพราะมีสกิลอยู่แค่ไม่กี่สาย ยังไงก็อัพได้เต็มเกือบทุกอย่างแน่นอน ไม่ต้องนั่งคำนวนให้ปวดหัวเท่าไหร่
โฆษณา