10 มี.ค. 2021 เวลา 14:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ
🇰🇭🇹🇭ทำไมเครื่องบินบินผ่านน่าฟ้ากัมพูชา แต่รายได้เป็นของไทย?
บนท้องฟ้าที่กว่างใหญ่นั้น จริงๆแล้วก็มีถนนเช่นกัน เพื่อเป็นการจัดการเส้นทางบินของเครื่องบินนับพันๆลำที่เดินในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด ต้องมีหน่วยงานในการจัดการจราจรดังกล่าวที่เรารู้จักกันในชื่อ “การจัดการจราจรทางอากาศ” หรือ Air Traffic Control - ATC นั่นเอง
1
ในประเทศไทยนั้น มีหน่วยงานที่เรารู้จักกันดีเป็นผู้ดูแล นั่นคือ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด หรือ AEROTHAI นั่นเอง โดยเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม สำหรับในประเทศอื่นๆก็จะมีหลากหลายรูปแบบการบริหารงานกันไป ทั้งเป็นหน่วยงานของรัฐ รวมถึงหน่วยงานเอกชน ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะมีรายได้จากค่าบริการจัดการจราจรทางอากาศ ทั้งการบินมาลงจอดและการบินผ่าน ที่จะมีค่าบริการผ่านน่านฟ้านั่นเอง
2
สำหรับประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างกัมพูชา ถือว่าเป็นประเทศที่มีชัยภูมิที่ตั้งที่ดีเพราะตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออกของประเทศไทย เครื่องบินที่จะทำการบินเข้าและออกจากกรุงเทพไปยังทิศตะวันออกก็มักจะต้องบินผ่านน่านฟ้าของประเทศกัมพูชา รวมถึงเที่ยวบินจากประเทศทางซีกโลกใต้ที่จะบินขึ้นเหนือไปยังซีกโลกเหนือ เช่นกลุ่มเมืองทางตะวันออกในประเทศจีน เป็นต้น ทำให้กัมพูชาถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีรายได้จากค่าผ่านน่านฟ้าเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ค่าบริการจากการขึ้น-ลงของเครื่องบินทั้งเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศก็ถือว่าเป็นอีกทางที่สร้างรายได้ได้อย่างดี โดยเฉพาะเที่ยวบินต่างประเทศสู่จุดหมายสำหรับการท่องเที่ยวระดับโลกอย่างเสียมเรียบ
สำหรับหน่วยงานที่บริหารจัดการจราจรทางอากาศของประเทศกัมพูชาคือ บริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จํากัด หรือ CATS ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2544 ประกอบธุรกิจดําเนินการจัดตั้งระบบและให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศในประเทศกัมพูชาทุกสนามบินแต่เพียงผู้เดียวตามสัญญาสัมปทานที่ได้รับจากรัฐบาลประเทศกัมพูชาจนถึงปี 2584 โดยปัจจุบันเป็นผู้ให้บริการบริหารจัดการจราจรทางอากาศ (Air Navigation Service Provider : ANSP) ให้กับท่าอากาศยานทุกแห่งในกัมพูชา ซึ่งประกอบไปด้วย
1
- ท่าอากาศยานพนมเปญ (Phnom Penh International Airport)
- ท่าอากาศยานเสียมเรียบ (Siem Reap International Airport)
- ท่าอากาศยานนานาชาติสีหนุ (Sihanouk International Airport)
- ท่าอากาศยานพระตะบอง (Battambang Airport)
- ท่าอากาศยานเกาะกง (Koh Kong Airport)
- ท่าอากาศยานสตึงเตรง (Stung Treng Airport)
1
ท่าอากาศยานเสียบเรียบ
ทั้งนี้ยังบริหารจัดการอาณาเขตแถลงข่าวการบินพนมเปญ (Phnom Penh Flight Information Region : Phnom Penh FIR) สำหรับเครื่องบินที่ทำการบินผ่านน่าฟ้านั่นเอง
เขตแถลงข่าวการบินหรือ FIR ของประเทศต่างๆ
โดย CATS มีรายได้หลักมาจาก 3 ช่องทางดังนี้
1. รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้น-ลงในประเทศ (Landing & Take-off : Domestic) มีสัดส่วนรายได้คิดเป็นประมาณ 5% คิดเป็นประมาณ 96 ล้านบาทต่อปี (2561)
2. รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้น-ลงระหว่างประเทศ (Landing & Take-off : International) มีสัดส่วนรายได้คิดเป็นประมาณร้อยละ 45% คิดเป็นประมาณ 845 ล้านบาทต่อปี (2561)
3. รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินผ่านเขตน่านฟ้ากัมพูชา (Overflight) มีสัดส่วนรายได้คิดเป็นประมาณร้อยละ 50% คิดเป็นประมาณ 987 ล้านบาทต่อปี (2561)
รวมรายได้ในปี 2561 เท่ากับ 1,930 ล้านบาท
📌ทำไมรายได้เป็นของไทย?
จากที่เกริ่นไว้ข้างต้น ที่ว่าทำไมเครื่องบินบินผ่านน่าฟ้ากัมพูชา แต่รายได้เป็นของไทย? นั่นเป็นเพราะปัจจุบัน CATS เป็นเจ้าของในสัดส่วน 100% โดย บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติไทยนั่นเอง โดยในปัจจุบัน บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) มีโครงสร้างการถือหุ้นดังนี้
บริษัท สามารถ ยู-ทรานส์ จำกัด 66.67%
บริษัท สามารถ อินเตอร์ โฮลดิ้ง จำกัด 33.33%
โดยทั้งสองบริษัทข้างต้น ถือหุ้นในสัดส่วน 100% โดย บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
3
📌ต้องแบ่งรายได้ให้ทางการกัมพูชาเยอะแค่ไหน?
หน่วยงานที่กำกับดูแลกิจการการบินพลเรือนของกัมพูชานั่นคือ สำนักเลขาธิการการบินพลเรือนกัมพูชา (The State Secretariat of Civil Aviation of Cambodia) หรือ SSCA เปรียบได้กับ สำนักงานการบินพลเรือนของไทย โดยตามสัมปทานที่รัฐบาลกัมพูชามีกับ CATS นั้น CATS จะต้องแบ่งรายได้ให้กับ SSCA ตามสัดส่วนดังนี้
- รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้น-ลง ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ แบ่งให้ SSCA 50% ของรายได้
- รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินผ่านเขตน่านฟ้ากัมพูชา แบ่งให้ SSCA แบ่งให้ SSCA 40% ของรายได้ (30% ในปีที่ 1-15 แต่ได้ครบกำหนดไปแล้ว)
ทั้งนี้ ปัจจุบัน บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) อยู่ในรายชื่อบริษัทที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือ IPO โดยมีการยื่นเสนอขายหุ้นสามัญจำนวนไม่เกิน 224,000,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 35% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วหลัง IPO แต่ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมถึงกำหนดเวลาเสนอขายแต่อย่างใด
🗂ข้อมูลจาก : หนังสือชี้ชวนตราสารทุนของ บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน), สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1
โฆษณา