13 มี.ค. 2021 เวลา 05:39 • สุขภาพ
กินพาราให้ออกฤทธิ์
หรืออยากได้พิษ คุณเลือกเอง ! 🤭
2
ชื่อสามัญ : พาราเซตามอล (Paracetamol)
ชื่อไม่สามัญ : อะเซตามิโนเฟน
(Acetaminophen, APAP)
ชื่อในวงการ : N-acetyl-para-
acetylaminophenol
AKA (Also Known As) : พ า ร า 🌡️💊
ขออนุญาตเรียกตาม AKA ..ประสาวัยรุ่นค่ะ
“พารา” เป็นยาสามัญธรรมดา ที่ไม่ธรรมดาเลย
หลาย ๆ คนคุ้นเคยกับการกินพารา 2 เม็ด
ทุก 4 ชม.บ้าง 6 ชม.บ้าง
เพราะ “เขา” บอกมาบ้าง
“เขา” เล่าว่าบ้าง
“เขา” ที่ไหนก็ไม่รู้ 🤔
การกินยาไม่ใช่ไสยศาสตร์
ไม่ใช่เรื่องของความเชื่อ ต้องมีเหตุผล
แล้วคำนวณตามน้ำหนักกันนะคะ
ก็คนทั้งโลกไม่ได้หนักเท่ากันหมดนี่น่า
จะไปกินยาตาม “เขา” ได้ยังไงเนอะคะ 😁
พารา เป็นยาลดไข้บรรเทาปวด
ออกฤทธิ์ยับยั้ง สารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบ
ชื่อว่า POX และ COX*
จึงทำให้ลดไข้ และแก้ปวดได้ค่ะ
[ *พารายับยั้งเอนไซม์ Perioxidase (POX)
และ Cyclooxygenase (COX)
ก่อนถูกเปลี่ยนไปเป็น
Prostaglandin H2 (PGH-2)
ที่ทำให้มีไข้และปวด ]
โดยระดับยา จะเริ่มสูงขึ้น
(Time to Peak) ในนาทีที่ 30-45
และเข้มข้นสูงสุด
(Peak Plasma Concentration)
ภายใน 4 ชม. หลังได้รับยาค่ะ
แต่การได้รับพารา ร่วมกับอาหาร
หรือยาบางกลุ่ม เช่น
กลุ่ม Anticholinergic (ยับยั้งสารสื่อประสาท) เช่น
ยาแก้แพ้เม็ดเหลือง (Chlorpheniramine, CPM)
ยาขยายหลอดลม (Ipratopium)
ยาแก้ปวดท้อง (Hyoscyamine)
กลุ่ม Opioids (แก้ปวด) เช่น
Fentanyl (แคปซูลเหลืองเขียว)
Codeine (แก้ปวดและแก้ไอ เม็ดนิ่ม ๆ สีแดง ม่วง น้ำเงิน แล้วแต่บริษัท)
จะทำให้การพาราออกฤทธิ์ช้า และนานออกไป
1
จึงควรระวัง !
1
การใช้พาราร่วมกับเหล่านี้ ในผู้สูงอายุ
ที่มีการกำจัดยาได้ช้า ทำให้พาราอยู่ในร่างกาย
ได้นานกว่าปกติ อาจส่งผลเหมือนได้รับพาราเกินขนาดได้นะคะ
1
พาราถูกทำลายที่ตับ 90%
จะได้สารตัวหนึ่งที่เป็นพิษออกมา
ชื่อว่า เอ็น เอ พี คิว ไอ (NAPQI)
[ เรียก แ น็ ป ขี้ ! ก็ได้ค่ะ
ชื่อไม่ต้องเพราะมาก เพราะนิสัยเสีย ! ]
1
ปกติร่างกายจะกำจัด NAPQI
โดยใช้กลูตาไธไอน (Glutathione, GSH)
ที่ร่างกายสร้างขึ้น ซึ่งจะมีเพียงพอในคนปกติค่ะ
ตับแข็ง ๆ ค่ะ
แต่คนไข้ที่มีปัญหาเรื่องตับ คนติดสุราเรื้อรัง
หรือบางโรคที่มีกลูตาไธไอนลดลง
จะลดความสามารถ ในการขับพารา
ออกจากร่างกายได้ค่ะ
🙋 ผู้ใหญ่ ≤ 4 กรัม / วัน
👧 เด็ก 75 มิลลิกรัม / กิโลกรัม / วัน
ให้ 10-15 มก./กก./ครั้ง
เพราะฉะนั้น ถ้าคุณกินพารา
ขนาด 500 มก. 2 เม็ด ทุก 4 ชม.
