14 มี.ค. 2021 เวลา 05:51 • ศิลปะ & ออกแบบ
👩‍🎨รูปภาพหญิงสาวกับต่างหูมุก
มันคือผลงานภาพเหมือนคนธรรมดาอายุหลายร้อยปี ที่จนถึงวันนี้ ก็ยังคงความยิ่งใหญ่ และจับใจผู้คน
ในบรรดาผลงานล้ำค่ามากมายที่รังสรรค์โดยศิลปินชาวดัตช์ นี่คือภาพที่ชาวดัตช์เองลงความเห็นว่าเป็นภาพที่งดงามที่สุดของเนเธอร์แลนด์
มันทั้งสว่างและเต็มไปด้วยลับลมคมใน
ภาพวาด Girl with a Pearl Earring โดย Johannes Vermeer
ภาพ “Girl with a Pearl Earring” หรือ
ชื่อในภาษาไทยคือ “สาวใส่ต่างหูมุก”
เป็นภาพเขียนเทคนิคสีน้ำมัน ผู้เขียนภาพนี้คือนาย Johannes Vermeer จิตรกรชาวดัตช์
ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงยุค Baroque ปัจจุบันนี้
“Girl with a Pearl Earring” ถูกนำไปจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานศิลปะ Mauritshuis ใน
กรุง The Hague ประเทศเนเธอร์แลนด์ Johannes Vermeer เขียนภาพ
“Girl with a Pearl Earring” จนเสร็จสมบูรณ์
ในปี ค.ศ. 1665 เธอคนนี้ได้รับการยกย่อง
ว่าเป็น “Mona Lisa ทางเหนือ” หรือ
“Mona Lisa ของชาวดัตช์”
1
หญิงสาวสวย ในรูปนี้ไม่ได้มีตัวตนจริงๆ  แต่เธอเป็น “Tronie”  หรือ ภาพของหญิงสาวในอุดมคติ ซึ่งจิตกรชาวดัทช์จะถูกฝึกให้วาดภาพ
หญิงอุดมคติของตัวเอง จนเกิดกลายเป็นทักษะติดตัว เพื่อนำไปต่อยอดถ่ายทอดให้เป็นเรื่องราวในแบบฉบับของตนเองขึ้นมา
หญิงสาวกับต่างหูมุกในความเป็นจริง ภาพเขียนสีน้ำมันบนผ้าใบที่รู้จักกันในชื่อหญิงสาวกับ
ต่างหูมุก นี้จะเรียกว่าภาพเหมือนก็อาจไม่ถูกนัก เพราะมันอาจเป็นภาพในกลุ่ม Tronie อันเป็นที่นิยมสำหรับศิลปินบาโร้กชาวดัตช์ในศตวรรษ
ที่ 17 ซึ่งเน้นการแสดงความรู้สึกทางสีหน้าของคาแรกเตอร์ในภาพวาด มากกว่าที่จะเป็นตัวแทนของบุคคลอย่างภาพเหมือนของใครสักคน
นอกจากคุณค่าที่อยู่ในองค์ประกอบของภาพที่สร้างสรรค์โดยเฟอร์แมร์ กับข้อถกเถียงว่าด้วยต่างหูโอเวอร์ไซส์ ที่อาจเป็นโลหะขัดเงา
มากกว่ามุก ปฏิเสธไม่ได้ว่าความพิเศษของภาพที่ปัจจุบันแสดงอยู่
ณ พิพิธภัณฑ์เมาริตส์เฮยส์ ในกรุงเฮกของประเทศเนเธอร์แลนด์นี้ อยู่ที่การใช้สี โดยเฉพาะสีน้ำเงินของผ้าผูกผม และประวัติศาสตร์ของมัน
มันคือสีน้ำเงินที่มีราคาแพงที่สุด เรารู้จักมันในชื่อสีน้ำเงินอัลตรามารีน (Ultramarine blue)
ไม่ใช่ศิลปินทุกคนจะเอื้อมถึงสีน้ำเงินนี้ มิเกลันเจโลต้องทิ้งภาพบรรจุร่างพระเยซู
(The Entombment) แบบไม่เสร็จเพราะ
เขาไม่สามารถซื้อหาสีน้ำเงินอัลตรามารีนได้
ส่วนราฟาเอลสงวนสีน้ำเงินนี้สำหรับขั้นตอนสุดท้ายเท่านั้น
1
ในขณะที่เฟอร์แมร์ผู้ระมัดระวังน้อยกว่าในการใช้สีน้ำเงินอัลตรามารีน ต้องแลกมาด้วยหนี้สินล้นพ้นตัว
สีบางสีก็ได้มาจากการบดซากมัมมี่ แล้วนำมาผสมกับน้ำมันระเหยและอำพัน จนได้สีน้ำตาลเงาใส ซี่งรู้จักกันในนามสีน้ำตาลอียิปต์
(Egyptian brown)
สำหรับเรมแบรนดท์ เขาคือศิลปินที่มีหลักฐานว่ามักใช้สีอะไรก็ตามที่เหลืออยู่มาเป็นพื้นหลัง
เมื่อสีหลายสีผสมเข้าด้วยกัน มันก็จะยิ่งกลายเป็นความมืดที่ขับเน้นให้สิ่งที่เขาวาดสว่างโดดเด่นมากขึ้นเท่านั้น
มันทำให้เราต้องมานั่งหวนคิดว่า สีที่แทบจะเป็นของตายสำหรับคนยุคหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น แต่ไม่ใช่ก่อนหน้านั้น
และทำให้เรามองศิลปะในมุมใหม่ สำหรับบางคน คุณค่าของศิลปะอาจอยู่ที่ตัวศิลปะนั้น
เพียงอย่างเดียว สำหรับอีกหลายคน มันคือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวมากมายไว้ในกรอบเล็กใหญ่ต่างกัน
ประวัติศาสตร์บอกกับเราว่า คุณค่าของศิลปะไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวผลงานแต่เพียงอย่างเดียว
โดยเฉพาะในวันที่สียังเป็นของหายาก เรื่องราวที่เป็นพื้นหลังให้กับงานศิลปะ จึงมีความหมายไม่แพ้ศิลปะในตัวมันเอง
และเรื่องรางนี้ก็ถูกนํามาทําหนัง
ที่ชื่อเรื่องว่า Girl With A Pearl Earring
ที่เล่าเรื่องของ หญิงสาวในภาพเป็นสาวน้อย
ชื่อครีท (Scarlett Johansson) เธอเกิด
ในครอบครัวยากไร้จนต้องมาทำงานเป็น
คนใช้บ้านคนรวย นั่นคือ บ้านของจิตรกร
โยฮันส์ เวร์เมร์ (Colin Firth) นั่นเอง ในบ้าน
หลังนี้มีผู้อาศัยหลักๆ คือ โยฮันส์ ,ภรรยาท้องแก่ของเขา ,ลูกสาวตัวน้อย , หญิงชราผู้เป็นมารดาของภรรยา และคนรับใช้อีก 2-3 คน
รวมถึงสาวน้อยครีทด้วย
สามารถไปดูได้
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
โฆษณา