11 มี.ค. 2021 เวลา 02:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เรื่องราวของ Linda Liukas โปรแกรมเมอร์สาวชาวฟินแลนด์ที่ได้ระดมทุนจาก Kickstarter เพื่อทำหนังสือที่มีชื่อว่า "Hello Ruby" ชื่อหนังสืออาจจะทำให้ผู้ใหญ่เมิน แต่ถ้าได้รู้ถึงเนื้อหาข้างในแล้วอาจจะต้องหันกลับ เพราะหนังสือเล่มนี้พูดถึงพื้นฐานการเขียนโปรแกรมที่แม้แต่เด็ก 4 ขวบก็สามารถเรียนได้
.
17
โปรแกรมกับคอมพิวเตอร์เป็นของคู่กัน สมมติถ้าเราต้องฝึกทักษะการเขียนโปรแกรม ก็เป็นเรื่องปกติที่เราจะต้องเปิดคอมฯแล้วลงมือทำ แต่เด็กที่ฟินแลนด์สามารถเรียนการเขียนโปรแกรมได้โดยไม่ต้องใช้คอมฯซักเครื่อง แค่หนังสือเล่มเดียวก็สามารถเข้าสู่โลกการเขียนโปรแกรมได้แล้ว
.
15
วันที่ 23 มกราคม 2014 Linda Liukas โปรแกรมเมอร์สาวชาวฟินแลนด์ได้ระดมทุนจาก Kickstarter เพื่อทำหนังสือที่มีชื่อว่า "Hello Ruby" ชื่อหนังสืออาจจะทำให้ผู้ใหญ่เมิน แต่ถ้าได้รู้ถึงเนื้อหาข้างในแล้วอาจจะต้องหันกลับ เพราะหนังสือเล่มนี้พูดถึงพื้นฐานการเขียนโปรแกรมที่แม้แต่เด็ก 4 ขวบก็สามารถเรียนได้
7
Liukas ต้องการระดมเงิน $10,000 เพื่อเริ่มโปรเจ็คนี้ แต่ผ่านไปเพียงวันเดียวกลับมีเงินเข้ามาถึง $100,000 และเข้ามาเรื่อยๆ จนวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2014 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดการระดมทุน เธอสามารถระดมทุนได้ถึง $380,747
6
Hello Ruby เป็นหนังสือภาพที่วาดโดย Liukas เหมาะสำหรับเด็กอายุ 4-7 ขวบ หนังสือเล่มนี้พูดถึงการผจญภัยของสาวน้อยมากจินตนาการที่ชื่อว่า Ruby ในการผจญภัย เธอจะได้เรียนรู้ถึงพลังและความน่าอัศจรรย์ของสิ่งที่โปรแกรมสามารถทำได้ เธอจะได้พบกับเพื่อนๆอย่าง หุ่นแอนดรอยด์ช่างพูด เสือดาวหิมะ จิ้งจอกผู้รักสนุก เพนกวินผู้ชาญฉลาด
7
Hello Ruby ไม่ได้มีแต่เนื้อหาให้อ่านเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีแบบฝึกหัดให้เด็กๆได้ฝึกทำ อย่างเรื่อง "การทำงานของคอมพิวเตอร์" เด็กๆก็สามารถเรียนรู้การประกอบคอมพิวเตอร์ได้โดยตัดชิ้นส่วนที่ทำจากกระดาษแล้วแปะลงไปให้ถูกที่ หรือในการเรียนเรื่องคำสั่งวนลูปที่พูดถึงการทำงานแบบวนซ้ำตามเงื่อนไขที่กำหนด เด็กๆก็เรียนรู้โดยการทำท่าทางตามที่ครูกำหนด เช่น ตบมือ-ตบมือ- กระทืบเท้า-กระทืบเท้า-กระโดด! แม้แต่การถักนิตติ้งในชั่วโมงศิลปะก็เรียนเรื่องคำสั่งวนลูปได้ เพราะใช้หลักการเดียวกัน
17
ถ้าถักแบบเดิม ก็ได้ผลลัพธ์เหมือนเดิม แต่ถ้าเปลี่ยนวิธี ผลลัพธ์ก็เปลี่ยนไป
3