คุณจะได้รับยา 6 กรัม ใน 1 วัน !
กินยาตาม “เขา” เล่าว่า
ออกฤทธิ์ซะล้นเล้ยย
Paracetamol Overdose
💊 ระดับยาพาราเกินขนาด แบบเฉียบพลัน
👉 ได้รับยา 150 มก./กก. ภายใน 8 ชม.
💊 ระดับยาพาราเกินขนาด แบบสะสม
1️⃣ นับภายใน 48 ชม.
👉 กินพารา > 150 มก./กก./24 ชม.
หรือ > 6 ก./24 ชม.
2️⃣ นับภายใน 72 ชม.
👉 กินพารา > 100 มก./กก./24 ชม.
หรือ > 4 ก./24 ชม.
⚠️ คนที่ได้รับพาราเกินขนาด
จะมีอาการ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน
เจ็บตับ ตัวเหลือง ตาเหลือง
ตาเหลือง - Jaundice
อาจพบว่า มีน้ำตาลในเลือดต่ำ, เลือดออกผิดปกติ, ซึมหรือเพ้อ (Hepatic Encephalopathy), ไตวาย, หัวใจเต้นผิดจังหวะ และอื่น ๆ อีกมากมาย
ถ้าได้รับการรักษาช้า อาจเสียชีวิตได้เลยนะคะ
แต่บางคน อาจไม่มีอาการ ภายใน 48. แรกเลย
ต้องตรวจเลือด ถึงพบว่า เอนไซม์ตับสูงขึ้นผิดปกติ แล้วมีอาการอีกที ช่วงหลัง 48 ชม.ไปแล้วค่ะ
⚠️ ไม่ควรใช้พารา ร่วมกับยาต่อไปนี้
👉 ยารักษาวัณโรค : Isoniazid, Rifampicin, Pyrazinamide, Ethambutol
👉 ยากันชัก : Barbiturate
👉 แอลกอฮอล์
⚠️ ระวังการใช้พาราในคนกลุ่มต่อไปนี้
👉 คนไข้โรคตับเรื้อรัง
👉 คนไข้ไตเสื่อม (Creatinine Clearance, CrCl < 30 mL/min)
👉 ระวังการใช้ยาพารา ร่วมกับยาไมเกรน
หรือยาบรรเทาหวัด ลดไข้บางชนิด
ที่มีส่วนผสมของพาราอยู่แล้ว
อาจทำให้ได้รับยาเกินขนาดนะคะ
👉 คนที่จำเป็นต้องใช้ยาวาฟาริน (Warfarin)
ร่วมกับพาราในระยะยาว ให้สังเกตอาการเลือดออก และระวังการเกิดอุบัติเหตุ
เพราะยาทั้ง 2 อาจเสริมฤทธิ์กัน
ทำให้เลือดออกง่ายขึ้นค่ะ
⚠️ อ่อออ ! คนแพ้ยาพารา ก็ห้ามกินนะคะ!
เตือนไว้ก่อน เผื่ออยากลองงง
ด้วยความรักมาก และปรารถนาดีที่สุด
จาก อ่างสมองค่ะ 🤗🙏
ตับฝากบอกว่า ดูแลเค้าดีดีนะ ตะเอง 🤗
การอ้างอิง
[1] ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี. Paracetamol. [เข้าถึงเมื่อ 13 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/Paracet.
[2] สัมมน โฉมฉาย. ภาวะพิษจากพาราเซตามอล. [เข้าถึงเมื่อ 13 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: www.rama.mahidol.ac.th.
[3] Nelson L, Goldfrank LR. Goldfrank's Toxicologic Emergencies. Acetaminophen. 9 ed2011.
[4] Ghanem Ci, Pérez Mj, Manautou Je, Mottino Ad. Acetaminophen from liver to brain: New insights into drug pharmacological action and toxicity. Pharmacol Res. 2016;109.119-31.
1
กราบ 3 ทีค่ะ 😊🙏🙏🙏

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา