13 มี.ค. 2021 เวลา 03:56 • การตลาด
Maslow’s Heirarchy of Needs ลำดับขั้นยิ่งสูง
ราคายิ่งแพง
ขอท้าวความนิดส์นึง Need ประกอบไปด้วยสามเหลี่ยม Maslow ซึ่งประกอบด้วย
1. ความต้องการขั้นพื้นฐานหรือด้านกายภาพ (Physiological Needs) : ปัจจัย 4 ด้านกายภาพได้แก่ น้ำ อาหาร ที่อยู่อาศัย การหายใจ การนอนหลับ เซ็กส์ การขับถ่าย
2. ความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) : ความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน การงาน สุขภาพ
3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and Love Need) : การมีครอบครัวเพื่อน ความใกล้ชิด ความรัก
4. ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียงและความภาคภูมิใจ (Self- Esteem Need) : ความอิสระ ความมั่นใจ ต้องการเป็นที่ยอมรับ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ความสำเร็จ
5. ความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต (Self-Actualization Needs) : การแก้ไขปัญหาสิ่งต่างๆ ได้ดี การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ การเติมเต็มความฝัน การมีศีลธรรม การแบ่งปัน เพื่อให้ชีวิตและโลกดีขึ้น
ถ้าสินค้าขายได้แค่ 2 ขั้นแรก ราคาสินค้าก็จะ “ถูก”
ถามว่า... สินค้าของเราตอบสนองต่อคนทุกระดับขั้นหรือเปล่า? ถ้าตอบสนองไม่กี่ลำดับขั้นก็จะขายได้ราคานึง แต่ถ้าครบทุกระดับขั้น สินค้าจะขายได้อีกราคานึง เช่น
มาม่า กินเพราะถูก ต้องประหยัด กินเพื่อให้ชีวิตอยู่รอดไปวันๆ มันก็จะได้ราคานึง
กระเพราไก่ไข่ดาว ดูปลอดภัยขึ้นมาหน่อย มีสารอาหารครบถ้วน ไม่มีผงชูรส ก็จะขายได้อีกราคานึง
ซูชิ กินแล้วเข้าสังคมได้ ก็จะขายได้อีกราคานึง
กุ้งล็อบสเตอร์ ถ่ายรูปได้ อวดเพื่อนได้ ก็จะขายได้อีกราคานึง ...แม้แต่ไข่ปลาคาเวียร์กระป๋องตั้งสามแสนบาท มันสะท้อนถึงระดับขั้นอะไร?
Image : Monstermom.net
ลำดับขั้นยิ่งสูง ราคาก็ยิ่งสูง!
นี่คือสิ่งที่แตกต่าง เราทำสินค้าของเรา มันตอบโจทย์ มันไปแก้ปัญหาทางกายภาพ หรือแก้ปัญหาทางจิตใจให้กับผู้คนได้ด้วย
มนุษย์ไม่เคยซื้อสินค้าด้วยเหตุผล ซื้อสินค้าเพราะอารมณ์ความรู้สึก แล้วหาเหตุผลมา Support ทำไมถึงกิน Starbucks เราอยากกินเพราะกาแฟอร่อย ตกแต่งร้านสวย และเขายังสนับสนุนเกษตรกรแค่นั้นหรือเปล่า จริงๆ แล้วที่กินเพราะต้องการให้ตัวเองดูดีมากกว่า
เราขายอารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ เราไม่ได้ขายสินค้า สินค้าเป็นแค่สัญลักษณ์ แค่หนึ่งในประสบการณ์เท่านั้น
เรื่องการตลาด “ความเชื่อสำคัญกว่าความจริง” ราคาถูกหรือแพงไม่มีอยู่จริง ถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับมุมมองของลูกค้า ที่เราสร้างคุณค่าเรื่องการตลาดทุกบริบท สร้างองค์รวมของสินค้าให้มี Value
การตั้งราคาสินค้า ตั้งไว้ที่ 1,000 บาท ต้องสร้างมูลค่าให้สินค้าที่ลูกค้ารู้สึกว่า สินค้าของเรานั้นมีราคามากกว่า 1,500 - 2,000 ลูกค้าจะรู้สึกว่าถูก!
สมมุติผมขายซูชิราคาคำละ 40 บาท แพงกว่าแบรนด์ดังในห้างฯ ผมก็ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ซูชิคำนั้นมันน่าจะราคา 80 บาท ถ้าเขารู้สึกว่าซูชิคำนั้นราคา 80 บาท มันก็จะราคาถูกในมุมมองของเขา
แต่คนส่วนใหญ่มักจะทำแบบนี้ เราตั้งราคาสินค้าหนึ่งอัน ลูกค้าอยากซื้อที่ 500 บาท ใช้วิธีการค่อยๆ ลดราคา จนเท่ากับราคาที่เขาอยากซื้อ ถ้าทำแบบนี้ ไม่ต้องมีนักการตลาดก็ได้ ใครๆ เขาก็ลดราคาลง
แต่หน้าที่ของเราคือ ทำอย่างไรก็ได้ให้เขารู้สึกว่า ถ้าเราอยากขายสินค้า 1,000 บาท ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า สินค้านั้นมีมูลค่าถึง 1,500 - 2,000 บาท แต่ขาย 1,000 บาท คุณต้องไปเพิ่มมูลค่าในหัว ในใจของลูกค้า สิ่งนี้เรียกว่าการสร้าง Noise ทุกสิ่งมี Noise ทุกบริบทของการตลาดมี Noise ทุกประสบการณ์มี Noise มีเสียงเล็กๆ ในหัว ทุกเสียงประกอบกันในหัวจนเกิดเสียงที่ใหญ่มากพอที่จะเกิดความเชื่อมั่นของลูกค้าว่า คุ้มค่ากับราคาที่เสียไป
Source : อ.มนต์ชัย น้อยสอน
Create : NokCB - Branding, Corporate Branding, Communications Branding & Consultant
============================
ติดตามทุกเรื่องเกี่ยวกับ การสร้างแบรนด์ การตลาด การโฆษณา ธุรกิจ ดีไซน์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ แบบลึกซึ้ง สนุกสนานได้ที่...
Facebook : ความรู้เรื่องการสร้างแบรนด์ by BirdBrand
Blockdit : BirdBrand & Nok Creative Branding
โฆษณา