13 มี.ค. 2021 เวลา 10:10 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
WandaVision
กับการคาราวะ Sitcoms ยุค 1950-2000s
(ไม่สปอยล์เนื้อเรื่อง แต่!มีการเปิดเผย Easter Egg)
กลายเป็นมินิซีรีย์ที่ Kevin Feige บิ๊กบอส Marvel Studio พอใจอย่างมากกับการให้ WandaVision ออนแอร์เป็นเรื่องแรกในเฟส 4 ของ Marvel Cinematic Universe (MCU) ที่เปลี่ยนจากภาพยนต์มาสู่จอโทรทัศน์
เหตุผลหนึ่งคือ การหลอมรวมเนื้อเรื่องหลักของตัวละครที่ดูเหมือนสงบสุข เข้ากับสเน่ห์ของซิทคอมในยุค 1950s-2000s อย่างสมบูรณ์แบบ
.
ถึงตรงนี้หลายคนอาจมีคำถามว่า"ทำไมต้องซิทคอม?" ซึ่งส่วนหนึ่งจะเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง อยากให้หาคำตอบกันในซีรีย์ครับ แต่อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เนื้อหาของครอบครัวเป็นแกนหลักของซิทคอมทุกยุคทุกสมัยที่ให้ความบันเทิงได้ในหลายมิติ สอดคล้องกับมินิซีรีย์ WandaVision ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากฉบับคอมมิคในตอน "The Vision and the Scarlet Witch", "House of M" และ "The Vision" ที่เน้นไปที่ดราม่าครอบครัวมากกว่า
.
มีรายงานว่าผู้สร้างใช้งบประมาณแต่ละ episode สูงถึง 25 ล้านเหรียญฯ เพื่อเนรมิตมินิซีรีย์เรื่องนี้ และเพื่อให้ได้ความคลาสสิคของซิทคอมในแบบดังเดิมจึงได้ทาบทาม Dick Van Dyke เจ้าพ่อวงการซิทคอมฝั่งอเมริกาที่มานั่งแท่นเป็นที่ปรึกษา โดยทั้ง 9 ep. จะถูกแบ่งตามช่วงเวลาดังนี้
.
ep.1 = ยุค 1950s
ep.2 = ยุค 1960s
ep.3 = ยุค 1970s
ep.4 = ...
ep.5 = ยุค 1980s
ep.6 = ยุค 1990-ต้นยุค 2000s
ep.7 = กลาง-ปลายยุค 2000s
ep.8 = ...
ep.9 = ...
ซึ่งแต่ละตอน ได้สอดแทรกดีเทลจากซิทคอมเรื่องดังหลายต่อหลายเรื่อง และเปลี่ยนไปตามยุคที่ฉายด้วย อาทิ
.
ในแต่ละ ep.ของ WandaVision จะมี MV เปิดตัวที่ไม่ซ้ำกัน ที่เป็นการตั้งใจหยิบเอากิมมิคของซิทคอมเรื่องดังมาใส่ไว้ เช่นเรื่อง Bewitched(1964), The Brady Bunch(1969), The Mary Tyler Moore Show(1970), Family Ties(1982), Growing Pains(1985), Happy Endings(2011) อื่นๆ แถมยังได้คู่รักนักแต่งเพลงอย่าง Robert Lopez และ Kristen Anderson ที่เคยแต่ง "Let It Go"(Frozen) และ "Remember Me"(Coco) มาแต่งเพลงให้ WandaVision ด้วย พูดง่ายๆคือคัดช็อตเจ๋งๆ ใส่เพลงเพราะๆ ลงไป รอเพียงแค่แฟนๆได้มาเห็นมาได้ยินก็จะจำได้ถึงความสนุกของซิทคอมอดีตทันที พอๆกับตอนที่เราได้เห็นภาพและเพลงที่เหมือนการเปิดหนังสือการ์ตูนตอนเริ่มเรื่องของหนังจักรวาล MCU อันเป็นเอกลักษณ์นั่นแหละ
ในเรื่องการถ่ายทำบางช่วงบางตอนก็ old school ตามยุคซิคคอมเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นมุมกล้อง-เลนส์, แสงไฟ ไปจนถึงการแสดงสดต่อหน้าคนดูจริง แม้กระทั้งการตัดต่อฉากใช้เวทมนต์ของแวนด้าใน ep. แรกๆ ที่ปัจจุบันสามารถทำ CGI เนียนจะแทบแยกไม่ออกได้แล้ว แต่พี่แกก็ยังเลือกการตัดต่อแบบจัมพ์คัทเพื่อคงบรรยากาศในยุคนั้นนั่นเอง แต่เท่านั้นยังไม่พอ
ยังมีลูกเล่นเทคนิคการเปลี่ยนอัตราส่วนของภาพที่เคยถูกใช้และทำงานได้อย่างดีใน Mandalorian (Disney+) มาใช้ใน WandaVision ตามช่วงเวลาของเรื่องด้วย อาทิ
4:3 = จำลองความรู้สึกเหมือนกล่องของโทรทัศน์ช่วงยุค 1950-70s
16:9 = จำลองความรู้สึกแบบทีวีสมัยใหม่ช่วงยุค 1980-2010
2.39:1 = จำลองความรู้สึกแบบ wind-screen ที่แพร่หลายในภาพยนตร์ยุคปัจจุบัน
.
นอกจากนี้ยังมี Easter Egg ต่างๆจากซิทคอมอย่างเช่น พรอพตุ๊กตาหมีและฉากบันไดจาก The Brady Bunch(1969), ฉากตัวละครหันมาคุยกับคนดู (break the fourth wall) จาก Malcolm in the Middle(2000) ไปจนถึงการดึงนักแสดงซิทคอมชื่อดังทั้งในอดีตและปัจจุบันหลายคนมาร่วมสร้างบรรยายกาศ และอื่นๆ
เมื่อนำทั้งหมดที่กล่าวมารวมกับการเล่าเรื่องฉบับ Marvel การทิ้งร่องรอย-การคลายปมในซีรีย์, การเชื่อมโยง-ขยายความ MCU เรื่องก่อนๆ และว่ากันว่า WandaVision เป็นเบาะแสที่สำคัญเพื่อปูทางไปสู่ Spider-Man: No Way Home(2021) และ Doctor Strange in the Multiverse of Madness(2022) ทำให้ WandaVision ควรค่าแก่การดูและห้ามพลาดสำหรับแฟนๆ MCU ครับ ถ้าถามความรู้สึกหลังดู แอดเองได้ดู 2 รอบ รู้สึกว่ารอบ 2 สนุกมากกว่ารอบแรกอีกไม่รู้สึกเบื่อเลยครับ ดีเทลเติมไปหมด
.
ข้อมูลบางส่วนจาก Imdb
รูปภาพจาก thedirect I screenrant l buzzfeed
โฆษณา