14 มี.ค. 2021 เวลา 01:56 • ธุรกิจ
No Rules Rules — ทำจริงได้ไหม Agile Organization บริษัทไทยหัวใจ Netflix?
ช่วงนี้ได้มีการพูดคุยกับมิตรสหายใน Clubhouse ถึงคำถามที่ว่า Agile Organization นั้นหน้าตาเป็นอย่างไร
2
บ้างก็ว่า Agile Organization คือองค์กรที่ผู้คนมี Agile Mindset
1
บ้างก็ว่า Agile Organization คือองค์กรที่ส่งมอบ Value ได้บ่อยๆสม่ำเสมอ
บ้างก็ว่า McKensey บอกว่าว่ามีวิธีสร้าง Agile Organization อยู่ 18 ขั้นตอน
1
บ้างก็ว่า มันเป็นแค่คำสวยหรูที่ Business ยืมคำว่า Agile จากไอทีไปใช้
1
บ้างก็ว่า อย่าได้เผลอไปกูเกิ้ลคำว่า Agile Organization เชียวนะ มันไปกันใหญ่แล้ว
1
สำหรับผมแล้ว ในเมื่อ Agility นั้นแปลว่า Ability To Change ดังนั้น Agile Organization ก็น่าจะเป็นองค์กรที่มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้
ถ้าในเมืองไทยผมก็จะนึกถึง RS ของเฮีอฮ้อ ที่เราเริ่มรู้จักเขาจากธุรกิจค่ายเพลง จนผันตัวเองมาเป็นธุรกิจสื่อและธุรกิจสุขภาพ หรือแม้กระทั่งที่มีความว่าล่าสุดจะมาทำธุรกิจอาหารสัตว์ รวมแล้วธุรกิจของ RS ก็ถือว่าประสบความสำเร็จมากและมีรายได้อยู่ในระดับหลายพันล้านเลยทีเดียว
3
บางคนก็บอกว่า แบบนี้น่าจะเรียกว่า Resilence Organization รึเปล่า ผมพยายามไปเปิดตำราหานิยามดูก็พบว่าสองคำนี้ใกล้เคียงกันมาก Agility นั้นคือความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนส่วน Resilence นั้นคือความสามารถในการลุกขึ้นมาหลังจากล้มได้ไว ถ้ามีทั้งสองอย่างนี้ก็คงเป็นตุ๊กตาล้มลุกที่ปราดเปรียว
3
แต่อย่างไรก็ตาม ผมจะขอโหน Agile โดยเรียกรวมๆว่าองค์กรที่มี Business Agility หรือความคล่องตัวทางธุรกิจว่า Agile Organization ก็แล้วกันนะครับ
1
ถ้าในระดับโลกผมก็จะนึกถึง Netflix ที่เริ่มจากให้เช่า DVD ปรับมาเป็น Streaming หนัง กระโดดมาเป็นคนทำ Content และตอนนี้ขยายออกจากอเมริกามาแทบจะทุกมุมโลกแล้ว
โชคดีที่ Reed Hastings ซึ่งเป็น CEO คนปัจจุบันของ Netflix ได้ตั้งใจกลั่นกลองเรื่องราวการเดินทางของ Netflix ให้เราได้อ่านกันในหนังสือ No Rules Rules ซึ่งเพิ่งออกมาเมื่อปลายปีที่แล้ว คงไม่ต้องโฆษณามากกับหนังสือเล่มนี้ที่หลายๆคนยกให้เป็นหนังสือ Management ที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งในรอบหลายปี เรียกได้ว่าพลิกตำราทิ้งไปหลายเล่มเลยก็ว่าได้ ในบ้านเราก็มีคนมารีวิวและนำมาคุยกันมากมาย
3
