25 มี.ค. 2021 เวลา 04:30 • ท่องเที่ยว
อารยธรรมไทยของเราแพร่ขยายไปหลายที่ในยุโรป รัชกาลที่ห้าได้ศึกษาวัฒนธรรมยุโรป และได้ทำความรู้จักกับกษัตริย์ชาวเยอรมัน ดังนั้น วันนี้ แอดจะมาเล่าถึงเรื่อง
“ศาลาไทยในเยอรมัน”
ศาลาไทยในเยอรมันหรือ ศาลาไทยบาดโฮมบูรก์ จัดสร้างโดยงบประมาณของ กระทรวงการต่างประเทศ ออกแบบโดยกรมศิลปากร ได้รับพระราชทานพระบรม ราชานุญาตให้ดำเนินการจัดสร้าง โดยเชิญอักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ประดิษฐานที่หน้าบัน ทั้ง 3 ด้านของศาลาไทย การจัดสร้างศาลา ไทย หลังนี้ นอกจากจะเป็นการเทิด พระเกียรติฯแล้ว ยังเป็นอนุสรณ์สถานในโอกาสครบรอบ 100 ปี การเสด็จประพาสเมืองแห่งนี้ และแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับเยอรมนีที่มี มาช้านาน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จถึงเมืองบาดฮอมบวร์ก ในวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้มีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดลฯ ทรงเล่าถึงทัศนียภาพและประวัติความเป็นมาของเมืองบาดฮอมบวร์ก พระองค์ทรงประชวร แพทย์ของเยอรมันกล่าวว่า จะมารักษาตัวอย่างเต็มที่ เนื่องจากรัชกาลที่ห้า เป็นสหายคนสนิทของกษัตริย์ชาวเยอรมัน จึงได้สร้างศาลาไทยเป็นที่พักผ่อนของรัชกาลที่ห้า
สถาปัตยกรรมไทยอันงามสง่า แสดงถึงความเป็นไทยอย่างมีเอกลักษณ์ในแผ่นดินยุโรป ณ เมืองบาดฮอมบวร์ก มีที่มาอันสืบเนื่องจากบ่อน้ำ “โกนิคจุฬาลงกรณ์” ปรากฏรายละเอียดในหนังสือตามเสด็จไกลบ้านว่าหลังจากที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จกลับจากยุโรปได้ประมาณ ๒ ปี เมือง บาดฮอมบวร์กแจ้งความประสงค์ไว้ว่าจะจัดสร้างศาลาไทยครอบบ่อน้ำโกนิคจุฬาลงกรณ์ขึ้น จึงได้พระราชทานแบบศาลาและสิ่งของที่ใช้ในการก่อสร้างส่งไป
โฆษณา