10 มี.ค. 2021 เวลา 05:55 • คริปโทเคอร์เรนซี
cryptocurrency แต่ละเหรียญ คืออะไร?
มาสรุปแบบย่อๆกันครับ
17
NEAR PROTOCOL (NEAR)
NEAR Protocol หรืออีกชื่อหนึ่งคือ NEAR Platform เป็นเครือข่ายบล็อกเชนแบบ Proof-of-stake ที่ถูกออกแบบขึ้นมาให้เป็นมิตรกับเหล่าโปรมแกรมเมอร์ เพื่อที่เหล่าโปรแกรมเมอร์จะสามารถใช้มันเขียนแอพพลิเคชั่นแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Application หรือ dApps)
โดยตัว NEAR Platform เปรียบเสมือนกับ cloud ที่เหล่าโปรแกรมเมอร์สามารถใช้เป็นฐานสำหรับการเขียนแอพพลิเคชั่น dApps ขึ้นมา เพียงแต่ cloud ตัวนี้จะไม่มีตัวกลางเป็นองค์กรใดองค์กรหนึ่งเปิดเซิฟเวอร์ขนาดใหญ่อยู่เบื้องหลังเพียงผู้เดียว ในทางกลับกันผู้ที่คอยสนับสนุน NEAR Platform คือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่รับหน้าที่เป็น Validator Node สำหรับเครือข่ายนี้นั่นเอง
17
USD COIN (USDC)
USDC ย่อมาจาก USD Coin ซึ่งเป็นเหรียญ Stablecoin ที่ผูกมูลค่าเข้ากับ U.S. Dollar ทำให้มูลค่าของเหรียญจะคงที่ที่ 1 USDC = 1 US Dollar เสมอ
USDC เปิดตัวเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2018 เป็นโปรเจ็คร่วมกันระหว่าง Circle และ Coinbase เพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่า “Programmable Dollar” หรือ เงินดอลลาร์ที่สามารถถูกตั้งโปรแกรมได้ เพื่อให้เหล่าผู้ประกอบการสามารถวางแผนสร้างธุรกิจของตนบนเครือข่ายของ USDC
13
KUSAMA (KSM)
ผู้ร่วมก่อตั้ง Kusama ก็คือคุณ Gavin Wood คนเดียวกับผู้ร่วมก่อตั้ง Polkadot นั่นเอง โดยคุณ Gavin ได้ระบุว่า Kusama เปรียบเสมือนญาติห่างๆของ Polkadot ที่มีนิสัยซุกซน ซึ่งพื้นฐานทางเทคนิคของทั้ง Kusama และ Polkadot นั้นจะเหมือนกันทุกประการ แต่ Kusama คือเครือข่ายที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับ Developer ที่ต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆด้วยความรวดเร็วนั่นเอง และไม่ใช่แค่สำหรับ Developer จากภายนอกเท่านั้น หากทาง Polkadot ต้องการเพิ่มฟีเจอร์สใหม่ๆ พวกเขาก็จะเริ่มทดสอบจาก Kusama ก่อน นั่นจึงเป็นที่มาของสโลแกน “Polkadot’s wild cousin” หรือ “ญาติตัวป่วนของ Polkadot!” นั่นเอง
13
ETHEREUM CLASSIC (ETC)
เป็นเหรียญที่เกิดจากการแยก Chain ออกมาจากเหรียญ Ethereum (ETH) ในปี 2016 จากเหตุการณ์การที่ Ethereum โดนแฮ็คโปรแจ็ค TheDAO
เทคโนโลยีบล็อกเชนของ Ethereum Classic เป็นเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขบล็อกเชนที่ลงทะเบียนไปแล้วได้
เทคโนโลยีบล็อกเชน: Ethereum Classic Blockchain
ทำหน้าที่: เป็นแพลตฟอร์ม open-source สามารถสร้าง Decentralized application บน ETC ได้
จำนวนเหรียญ: ไม่จำกัด
Consensus: PoW
ทีมผู้ก่อตั้ง: ETC Labs: James Wo Founder & Chairman, Terry Culver CEO
Ethereum Classic เป็น Blockchain ของ Ethereum ดั้งเดิม มันเป็นแพลตฟอร์ม Decentralized Applications (Dapps) และการใช้ Smart Contract เหมือนดั่ง Ethereum ดั้งเดิม โดยโปรเจกต์เกิดจากความเชื่อมั่นและอุดมการณ์ดั้งเดิมของ Ethereum ที่ไม่เปลี่ยนแปลงในหลักการสำคัญดั้งเดิมที่มี
10
TRON (TRX)
TRON นั้นเป็นโปรเจคที่ต้องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ไร้ตัวกลางอย่างแท้จริง รวมถึง TRON Protocol ถือว่าเป็นหนึ่งในบล็อคเชนที่มีโครงข่ายขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยตัวบล็อคเชนของ TRON นั้นจะเน้นการทำงานในด้านความยืดหยุ่นและรองรับ Transaction ได้แบบมหาศาล โดยยังสามารถคงความเสถียร รวมไปถึงยังคงประสิทธิภาพของระบบการประมวลผลความเร็วสูงอีกด้วย (HTC)
นอกจากนี้นักพัฒนายังสามารถพัฒนาเหล่า Dapp หรือแอพลิเคชั่นแบบไร้ตัวกลางบนพื้นฐานบล็อคเชนของ TRON ได้อีกด้วย ที่พิเศษไปกว่านั้นคือระบบของ TRON ยังรองรับการสร้างระบบสัญญาอัจฉริยะหรือ Smart Contract รวมไปถึงสามารถปรับใช้กับระบบแพลต Smart Contract ที่พัฒนาแยกต่างหากได้อีกด้วย
10
DOGECOIN (DOGE)
เมื่อเดือนธันวาคม 2013 ที่ผ่านมา Dogecoin ได้ถือกำเนิดขึ้นมาเพียงเพื่อเป็นเหรียญหรับการล้อเลียนและเสียดสีของโลกเงินดิจิตัลโดยเฉพาะ แต่ทันทีที่ได้พัฒนาขึ้นมาจริงๆ ในเดือนมกราคาปี 2014 กลับมีนักลงทุนแห่กันมาลงทุนในเหรียญตัวนี้มากกว่า 60 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าเหรียญคริปโตเคอเรนซี่ประเภทอื่นที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงไทม์ไลน์เดียวกันเสียอีก
15
ซึ่งเหรียญ Dogecoin เองก็มีอัตราการเติบโตในระดับที่เรียกได้ว่าก้าวกระโดด เนื่องจากภายในช่วงกลางปี 2015 นั้น ก็ได้มีจำนวนเหรียญที่หมุนเวียนอยู่ในระบบมากถึง หนึ่งแสนล้านเหรียญเลยทีเดียว รวมถึงในทุกๆ ปีก็จะมีจำนวนเหรียญ Doge ที่ถูกขุดเพิ่มเข้ามาในระบบ 5.256 พันล้านเหรียญเลยทีเดียว นับตั้งแต่ช่วงปี 2015 ที่ผ่านมาก็ได้มีเหรียญ Dogecoin ที่ถูกขุดขึ้นมาแล้วมากกว่าหนึ่งแสนล้านเหรียญด้วยกัน
และถึงแม้ว่าเหรียญ Doge นั้นจะมีการประชาสัมพันธ์น้อยมาก ตัวเหรียญก็ยังคงมีการใช้งานและมียอดการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ส่วนนึงเป็นเพราะว่าเหรียญตัวนี้มักจะถูกใช้สำหรับให้ทิปในโลกอินเตอร์เน็ตนั่นเอง เนื่องจากผู้คนมักมีการให้ทิปกับผู้ที่ทำคอนเท้นได้น่าสนใจเป็นเหรียญตัวนี้ และแน่นอน Dogecoin ถือว่าเป็นเหรียญ Altcoin อีกชนิดหนึ่ง
9
EVEREX (EVX)
EVX คือโทเค็นของทางระบบ Everex ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญอย่างนึงของระบบเลยก็ได้ โดยโทเค็นตัวนี้เปรียบเสมือนใบผ่านทางในการเข้ารับบริการต่างๆ จากทาง Everex ซึ่งโทเค็นนี้จะสามารถใช้งานได้ 3 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่
เป็นค่าธรรมเนียมในการใช้บริการต่างๆ ของ Everex
EVX token เปรียบเสมือนเชื้อเพลิงของระบบ และรางวัลในระบบนิเวศของ Everex
17
สามารถใช้ในการแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินจริงๆ กับค่าเงินดิจิทัลที่ถูกรองรับในกระเป๋าดิจิทัลของ Everex
ระบบของ Everex ได้สร้างระบบรางวัลตอบแทนให้กับผู้ที่ทำการยืนยันธุรกรรมในระบบโดยการจ่ายเป็น EVX Token โดยโทเค็นนี้จะเปรียบเสมือนเครดิตของผู้ที่ใช้ระบบของ Everex ซึ่งหมายความว่าถ้าหาก user มีโทเค็นครอบครองเยอะเท่าไหร่ นั่นหมายความว่าระบบก็จะมีความรวดเร็วและมีความคล่องตัวในการทำธุรกรรมต่างๆ มากขึ้นเท่านั้น โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างหรือเก็บโทเค็นไว้ในครอบครองมากขึ้นเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือที่มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
คุณลักษณะพิเศษอีกอย่างนึงของโทเค็น EVX ก็คือ มันเชื่อมต่อระหว่างค่าเงินจริงๆ กับเงินดิจิทัลผ่านทาง กระเป๋าเงินของ Everex หรืออีกนัยหนึ่งคือผู้ใช้จะสามารถแลกเปลี่ยนโทเค็นของทางระบบกับเหรียญดิจิตัลสกุลอื่นๆ ได้ตามคู่แพร์ในกระดานเทรดที่มีการลิสต์เหรียญ EVX ไว้นั่นเอง (อาทิ Bitcoin หรือ Ether)
นอกจากนี้โทเค็นตัวนี้ยังสามารถโอนแลกเปลี่ยนกันในระบบระหว่างวอลเล็ตของผู้ที่ถือเหรียญเอาไว้เองได้ หรือแม้จะแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินจริงๆ ออกมาก็ยังได้
3
STELLAR (XLM)
XLM เป็นตัวย่อของ Stellar Lumen ซึ่งเป็น Cryptocurrency ในเครือข่าย Blockchain ที่ชื่อว่า Stellar ในทำนองเดียวกับที่ ETH เป็น Cryptocurrency ของ Ethereum, XLM นับเป็นเหรียญอรรถประโยชน์ (Utility Token) ที่ใช้ใน Stellar ซึ่งเป็น Blockchain แบบ Open Source ที่ออกแบบมาให้รองรับธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศที่รองรับทุกๆ สกุลเงิน โดยไม่แสวงหากำไร พัฒนาครั้งแรกในปี 2014 โดย Jed McCaleb ผู้ร่วมก่อตั้งสกุลเงิน Ripple และ Cryptocurrency Exchange : Mt.Gox
4
WANCHAIN (WAN)
Wanchain เป็นเหมือนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเงินแบบกระจายอำนาจ ที่จะเปิดโอกาสให้สามารถแลกเปลี่ยนทรัพย์สินที่มีมูลค่าแบบดิจิตอลได้ โดยจะสามารถส่ง digital assets เหล่านี้ระหว่างบล็อกเชนแต่ละบล็อกเชนได้และสร้าง framework สำหรับแอปพลิเคชันการเงิน
คล้ายๆกับที่ทุกคนสามารถส่งเงินจากหนึ่งธนาคารไปอีกธนาคารได้ Wanchain ตั้งเป้าไว้ว่าจะส่งคริปโตเคอเรนซี่จากหนึ่งบล็อกเชนไปอีกหนึ่งบล็อกเชนได้ ทำให้มีการพูดถึง Wanchain ว่าเปรียบเสมือน “ธนาคารแบบกระจายตัว” และ “กระเป๋าที่สามารถเก็บได้หลายๆสกุลเงิน”
5
นอกจากนี้ Wanchain แพลตฟอร์มมี การใช้งานที่หลากหลายมากมายนอกจากการรับ-ส่งคริปโตเคอเรนซี่ โดยสนับสนุนการสร้างแอป, สมาร์ท คอนแทรค และ ระบบการป้องกันการทำธุรกรรม
Wanchain เป็นเหรียญที่ fork จาก Ethereum และมีบล็อกเชนเป็นของตัวเอง โดยมีเหรียญชื่อ Wanchain เป็นเหรียญที่ใช้ในบล็อกเชนและเหรียญนี้ไม่ใช่เหรียญ ERC-20
3
OmiseGO (OMG)
ผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 438 ล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารได้ เนื่องจากระบบการชำระเงินระหว่างภูมิภาคที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ OmiseGo เป็น exchange ที่กระจายอำนาจ (พร้อมด้วย e-wallet) ที่ระบุถึงปัญหาด้านการประสานงานระหว่างการถ่ายโอนมูลค่าระหว่าง เงิน, สินทรัพย์ชนิดต่างๆ, การโอนระหว่างประเทศ และระหว่างบริษัทต่างๆ ด้วยระบบเครือข่ายของ OmiseGo ผู้คนสามารถทำธุรกรรมทางการเงินแบบเพียร์ทูเพียร์ (peer-to-peer) ตัวอย่างเช่น การชำระเงิน, การส่งเงิน, การจ่ายเงินเดือน หรือ โปรแกรมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Loyalty Program) เป็นต้น
9
OmiseGo เป็น บล็อคเชนบนแพล็ตฟอร์ม Ethereum ที่มีโปรโทคอลเป็นเอ็กเช้นจ์แบบกระจายอำนาจ (Decentralized Exchange) และแพล็ตฟอร์มการจ่ายเงิน (e-wallet) OmiseGo ทำงานผ่านขอบเขตอำนาจศาล (Jurisdiction) และองค์กรต่างๆ ,ผ่านเงินแบบธนบัตร (Fiat) และสกุลเงินที่การกระจายอำนาจ ดังนั้นแล้วเทคโนโลยีนี้สามารถช่วยให้ผู้คนสามารถรับส่งเงินและแลกเปลี่ยนเงินด้วยต้นทุนที่ถูกลง ไม่ว่าจะเป็นเงินแบบธนบัตร (fiat) หรือคริปโตเคอเรนซี่ก็ตาม
5
Litecoin (LTC)
เป็นเหรียญทางเลือก (Alt coin) เหรียญแรกๆ ที่แตกออกมาจาก Bitcoin ในปี 2011 ไลท์คอยน์เป็นเงินดิจิตอลแบบ Peer to Peer ที่ใช้เล่มบัญชีสาธารณะ (Public Ledger) บนบล็อคเชนแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Blockchain) ซึ่งสามารถใช้ทำธุรกรรมได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางทางการเงินทำให้ค่าธุรกรรมต่ำมากจนแทบจะเป็นศูนย์ และทำให้มีความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานที่สูงเช่นเดียวกับ Bitcoin แต่มีความแตกต่างทางเทคนิคเล็กน้อยตรงที่มีการปรับเปลี่ยนอัลกอริทึมการทำงานให้รวดเร็วขึ้น ไลท์คอยน์สามารถใช้งานได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์ มือถือ และ Wirex VISA Card โดยมีกระเป๋าเงิน (Wallet) ทั้งแบบ Hardware, Desktop, Web Wallet และ Mobile App
7
ZILLIQA (ZIL)
Zilliqa เป็นแพลตฟอร์ม blockchain กระจายศูนย์ที่ใช้ Smart Contract ที่มีชื่อว่า Scilla สำหรับธุรกิจและนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Blockchain ของตน ตัวย่อของ Zilliqa ที่ใช้ในการซื้อขาย คือ ZIL
7
STATUS (SNT)
SNT (Status Network Token) เป็นเหรียญบน Status ซึ่งเป็น App มือถือที่มีลักษณะเป็น Gateway ให้กับ D-App ERC-20 แอพอื่นๆ ที่ทำงานอยู่ในระบบของ Ethereum ในทำนองเดียวกับที่ Google Play/Apple Store ที่เป็น Gateway ให้กับ App ใน Android และ IOS นั่นเอง Status ยังมีแพล็ตฟอร์ม social media ที่พัฒนาอยู่บนเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer ซึ่งมีความเป็นส่วนตัวอย่างสมบูรณ์ ในปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงทดสอบและทดลองใช้ โดยแพล็ตฟอร์ม social media หรือการส่งข้อความของ Status จะเปิดให้ใช้งานได้ฟรีและสามารถปิดหรือเปิดโฆษณาที่ต้องการได้ด้วยการจ่าย SNT
