14 มี.ค. 2021 เวลา 03:15
ทุนผูกขาด อำนาจเหนือตลาด และเจ้าสัว??
1
สัปดาห์หน้านี้มีเรื่องที่ดอกเบี้ยสีทองสนใจติดตาม และจับตามาเป็นระยะหนึ่งแล้ว คือเรื่องศาลปกครองจะมีการวินิจฉัยสืบเนื่องจากองค์กรผู้บริโภคได้ฟ้องร้องต่อศาลปกครอง กรณีคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าอนุญาตให้CPเข้าควบรวมกิจการกับเทสโก้โลตัส
12
วันนี้ดิฉันเลยขอเล่าเกี่ยวกับ กฎหมายแข่งขันทางการค้า และบทบาทของกฎหมายนี้ต่อโลกธุรกิจ และขุดไปดูกันค่ะว่าการป้องกันการผูกขาดเนี่ยจะสามารถทำออกมาได้ระดับไหน
4
เจ้าของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ในประเทศไทย
หลายๆท่านคงเคยได้ยินหรือได้อ่านเจอคอมเมนต์ว่า เอื้อนายทุน เอื้อเจ้าสัว ผูกขาด ฯลฯ ทำนองนี้กันมามาก อย่างไม่นานมานี้เราก็พบว่ามีการควบรวมกิจการหลายครั้งเกิดขึ้นในประเทศไทยและต่างประเทศที่มีผลอย่างมากต่อการแข่งขันทางการค้า
อย่างในอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว มีการเรียกตัวพี่มาก จาก Facebook พี่ Jeff BezosจากAmazon อาPichai จากGoogle พี่Tim CookจากAppleเข้าพบเพื่อให้การชี้แจงในเรื่องการกีดกันทางการค้าโดยการใช้ข้อมูลผู้ใช้งาน ซึ่งเค้าไปไกลกว่าเรามากๆไปถึงในระดับที่จะกำกับการใช้ข้อมูลผู้บริโภคอย่างไม่เป็นธรรมแล้ว
2
จับมือไว้..แล้วไปด้วยกัน
ส่วนประเทศไทยเราที่กำลังร้อนแรงเลยคือการควบรวม CP และ Tesco Lotus ซึ่งเกี่ยวข้องกับพรบ.แข่งขันทางการค้าที่บังคับใช้เมื่อตอนปีพศ. 2560 ซึ่งคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าและสนง.คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (OTCC) นี้จะเป็นผู้ชี้ขาดกรณีเห็นว่าการแข่งขันทางการค้าไม่เป็นธรรม (กีดกันผูกขาดหรือใช้อำนาจเหนือตลาด) และบทบาทหนึ่งที่สำคัญมากคือการพิจารณาอนุญาตให้มีการควบรวมกิจการโดยไม่ส่งผลเสียทางเศรษฐศาสตร์
1
โลตัสโฉมใหม่ภายใต้กลุ่มCP
ในทางเศรษฐศาสตร์เนี่ย ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จจะหมายถึงการที่เค้าสามารถบริหารกิจการได้มีประสิทธิภาพที่สุด เช่นผลิตสินค้ามูลค่าสูงในต้นทุนที่ถูก แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขที่ว่าตลาดเป็นตลาดเสรีด้วยนะ ไม่ใช่ว่ามงลงเพราะใช้ช่างแต่งหน้าตัวท็อป แต่คนอื่นหน้าสด มันเลยต้องมีกรรมการกลางที่จะควบคุมการแข่งขัน
3
ก่อนอื่นต้องขอเล่าก่อนว่า “การมีอำนาจเหนือตลาด” ไม่ผิดกฎหมายนะคะ เราจะไปบอกไครว่าควบรวมกันแล้วใหญ่ไปถือว่าผิดไม่ได้นะ แต่การ”ใช้อำนาจเหนือตลาด” ต่างหากที่ผิดกฎหมาย โดยพรบ.การแข่งขันทางการค้านิยามผู้มีอำนาจเหนือตลาดไว้ว่า 1. เป็นผู้ประกอบธุรกิจรายเดียว หรือมีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 50% หรือ 2. ผู้ประกอบธุรกิจ 3 รายแรกของตลาดมีส่วนแบ่งรวมกันมากกว่า 75% ซึ่งจุดนี้ OTCC จะเข้าไปกำกับไม่ให้ผู้มีอำนาจเหนือตลาดที่บอกไปแล้ว กำจัดคู่แข่งโดยการขายราคาต่ำกว่าทุน (Average variable cost) กดราคาคู่ค้า แทรกแซงธุรกิจคู่แข่ง ฮั้วกันปั่นราคา ฯลฯ
