11 มี.ค. 2021 เวลา 15:51 • การศึกษา
สวัสดีจ้าา หลังจากที่ลงแต่เนื้อหาที่เป็นการสอนแบบทั่วๆไปเป็นหลักมาสักพัก เรารู้สึกว่าเพื่อนๆบางคนอาจยังไม่เข้าใจ วันนี้เลยอยากลองเปลี่ยนวิธีสอนโดยใช้การเล่าเรื่องเพื่อให้ทุกคนเข้าใจมากยิ่งขึ้น ถ้าชอบหรือไม่ชอบบอกกันได้เลยนะะ ><
สำหรับเรื่องราวในวันนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับกริยาแท้ (Finite verb) และกริยาไม่แท้ (Non-finite verb) ซึ่งจะพูดถึงฝาแฝดที่มีหน้าตาคล้ายคลึงกัน แต่มีหน้าที่การงานและการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
แฝดคนพี่มีชื่อว่า Finite verb ทำอาชีพเป็นเลขานุการที่ต้องเจอกับเจ้านายหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเจ้านายสามสี่คน เจ้านายคนเดียว แถมบางครั้งยังต้องนั่งไทม์แมชชีนไปท่องเที่ยวกับเจ้านายในยุคอดีต ปัจจุบันและอนาคต แต่ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ปัญหาสำหรับเขา เพราะ Finite verb เป็นคนที่ปรับตัวเข้าได้กับทุกสถานการณ์ตามแนวคิดแบบ “เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม”
ในขณะที่แฝดคนน้องชื่อ Non-finite verb ใช้ชีวิตแบบตามใจตัวเองโดยทำอาชีพเป็น
นักแสดง หน้าที่ในกองถ่ายของเขามีหลักๆ 3 ส่วน คือ เป็นตัวละครหลักและตัวละครรอง เป็นผู้ช่วยของตัวละครหลัก และเป็นตัวของตัวเองไม่เอนเอียงตาม
จากที่ได้เล่าเรื่องให้ฟัง ทุกคนจะเห็นว่าฝาแฝดคู่นี้มีความต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งความต่างในหน้าที่ก็สามารถนำมาสรุปเป็นหน้าที่ตามหลักแกรมม่าได้ประมาณนี้ Finite verb ส่วนใหญ่จะผันตามประธานและ Tense ต่างๆ เสมอ
ในขณะที่ Non-Finite verb จะไม่ผันตามประธาน หรือ Tense แต่จะคงรูปเดิมของ Verb ช่องที่ 1 ไว้ นอกจากนี้ Non-finite verb ยังมีทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ verb infinitive, Gerund และ Past participle ซึ่งแต่ละตัวก็จะมีบทบาทที่แตกต่างกันดังนี้
1. Verb Infinitive เป็นคำกริยาที่ไม่ผันตามประธานตัวไหนทั้งสิ้น และจะอยู่ในรูปปกติ หรือ verb ช่องที่ 1 เช่น eat, go, play etc. สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ infinitive with to และ Infinitive without to
1.1 การใช้ infinitive with to จะใช้ก็ต่อเมื่อกริยานั้นตามหลัง verb ที่ต้องมีกรรมมารองรับ เช่น want, decide, agree etc. แต่ถ้าให้พูดง่ายๆ ก็คือ “To” จะใช้เพื่อคั่นกลางระหว่าง verb สองตัว เช่น He decides to cook for dinner rather than going to restaurant. ถ้าเราแปลง่ายๆ ก็คือ เขาต้องการที่จะทำอาหารมากกว่าการออกไปที่ร้านอาหาร ซึ่งหากเราตัดประโยคหลัง Decide ออกเราก็จะไม่เข้าใจว่าเขาตัดสินใจอะไร ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีประโยคหลังไว้
1.2 การใช้ infinitive without to มักจะใช้คู่กับกริยาที่บ่งบอกถึงความรู้สึก (linking verb) เช่น see, saw ,taste , smell, become, turn, appear, feel, look และใช้คู่กับกริยาพิเศษ หรือ Modal verb เช่น may, might, can, could, will, would, shall, should, must
Ex: She must pass the final test.
Ex: I saw him walk across the road.
2. Gerund คือการนำ verb มาทำเป็นคำนามโดยเติม ing อาจจะเป็นประธาน หรือ กรรมของประโยคก็ได้
Ex: Sleeping is necessary for health. (“การนอน” เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพ ซึ่ง Sleeping ในที่นี้ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)
Ex: Swimming is a good exercise. (การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดี)
Ex: I am interested in running. (ฉันกำลังรู้สึกสนใจ”การวิ่ง” โดย running ในที่นี้ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค)
3. Participle: ทำหน้าที่เหมือนคำคุณศัพท์หรือ Adjective แบ่งได้ 2 ประเภท
3.1 Present participle(-ing): ขยายคำนามที่เป็นผู้กระทำ
Ex: Those running dogs are mine.
3.2 Past participle(-ed / v.3): ขยายคำนามที่เป็นผู้ถูกกระทำ
Ex: The stolen car has been found.
โฆษณา