ผมฟังหนังสือเล่มนี้ตอนวิ่งและทุกครั้งที่ฟังแทบไม่อยากหยุดวิ่งเลยเพราะยิ่งฟังยิ่งรู้สึกตื่นเต้น ในใจก็คิดว่า เชดดดด มันมีองค์กรแบบนี้จริงๆด้วย องค์กรที่ Agile Coach น่าจะแทบทุกคนฝันว่าวันหนึ่งจะสร้างให้เกิด Self Organization แบบนี้ได้ สิ่งที่เคยได้ผ่านตามาจากหนังสือเล่มอื่นเช่น Reinventing Organization มันได้เกิดขึ้นจริงแล้ว ไม่ใช่กับแค่บริษัทเล็กๆ ไม่ใช่กับแค่บริษัทในประเทศ แต่เกิดขึ้นกับบริษัทใหญ่ยักษ์ระดับโลกที่ทุกคนรู้จัก แถม CEO มาเล่าเองเป็นฉากๆ อย่างละเอียดละออ แม้จะตื่นเต้นแค่ไหนก็ต้องหยุดพักก่อน เพราะว่าวิ่งไม่ไหวแล้วหมดแรง
2
ถ้ามองเทียบกับ Agile นั้น การให้ความสำคัญกับคน การให้ความสำคัญกับ Feedback และการให้ความสำคัญกับการไม่ควบคุม ก็เป็นสาระสำคัญที่อยู่เบื้องหลังของ Agile Manifesto ทั้ง 4 ข้ออยู่แล้ว การได้ฟังเรื่องราวของ Netflix สำหรับผมจึงเป็นการฟินส์ส่วนตัว ประมาณว่าชาตินี้อาจจะไม่สามารถช่วยใครสร้างองค์กรในฝันได้ขนาดนี้ แต่แค่ได้ยินว่ามันมีอยู่จริงก็ฟินส์แล้ว
2
หนังสือเล่มนี้หนาเกือบ 300 หน้า ถ้าเป็นหนังสือเสียงก็ยาวเกือบ 10 ชั่วโมง วิ่งไปฟังไปได้หลายกิโล ฟังจบแล้วสิ่งหนึ่งที่ผมแวบขึ้นมาก็คือ หลายๆคนน่ามีโอกาสได้อ่าน “บทสรุป” ของหนังสือเล่มนี้มากกว่าจะได้อ่านเนื้อหาและเรื่องราวในหนังสือจริงๆ เพราะหนังสือเล่มนี้มันหนาเอาการ
1
สิ่งที่อยากจะเชื้อเชิญก็คือ คนที่อ่านบทสรุปแล้วก็อย่าเพิ่ง “ด่วนสรุป” ซึ่งจากที่ได้ผ่านหูผ่านตามา หลายๆคนจะมีความเห็นคล้ายกันคือ “ดีนะ แต่ทำที่นี่ไม่ได้หรอก” เลยอยากจะบอกว่าประโยคนี้เป็นโยคเดียวกันกับที่เรามักจะใช้ตอนได้เยินเรื่องอะไรใหม่ๆ แต่มันขัดกับความเชื่อเดิมๆ เช่นเรื่อง Agile สมัยโน้นที่ยังไม่ฮิตกันขนาดนี้
อยากจะชวนมองงานเขียนชิ้นนี้เป็นบันทึกการเดินทางขององค์กรหนึ่งมากกว่าเป็นสูตรสำเร็จในการบริหาร
1
คงไม่มีใครปฏิเสธว่า การมี Talent Density การมี Candor หรือการลด Control เป็นเรื่องดีแน่แท้ แต่การจะไปสุดขั้วแบบ Netflix นั้น คงไม่มีใครทำได้ในเวลาช้ามคืน แม้แต่ Netflix เองก็ใช้เวลาเดินทางอยู่บนเส้นทางนี้อยู่ไม่น้อยกว่า “20 ปี” กว่าจะเขียนมาเล่าให้เราฟังได้ขนาดนี้
3
ในตลอด 20 ปีนี้ Netflix สรุปหมุดหมายหลักของการเดินทางออกมา 10 จุด ซึ่งก็คือสารบัญที่แบ่งเป็น 10 บทในหนังสือเล่มนี้ ส่วนตัวผมว่าเป็นการวางโครงของหนังสือที่ยอดเยี่ยมมากๆ เพราะแค่อ่านสารบัญก็พอจะเห็นการเดินทางขององค์กรนี้แล้ว
ช่วงที่ 1 : เริ่มต้นการเดินทาง
(1) สร้าง Talent Density — คนเก่งคนเดียว อาจทำงานได้เท่าคนธรรมดา 10 คน แต่ว่า No Brilliant Jerk นะจ๊ะ
(2) เพิ่ม Candor — สร้างวัฒนธรรมการให้ Feedback ด้วย 4A — Aim To Assist, Actionable, Appreciate, Accept or Discard