6
กรณีการควบรวม CP และ Tesco Lotus ค่อนข้างน่าสนใจ เริ่มจาก Tesco บริษัทแม่ต้องการขายกิจการในไทย ซึ่งคนจะมีกำลังไปซื้อได้แน่นอนต้องไม่ธรรมดาและต้องเกี่ยวข้องกับการค้าปลีกโภคภัณฑ์ ซึ่งเราก็นึกออกไม่ได้เยอะแล้วอะเนอะที่พอจะทำได้ หวยก็มาออกที่CP Retail Development ซึ่งคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าก็ได้อนุญาตให้ควบรวมเลยไม่ต้องรอ เป็นที่งงงวยของกลุ่มองค์กรผู้บริโภคมากๆ ด้วยว่าเป็นกฎหมายค่อนข้างใหม่ซึ่งเกณฑ์พิจารณาอนุญาตอันนี้ก็เลยเป็นที่เคลือบแคลงของสังคม
3
จากนิยามการผูกขาดตลาดของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแจ้งผลการรวมธุรกิจ พ.ศ.2561 ระบุว่า การผูกขาด หมายความว่า การมีผู้ประกอบธุรกิจรายเดียวในตลาดใดตลาดหนึ่ง ซึ่งมีอำนาจในการกำหนดราคาและปริมาณสินค้า หรือบริการของตนได้อย่างเป็นอิสระ และมียอดขายตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป
2
ทีนี้สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่ออำนาจผูกขาดตกอยู่ในมือใครคนใดคนหนึ่ง คือความสูญเสียต่อสังคมโดยรวม เนื่องจากการแข่งขันทางด้านราคาไม่เสรี ผู้บริโภคเองก็จะต้องซื้อสินค้าในราคาสูงกว่าปกติ ทางฝั่งผู้ขายที่สามารถตั้งราคาได้สูงและไม่กระตือรือร้นที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือเพิ่มระดับความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นผลให้องค์กรขาดประสิทธิภาพในราคาระยะยาว
2
จากตรงนี้ดิฉันว่าเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรที่เราจะพิจารณาบังคับใช้กฎหมายห้ามหรืออนุญาตควบรวมโดยใช้หลักฐานที่เป็นตัวเลขทางเศรษฐศาสตร์เพื่อมาสรุปว่าการควบรวมอันนี้ส่งผลเสียอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจ แล้วมันไปกีดกันการแข่งขันอย่างเสรีหรือเปล่า ดังนั้นพรบ.นี้ดิฉันเลยมองว่ามันต้องอาศัยการร่วมมือของนักกฎหมายและนักเศรษฐศาสตร์ ยกตัวอย่างง่ายๆ ห้างร้านซักแห่งนึงเนี่ยลูกค้ามาจากไหนบ้าง ถ้าร้านนี้ปิดผู้บริโภคมีทางเลือกอื่นหรือต้องไปซื้อที่สาขาอื่น ปัญหาการพิจารณากฎหมายนี้เลยเริ่มตั้งแต่การตีกรอบตลาด การกำหนดราคา ส่วนแบ่งการตลาด ซึ่งข้อมูลบางอย่างหายากยิ่งกว่าพยานคดีน้องชมพู่แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มี
4
OTCC ได้แบ่งโครงสร้างตลาดค้าปลีกสมัยใหม่ออกเป็น 3 ประเภทคือ 1)ไฮเปอร์มาร์เก็ต (Hypermarket) 2) ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) และ 3) ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก  โลตัสที่เป็นไฮเปอร์มาร์เก็ตจึงไม่ถือเป็นผู้ประกอบการที่ผูกขาดตลาดเนื่องจากยังมี Big C และ Tops การควบรวมกับCP จึงไม่สามารถไปรวมกลุ่มกับ 7-11ในเครือ CPเดิมได้เนื่องจาก 7-11จัดเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดเล็ก!!