7
Civic (CVC)
Civic เป็นโปรโตคอลตรวจสอบระบุตัวตนหรือบริการจัดการระบุตัวตนแบบกระจายศูนย์บน Blockchain ของ Ethereum ที่มีการป้องกันแบบเรียลไทม์และการร้องขอสิทธิ์ยืนยันตัวตนแบบดิจิตอล
เมื่อโดยปกติแล้วเมื่อทำการเปิดบัญชีธนาคาร, กระเป๋าเงินคริปโต, กู้ยืมเงินหรือใช้บริการใดๆ คุณจะต้องทำขั้นตอนการยืนยันที่เหมือนกันซ้ำแล้วซ้ำอีก นั่นก็คือ การส่งเอกสารพิสูจน์ตัวตน ซึ่งกระบวนการตรวจสอบอาจใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ขึ้นอยู่กับประเภทของบริการ
Civic เสนอวิธีแก้ไขปัญหานี้โดยแค่คุณใส่ข้อมูลประจำตัวลงในในเครือข่าย Civic เพียงครั้งเดียว ก็จะทำให้องค์กรต่างๆ สามารถตรวจสอบระบุตัวตนของคุณได้ใน Blockchain ได้โดยไม่จำเป็นต้องขอเอกสารเหล่านั้นอีก Civic เป็นเครื่องมือตรวจสอบระบุตัวตนที่สามารถโอนย้ายจากบริการหนึ่งไปยังอีกบริการหนึ่งได้
CVC เป็นตัวย่อในการเทรดของ Civic
4
CHAINLINK (LINK)
ข้อมูลที่ดึงผ่าน ChainLink ได้มีตั้งแต่ ข้อมูลการชำระเงิน เช่น จากธนาคาร, บัตร VISA, Paypal, ข้อมูลทางบัญชีจาก SAP, Saleforce จนไปถึงข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ New York (NYSE) และข้อมูลเศรษฐกิจจาก Bloomberg, ข้อมูลจาก HyperLedger และ Blockchain อื่นๆ หรือแม้กระทั่งข้อมูลสภาพอากาศหรือ GPS จากดาวเทียมก็ตาม
ตัวอย่างการใช้งานเช่น การใช้หลักทรัพย์ smart contact ที่ใช้ API ในการอ้างอิงดัชนีในตลาดหลักทรัพย์ เช่น อนุพันธ์คือ การเทรด Future หรือ ออพชั่นหุ้น ที่มีการจำกัด Gain หรือ Lost อย่างอัตโนมัติด้วย Smart Contract เป็นต้น หรือ พันธบัตรและหน่วยลงทุนที่จ่ายดอกเบี้ยผ่าน Smart Contract เป็นต้น
8
IOST
IOST เป็นระบบ blockchain ระดับองค์กรที่ให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต IOST มุ่งเน้น Blockchain as a Service เพื่อทำให้เกิดการใช้ Blockchain อย่างแพร่หลาย มีการใช้โปรโตคอล Node-to-Shard ในการกระจายการ Sharding อย่างมีประสิทธิภาพและใช้โปรโตคอลฉันทมติ Proof of Believability ซึ่งแตกต่างจากแพลตฟอร์ม blockchain อื่น ๆ
ปัญหาในด้านตลาด : ปัจจุบันโครงสร้างสถาปัตยกรรมของ blockchain กำลังเผชิญปัญหาด้านค่าใช้จ่ายที่สูง เวลาในการทำธุรกรรมที่นาน และ Throughput ที่ต่ำ แม้ว่าจะมีการประยุกต์วิธีแก้ปัญหาในระดับ 2nd Layer แต่ส่วนมากก็ยังไม่ถูกทดสอบและยังไม่ได้ Scalability ในระดับองค์กรอย่างเช่น Google หรือ Amazon จำเป็นต้องใช้
5
Band Protocol (BAND)
Band Protocol คือ Cross-chain Data Oracle ซึ่งทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างข้อมูลจากโลกแห่งความเป็นจริงเข้าไปในระบบบล็อกเชนหรือ Smart contract ทำงานบนระบบบล็อกเชนของตัวเองที่เรียกว่า Bandchain (มีพื้นฐานมาจาก Framework Cosmos SDK) เปิดระดมทุมเมื่อปี 2017 โดยมี CEO และผู้ร่วมก่อตั้งคือ คุณสรวิศ ศรีนวกุล (แมน) อายุ 28 ปี จบปริญญาตรีสาขาวิศวคอมพิวเตอร์ และปริญญาโทจาก Stanford University
4
Tezos (XTZ)
Tezos เป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่เชื่อมต่อกับเหรียญดิจิทัล สามารถเรียกว่า tez หรือ tezzie เครือข่ายบล็อกเชนนี้คล้ายๆกับ Ethereum, EOS และ NEO ที่สามารถทำ smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) และ Dapp (แอปพลิเคชั่นไร้ตัวกลาง) ได้เหมือนกัน ซึ่งวิธีการทำงานของ Tezos ไม่ใช่การขุดแบบ Bitcoin (Proof-of-Work) แต่เป็นระบบ Proof-of-Stake
ระบบดังกล่าวทำให้ Blockchain ของมันสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง โดยการตัดสินใจอำนาจต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับผู้ถือเหรียญ ทำให้การตัดสินใจทิศทางต้องทำผ่านการยื่นเสนอและการโหวตล้วน ๆ ซึ่งแปลว่าจะไม่มีการ Hard Fork เกิดขึ้นนั่นเอง
9
เมื่อนักพัฒนาใดก็ตาม ต้องการที่จะพัฒนาเครือข่าย เขาเพียงแค่เสนอคำร้องเข้าไป และให้ผู้ที่ถือโทเคนทุกคนทำการลงคะแนนเสียงว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการอัปเกรดนี้ ถ้าเห็นด้วยนักพัฒนาคนนั้นก็จะได้รางวัลไปจากบัญชีกลางของ Tezos ด้วยวิธีนี้และเครือข่ายก็จะนำข้อเสนอนั้นมาใช้งาน เครือข่ายก็จะสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้อย่างยั่งยืนและ Decentralized
นอกจากนี้ Tezos ยังใช้ระบบ Delegated Proof-of-stake หรือ DPoS เป็นกลไกในการที่ผู้ใช้ตัดสินใจอีกด้วย ซึ่ง DPoS นั้นคล้าย ๆ กับการขุดเหรียญทั่วไป (Proof-of-work) แต่มันต่างกันตรงที่เป็นการขุดแบบจำลอง (Virtual Mining) ทำให้มีประสิทธิภาพและไม่กินพลังงาน
1
BINANCE'S BNB TOKEN (BNB)
เหรียญ BNB นั้นเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงในในระบบของกระดานเทรดชื่อดังระดับโลก “Binance” หรืออีกนัยหนึ่ง BNB คือสกุลเงินดิจิทัลในห่วงโซ่ของ Binance นั่นเอง โดยเหรียญ BNB สามารถนำไปใช้ได้ดังนี้
สามารถใช้เหรียญ BNB ในการจ่ายค่าธรรมเนียมบนกระดานเทรดของ Binanace
สามารถใช้เหรียญในการแลกเปลี่ยนหรือซื้อ “โทเค็น” ที่จะมีการลิสต์ขายในกระดานเทรดของ Binance ได้
สามารถนำไปซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าต่างๆ ที่มีการรับชำระเป็นเหรียญ BNB ซึ่งมีอยู่มากมาย
ใช้เป็นค่าธรรมเนียมในกระดานเทรดของ Binance Decentralized Exchange
4
Power Ledger(POWR)
เป็นแพลตฟอร์มที่ต้องการปฏิวัติการอุตสาหกรรมพลังงาน Power ledger ที่คอยช่วยให้ผู้ตนสามารถขาย แลกเปลี่ยนพลังงานรวมถึงพลังงานทดแทน
เป็นระบบที่สร้างความสมดุลระหว่างการใช้พลังงานในตลาด และ ราคาของพลังงานต่อยูนิต (กิโลวัตต์) โดยการจ่ายเป็นโทเคนก่อนล่วงหน้า
ช่วยเพิ่มความโปร่งใสของการจัดการพลังงานของรัฐบาล ที่จะรักษาสมดุลของพลังงานทั่วโลก โดยการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค
7
XRP