"ฉันบอกให้เด็กๆสร้างคอมพิวเตอร์จากกระดาษ หรือออกแบบแอพลิเคชั่นโดยใช้มือทั้งสองข้าง เทคโนโลยีมันเป็นเรื่องของจินตนาการ" Liukas กล่าว
1
Hello Ruby ของ Liukas สามารถกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้การเขียนโปรแกรมตั้งแต่อายุน้อยตามแนวทางที่รัฐบาลฟินแลนด์อยากให้เป็น แต่จริงๆแล้วโปรเจ็คนี้ก็เกิดขึ้นโดยบังเอิญ จุดเริ่มต้นของความบังเอิญก็มาจากชายที่ชื่อว่า Al Gore
2
ย้อนกลับไปปี 2001 ในช่วงที่ Liukas อายุ 13 ปี ในช่วงนั้นเธอติดตามการเมืองสหรัฐอเมริกาอย่างใกล้ชิด นั่นก็เพราะเธอตกหลุมรักชายที่ชื่อว่า Al Gore ผู้ซึ่งเป็นอดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐ เธอตกหลุมรักขั้นหนัก เธอพยายามเรียกร้องความสนใจจาก Gore ด้วยความคิดสร้างสรรค์และความปรารถนาอย่างแรงกล้า และดูเหมือนเธอจะมีหัวทางด้านการเขียนโปรแกรม เธอจึงลองสร้างเว็บไซต์ที่พูดถึงตัว Gore ล้วนๆ เธอค้นคว้าและเขียนทุกอย่างเกี่ยวกับ Gore เธอศึกษาด้วยตัวเอง ค่อยๆพัฒนาฝีมือ จนในที่สุดเธอก็สามารถสร้างเว็บไซต์สำหรับฮีโร่ของเธอได้สำเร็จ
7
แต่น่าเสียดายที่เขาไม่สังเกตเห็น...
1
หลังจากนั้นเธอเว้นว่างจากการเขียนโปรแกรมไปร่วม 10 ปีและหันไปศึกษาปรัชญา ธุรกิจ วิศวกรรม ฯ แต่การเขียนโปรแกรมยังอยู่ในใจเธอตลอดมา จนเธออายุ 23 ปี Aalto University เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ไปศึกษาที่ Stanford University เป็นเวลาหนึ่งปี Liukas จึงตัดสินใจไปเรียนเรื่องออกแบบผลิตภัณฑ์
3
ที่นั่นเธอได้กลับมาเรียนเรื่องการเขียนโปรแกรมอีกครั้ง และเธอได้พบกับภาษา Ruby ที่ทำให้เส้นทางอาชีพของเธอเปลี่ยนไป เธอศึกษาเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์อย่าง tryruby.org และ codeacademy.com เธออ่านหนังสือเป็นตั้งๆ เธอค้นพบว่าเธอรักการเขียนโปรแกรมและอยากให้คนอื่นได้รู้ถึงความยอดเยี่ยมของมัน เธอจึงตัดสินใจร่วมกับเพื่อนตั้ง Rail Girls ขึ้นมา
5
"เมื่อฉันกลับมาเขียนโปรแกรม ฉันรู้สึกได้ถึงความตื่นเต้นและความสุขเหมือนตอนที่เขียนเว็บไซต์ครั้งแรก และที่สร้าง Rail Girls ขึ้นมาก็เพราะอยากที่จะแบ่งความสุขนั้นให้ผู้คนทั้งหลาย" Liukas กล่าว
5
Rail Girls มีเป้าหมายที่จะจัดหาเครื่องมือและเป็นแหล่งชุมชนสำหรับผู้หญิงในการเรียนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี เธอคิดว่าการเขียนโปรแกรมไม่ใช่สิ่งที่ผู้ชายเท่านั้นที่ทำได้ ผู้หญิงทั้งหลายก็มีจินตนาการที่กว้างไกล ถ้านำจินตนาการเหล่านั้นมาใช้ จะสร้างประโยชน์ได้มหาศาล
4