ในอเมริกาเคยมีกรณี VISA จะครอบงำกิจการ PLAID ที่เป็น Fin-Tech Startup ที่ทำ E-Payment ซึ่ง FTC หรือคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าของอเมริกานี้ตอนแรกอนุญาตให้เข้าซื้อกิจการได้ แต่สุดท้าย DOJ หรือกระทรวงยุติธรรมก็มีคำสั่งห้ามไม่ให้ควบรวมและทำให้ดีลล่มไปเพราะมองว่าอาจเป็นการแผ่อิทธิพลเกินไปของ VISA จนนำไปสู่การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
1
ปังที่สุด แต่ล่มจ้า
อเมริกาเองประสบความสำเร็จอย่างสูงในการใช้กลุ่มกฎหมาย Antitrust Law ซึ่งล้ำหน้ากว่าเราอยู่หลายขุม เนื่องจากตัวกฎหมายมียาวนาน เลยมีวิวัฒนาการออกมาเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการค้าสมัยใหม่ โดยรวมแล้วก็คล้ายกับพรบ.การแข่งขันทางการค้าบ้านเราแต่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนเด็ดขาดแบบไม่แคร์กลุ่มทุน
4
ทางฝั่งยุโรปเองก็มีการบังคับใช้กฎหมายลักษณะเดียวกันนี้อย่างเข้มงวด Google เคยต้องเสียค่าปรับถึง 2700 ล้านเหรียญเพราะถูกตัดสินว่าไปจำกัดการแสดงข้อมูลบริษัทคู่แข่ง และก็โดนปรับอีกเมื่อปีที่แล้ว5,100 ล้านเหรียญเพราะผูกขาดการโฆษณาออนไลน์ จะเห็นว่าฝั่งยุโรปโหดกับ บริษัทเทคโนโลยีมากๆกว่าอเมริกาเข้าไปอีก ก็แน่สิบริษัทข้ามชาติมาจากอเมริกานี่เนอะ
1
โดนทุกปี เจ็บแล้วจำคือคน เจ็บแล้วทนคือรวย
กลับมาที่ OTCC ดิฉันคิดว่ากำลังมาถูกทางละ อาจจะต้องอาศัยประสบการณ์และเคสที่มากขึ้นๆและก้าวผ่านวัฒนธรรมการเกื้อกูลกันแบบไทยๆ เพื่อจะทำให้การค้าในประเทศเราเป็นสมรภูมิที่ยุติธรรมมากขึ้น เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภคอย่างเราๆและประสิทธิภาพการผลิตอย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถไปเอาผิดกับบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ได้เหมือนยุโรปเนื่องจากเหตุผลหลายๆอย่าง และตอนนี้เรายังโฟกัสไปที่ความพยายามจัดเก็บภาษีบริษัทข้ามชาติที่ยังลูกผีลูกคนอยู่
2
นอกเหนือจากเกณฑ์ที่มากำกับการแข่งขันทางการค้าของ OTCC ดิฉันว่าเรายังมีจุดอ่อนที่ต้องการกำจัดอยู่อีกหลายอย่างที่ควรบังคับใช้คู่กันไป เช่น 1) การผูกขาดที่มาจากสัมปทานของรัฐ เช่นสัมปทานดิวตี้ฟรีที่ไม่เปิดโอกาสให้มีผู้เล่นหน้าใหม่ขนาดเล็กกว่าเข้ามาทำธุรกิจอย่างแท้จริง 2) ผูกขาดด้วยกฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น การผลิตเบียร์กฎหมายระบุว่าต้องมีกำลังการผลิตขั้นต่ำ 10ล้านลิตร/ปี ซึ่งเป็นกำแพงที่กีดกันไม่ให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้ามาในธุรกิจได้เลย ผลคือเราจะเห็นคราฟเบียร์รายเล็กๆไปจดทะเบียนอยู่ประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก 3) ผูกขาดด้วยแหล่งเงินทุน เพราะธุรกิจขนาดเล็กมีต้นทุนกู้ยืมที่สูงกว่า ธนาคารพาณิชย์มีจำกัด และการระดมทุนวิธีอื่นๆยังไม่ได้รับการสนับสนุนและพัฒนาอย่างเต็มที่
8
จะเห็นตัวอย่างแล้วว่าปัญหาของ OTCC มีความซับซ้อนและท้าทายเนื่องจากประเทศเรามีวัฒนธรรมเฉพาะตัวที่เอื้อต่อการผูกขาดและความเหลื่อมล้ำฝังรากลึก ยากต่อการแก้ไข แต่จุดนี้ก็นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่เราจะส่งเสริมและช่วยเหลือผู้บริโภคและผู้ค้ารายย่อยอย่างยุติธรรม เรามาลองลุ้นกันนะคะว่า 15 มี.ค.นี้ศาลปกครองจะมีคำสั่งอย่างไรต่อการร้องขององค์กรผู้บริโภคกรณี CPxLotus
ไม่ร้องนะคะ
โฆษณา