XRP เป็นเงินและสินทรัพย์ดิจิตอลสำหรับการชำระเงินแบบ Peer-to-Peer บน Open-Source Blockchain ซึ่งใช้ Public Ledger (XRP Ledger) หลายคนอาจสับสนระหว่าง XRP และ Ripple ซึ่ง Ripple คือ เครือข่าย Private/Consortium Blockchain สำหรับการชำระเงินของสถาบันการเงินที่ใช้ XRP เป็นสกุลเงินตัวกลางหรือสะพาน (Bridge Currency) ในการทำธุรกรรมข้ามสกุลเงิน (รวมถึง Bitcoin ด้วย) โดยสรุปคือ Ripple และ XRP ใช้เทคโนโลยีเดียวกัน แต่ XRP ที่เทรดกันในตลาดนั้นไม่ได้ใช้ระบบเครือข่ายร่วมกับสถาบันการเงินที่ใช้หรือมี Ripple เป็นเจ้าของแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามแม้จะมีความพยายามเพิ่มจำนวน Validator เพื่อให้ XRP มีความเป็น Decentralized มากขึ้น แต่ธุรกรรมก็สามารถถูก Freeze ได้ที่ปลายทางเมื่อเงินที่โอนนั้นถูกแลกเปลี่ยนเป็นสกุลอื่นที่ไม่ใช่ XRP หากพบว่าธุรกรรมนั้นน่าสงสัย
4
0X (ZRX)
0x เป็นโปรโตคอลแบบเปิดซึ่งออกแบบมาเพื่อมอบการแลกเปลี่ยนแบบกระจายตัวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ blockchain Ethereum
โปรโตคอลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกฎการสื่อสารที่ใช้โดยสองฝ่ายหรือมากกว่าในการติดต่อสื่อสารกันและกัน เกี่ยวกับโพรโทคอล 0x จะใช้รูปแบบข้อความที่อนุญาตให้ผู้ใช้สองคน (maker และ taker) แลกเหรียญโดยตรงระหว่างกันแทนการใช้บุคคลที่สามเช่นการแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์เพื่อจัดการกับธุรกรรมของตน
3
Cardano (ADA)
Cardano คือ แพลตฟอร์มสมาร์ทคอนแทรคท์ที่ถูกสร้างขึ้นในปี 2015 เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงและพัฒนา Cryptocurrency ให้มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม
ทางผู้พัฒนากล่าวว่า Cardano เป็นบล็อกเชนเจเนอเรชันที่ 3 ที่ระบุและแก้ไขปัญหาหลักๆ ที่เกิดขึ้นในบล็อกเชนยุคก่อนๆ ซึ่งประกอบไปด้วย ความสามารถในการเพิ่มขยาย (Scalability), ความสามารถในการทำงานร่วมกัน (Interoperability) และ ความยั่งยืน (Sustainability) ผ่านสถาปัตยกรรมแบบเป็นลำดับชั้น (layered architecture)
โดยปกติแล้ว White paper ทั่วไปจะประกอบไปด้วยโค้ด (Code) เป็นหลัก
10
ซึ่งจะแตกต่างจากของ Cardano ตรงที่มันจะประกอบไปด้วย แนวคิดของหลักการดีไซน์, การดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ เปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้ ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็น Cryptocurrency ตัวแรกๆเลยที่สร้างขึ้นมาจากแนวคิดปรัชญาที่อิงหลักการทางวิทยาศาสตร์และประกอบไปด้วยงานวิจัยทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายเข้าด้วยกัน ด้วยเหตุนี้เอง ทีมงานผู้พัฒนา Cardano จึงมั่นใจได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายวิจัยหรือวิศวกรรมจะได้อ่าน ทบทวน และมีความเห็นที่ตรงกันต่อผลลัพธ์ที่สามารถเป็นไปได้
7
Bitcoin Cash (BCH)