ปัจจุบัน Rail Girls ไม่ได้มีแค่ที่ฟินแลนด์เท่านั้น แต่มันขยายตัวไปหลายประเทศเช่น อิสราเอล เยอรมนี อเมริกา ฯลฯ จากผู้หญิง เธอเริ่มคิดขยายที่จะไปสอนกลุ่มอื่นที่มีจินตนาการไม่แพ้กัน นั่นก็คือ เด็ก
1
สำหรับการสอนเด็ก เธอคิดไว้แล้วว่าการสอนนั้นต้องไม่เหมือนวิธีที่บริษัททั้งหลายใช้ อย่างการให้เด็กเรียนผ่านวีดิโอเกมหรือหุ่นยนต์ แต่เธอต้องการที่จะสอนเด็กโดยผ่านตัวอักษร "ฉันคิดว่าพลังของการเล่าเรื่องนั้นถูกมองข้ามไป เราอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยแอพลิเคชั่นที่ทำให้เด็กต้องอยู่หน้าจอและพอกดปุ่มนู่นนี่ก็มีอะไรออกมา"
2
Mari-Liis Lind ผู้ฝึกสอนที่ Rail Girls กล่าวว่า "การสอนเรื่องการเขียนโปรแกรมกับเด็กโดยใช้วิธีการเล่าเรื่องเป็นวิธีที่ถูกต้อง เด็กทุกคนชอบเรื่องราว เรื่องที่ดีจะทำให้เด็กสนใจ และเด็กที่สนใจก็คือเด็กที่กำลังเรียนรู้กับเรา"
1
เรื่องราวที่จะนำมาเล่าให้เด็กฟังก็มาจากช่วงที่ Liukas เรียนภาษา Ruby เป็นเรื่องปกติที่เธอไม่เข้าใจทั้งหมด แต่วิธีแก้ของเธอก็ดูแปลกกว่าคนทั่วไป ทุกครั้งที่เธอไม่เข้าใจ เธอจะไม่คิดว่า Ruby คือภาษาคอมพิวเตอร์ แต่เธอจะเปลี่ยน Ruby ให้มีตัวตนเป็นคนและเธอจะถามกับตัวเองว่า "Ruby จะอธิบายเรื่องนี้กับฉันยังไง"
2
Liukas ไม่หยุดแค่นั้น เธอเริ่มวาด Ruby ให้มีตัวตนชัดกว่าเดิม Ruby กลายเป็นเด็กสาวผมแดงที่มีความอยากรู้อยากเห็น เธอกำลังผจญภัยเพื่อตามหาอัญมณี Liukas วาดไปเรื่อยๆเพื่อสนุกไปกับการเรียนรู้ของเธอ แต่บังเอิญเพื่อนของเธอเห็นเข้าจึงถามว่า ทำไมไม่ลองทำเป็นหนังสือล่ะ
2
ตอนนี้เอง Hello Ruby จึงได้กำเนิดขึ้นมา
"หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวของ Linda อย่างแท้จริง ทุกอย่างในหนังสือสะท้อนถึงเส้นทางการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมของเธอ" Mari-Liis Lind กล่าว
Liukas ไม่ได้สร้าง Hello Ruby ที่ให้เด็กๆเท่านั้นได้เรียนรู้ แต่เธอยังสร้างคู่มือให้กับพ่อแม่เพื่อที่เรียนรู้ไปกับลูกๆของพวกเขา ปัจจุบันเธอทำงานร่วมกับครูในฟินแลนด์และกลุ่ม Early Adopters (กลุ่มหัวก้าวหน้า) ในสหรัฐอเมริกา และปี 2018 เธอยังเป็นหนึ่งบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ใน 50 ผู้หญิงยอดเยี่ยมของวงการ Tech อีกด้วย
4
ตอนนี้บางที Al Gore ก็น่าจะสังเกตเห็นเธอบ้างแล้ว
3
บทความนี้เป็น Guest Post โดย คุณชาญณรงค์ จันทร์โส
หนังสือ Hello Ruby ผจญภัยไปกับ Coding มีฉบับแปลภาษาไทยแล้ว! สำหรับใครที่สนใจสามารถเข้าไปสั่งซื้อได้ที่นี่ https://bit.ly/3rsnMGu
4
โฆษณา