(3) เริ่มรื้อ Control — เลิกนับวันหยุด ไม่ต้องขออนุมัติค่าใช้จ่าย ขอให้ยึดผลประโยชน์องค์กรเป็นหลักก็พอ
3
ช่วงที่ 2 : ย้ำเข้าไป
(4) เพิ่ม Talent Density อีก — เลิกโบนัส จ่ายเงินเดือนสูงกว่าตลาด
(5) เพิ่ม Candor อีก — ไม่มีความลับบริษัทกับพนักงาน เผยผลประกอบการให้คนในก่อนคนนอก
(6) รื้อ Control อีก — Informed Captain คุณคือกัปตัน ตัดสินใจได้เองไม่ต้องรออนุมัติ
1
ช่วงที่ 3 : ไปให้สุด
(7) อัด Talent Density ให้สุด — The Keeper Test ถ้าไม่อยากเก็บไว้ ก็รีบให้ package เลย เราเป็น Professional Sport Team ไม่ใช่ Family
(8) อัด Candor ให้สุด — ตั้งวงให้ Feedback แบบ Face-To-Face ให้เป็นปกติ
(9) รื้อ Control ให้สุด — Lead With Context, Not Control ถ้าลูกน้องทำอะไรงี่เง่า ให้หัวหน้าถามตัวเองก่อนว่าคุณได้สร้างบริบทให้เขาหรือยัง
1
ช่วงที่ 4 : ครองโลก
(10) ขยาย! — แม้แต่ละมุมโลกจะมีวัฒนธรรมต่างกัน แต่ถ้าเราใส่ใจ เราก็สามารถสร้างวัฒนธรรม Freedom & Responsibility แบบ Netflix ได้
คนที่คิดว่าเมืองไทยทำไม่ได้หรอก ห้ามพลาดบทที่ 10 ที่เขาเล่าว่าเขาเจออะไรมาตอนขยายไปที่ญี่ปุ่นและสิงคโปร์
1
ที่อยากชวนให้มองว่าหนังสือเล่มนี้เป็นการเดินทางก็เพราะว่าการเดินทางของแต่ละองค์กรนั้นแตกต่างกันแน่นอน และถึงแม้ว่าเราจะไม่มีทางเป็น Olympic Team อย่าง Netflix ได้แต่เราก็เริ่มจากฝันที่จะเป็นทีมซีเกมส์ได้ซึ่งแน่นอนว่าเราก็อาจจะต้องเริ่มจากแช่งระดับตำบลก่อน
1
ถ้าเรามัวแต่จ้องจะหาทางลัดหาสูตรสำเร็จ เอา Talent Density เอา Candor เอา No Control ไปใช้ทื่อๆ เราก็คงจะไม่ต่างกับองค์กรใหญ่ๆทั้งหลายที่ลอก Squad ของ Spotify ไปทำกันแล้ววอดวายกันมากมายอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
1
ถ้าเราเรียนรู้จากการเดินทางของ Netflix นี้ได้ว่า ทำไมการเพิ่ม Talent Density การเพิ่ม Candor และการลด Control จึงทำให้เขาชนะ Olympic ได้ เราก็อาจจะนำความเข้าใจนี้มาออกแบบและค้นหาสูตรพัฒนาของทีมเราเองได้เช่นกัน
แล้วคุณคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จริงในองค์กรคุณไหมครับ? คุณจะออกแบบการเดินทางของคุณอย่างไร?
ถ้าสนใจมาคุยกันต่อใน Clubhouse พฤหัสที่ 18 มี.ค. นี้ 3 ทุ่ม ในรายการ Agile Coffee Club TH ที่ผมจัดกับวอร์มและปอนด์ทุกสัปดาห์ จะมีแขกรับเชิญมา 2 ท่านจาก 2 โลก คือ พี่เอ๋ผู้บริหารจาก Enterprise ขนาดใหญ่ที่ใส่ใจการสร้าง Culture และคุณรุตม์ HR จาก Wongnai ที่ได้นำ No Rules Rules ไปใช้จริงแล้ว
Happy Transforming :)
โฆษณา