Bitcoin Cash เกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2560 ซึ่งเป็นผลมาจากการ hard fork ของ Bitcoin ซึ่งทำให้เกิดบล็อกเชนและสกุลเงินคริปโตตัวใหม่ขึ้นมา แล้วทำไมถึงต้องมีการ hard fork และอะไรที่เป็นจุดด้อยของ Bitcoin
ในช่วงแรกๆ การทำงานของ Bitcoin นั้นค่อนข้างที่จะเร็วเพราะยังไม่มีการทำธุรกรรมที่มากนัก แต่ในขณะที่มันได้รับความนิยมมากขึ้นการทำงานก็ช้าลงเนื่องจากขนาดของบล็อกที่จำกัดไว้ที่ 1MB ในปี 2560 เกิดเหตุการณ์ที่คนใช้งานต้องรอนานถึง 3 วันในการตรวจสอบการโอนถ่าย Bitcoin วิธีหนึ่งที่จะทำให้การโอนเร็วขึ้นคือจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนมากขึ้นแต่นั้นก็เป็นการขัดต่อจุดประสงค์ที่ทำให้มีเหรียญนี้ตั้งแต่แรก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการซื้อกาแฟในราคา 4 ดอลลาร์แต่คุณกลับต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการโอนถึง 16 ดอลลาร์
3
ซึ่งผู้ใช้ยอมรับไม่ได้แน่นอน จึงมีการเสนอทางออก 2 ข้อซึ่งก็คือ Bitcoin Unlimited และ Segregated Witness (SegWit)
ผู้เสนอ Bitcoin Unlimited เสนอว่าให้ยกเลิกการจำกัดขนาดของบล็อกโดยมีนักขุดเป็นผู้สนับสนุนหลักเนื่องจากเงินโดยรวมที่นักขุดได้จะเพิ่มขึ้นในทุกๆบล็อก แต่ปัญหาหนึ่งของข้อเสนอนี้คือนักขุดรายใหญ่สามารถรวมพลังการขุดกันซึ่งอาจทำให้เครือข่ายนี้ตกเป็นของบริษัทขุดยักษ์ใหญ่
1
วิธี SegWit มีแนวคิดหลักที่ว่าข้อมูลทุกอย่างไม่จำเป็นต้องถูกเก็บในบล็อกเชนโดยบางอย่างสามารถเก็บไว้ในไฟล์แยกได้ Bitcoin Cash ใช้การผสมทั้ง 2 แนวคิดโดยเพิ่มขนาดบล็อกเป็น 8MB และเก็บข้อมูลบางส่วนไว้นอกบล็อกเชน ซึ่งภายหลังการแยกตัวทุกคนที่ถือ Bitcoin ณ ตอนนั้นได้รับเหรียญ Bitcoin Cash เท่ากับจำนวนของ Bitcoin ที่ถืออยู่และข้อมูลก็ถูกบันทึกลงในบล็อกเชนของ Bitcoin Cash เหตุผลที่เป็นแบบนี้ก็เพื่อที่จะรักษามูลค่าของ Bitcoin Cash ในช่วงการเปลี่ยนแปลงขณะที่เปิดตัว Bitcoin Cash คริปโตเคอเรนซี่
5
Tether (USDT)
USDT หรือ United States Dollar Tether เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ “ผูก” กับดอลลาร์สหรัฐฯ บริษัท Tether ระบุว่า 1 USDT มีมูลค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ Tether ถูกจัดกลุ่มเป็นคริปโตเคอเรนซี่ประเภทใหม่ เรียกว่า "Stablecoins" ซึ่ง Stablecoins ถูกสร้างขึ้นเพื่อลดช่องว่างระหว่างสกุลเงิน fiat และ สกุลเงินดิจิทัล โดยการนำเสนอราคาที่คงที่ และเทียบเท่ากับเหรียญหรือโทเค็น
4
Kyber Network (KNC)
Kyber network เป็นโปรโตคอลสภาพคล่องแบบบนลูกโซ่ (On-chain liquidity protocol) ที่เทคโนโลยีเล่มบัญชีแบบแพร่กระจายอย่าง Blockchain, Tangle และอื่นๆ สามารถนำไปใช้ในแพลตฟอร์มของตนได้ ตัวย่อที่ใช้ในการเทรดของ Kyber network คือ KNC
4
#cryptocurrency #crypto #cryptonews #bitcoin #bitcoinmining #bitcointrading #btc #xrp #Dogecoin #doge #cryptocurrencies #bitcoincash #บิทคอยน์
2
โฆษณา