Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้รอบขอบชิด
•
ติดตาม
15 มี.ค. 2021 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
การซื้อขาย จะสมบูรณ์ได้อย่างไร?
ในชีวิตประจำวัน เรานั้นต่างก็ต้องทำการซื้อขายด้วยกันทั้งนั้น บ้างก็เป็นคนซื้อ บ้างก็เป็นคนขาย บ้างก็เป็นทั้ง2อย่าง
แต่เรารู้หรือไม่ว่าหลักเกณฑ์การซื้อขายตามที่กฎหมายกำหนดเป็นอย่างไร
วันนี้”รู้รอบขอบชิด”จะมาขอเล่าให้ฟัง
https://sites.google.com/site/cd56020113/public-service/law/kar-sux-khay
การซื้อขาย
“ ซื้อขาย คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ผู้ขาย" โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน ให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ผู้ซื้อ" และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์นั้นให้แก่ผู้ขาย”
สัญญาซื้อขายมีลักษณะสำคัญดังนี้
1.เป็นสัญญาที่เกิดจากบุคคล 2 ฝ่ายค้อ ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ซื้อ อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ขาย วัตถุประสงค์ชอบด้วยกฏหมาย คำเสนอซื้อและขายตรงกัน
2.เป็นสัญญาต่างตอบแทน หมายถึง ผู้ซื้อและผู้ขายต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน ผู้ขายตอบแทนผู้ซื้อโดยโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ให้ ผู้ซื้อตแบแทนผู้ขายโดยชำระเงินให้
3.ไม่มีแบบแห่งสัญญา คือเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ชนิดธรรมดา จะสมบูรรณ์เมื่อมีการตกลงซื้อขายกันเว้นแต่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษนั้น จะสมบูรณ์ต้องมีแบบแห่งสัญญา คือทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
4. “เป็นสัญญาซึ่งมีวัตถุประสงค์แห่งสัญญา คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายแลกกับเงินตราอันเป็นราคาทรัพย์สินนั้น เนื่องจากสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่ได้ทำสัญญาโดยไม่มีใครต้องรู้เห็น”
ทรัพย์สินที่ซื้อขาย
“ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 137 บัญญัติว่า “ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง” และ ความหมายของทรัพย์สินมาตรา 138 บัญญัติว่า “ทรัพย์สินหมายความรวมทั้งทรัพย์ และวัตถุไม่มีรูปร่าง”ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ ฉะนั้นโดยหลักแล้วทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นประเภทมีรูปร่าง หรือ ประเภทไม่มีรูปร่าง เช่น สิทธิต่างๆ ย่อมทำการซื้อขายได้ทั้งสิ้น”
ทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามโอน
“ทรัพย์นอกพาณิชย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143 บัญญัติว่า ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่าทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามบทบัญญัตินี้ทรัพย์นอกพาณิชย์แบ่งเป็น
1.ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ เช่น ดวงอาทิตย์ , ดวงจันทร์ ดวงดาวบนท้องฟ้า แม้จะเป็นวัตถุมีรูปร่างแต่ไม่มีใครสามารถถือเอาได้ ดังนั้น จึงไม่สามารถซื้อขายกันได้ เพราะ สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ เมื่อไม่มีใครถือเอาเป็นกรรมสิทธิ์ได้ก็จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้
2. ทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้ด้วยชอบด้วยกฎหมาย
2.1 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เช่น ที่ดินรกร้างว่างเปล่าและที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืน หรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน, ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เช่นที่ชายตลิ่ง, ทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้น ป้อมและโรงทหาร
2.2. สิทธิที่กฎหมายห้ามโอน
2.3 ทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามขายจำหน่าย หรือมีไว้ เช่น รูปภาพ หรือสั่งของอันมีลักษณะลามก อนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 และอาวุธ
2.4 วัดและที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505
2.5 ทรัพย์สินส่วนกษัตริย์
2.6 ทรัพย์สินที่ได้มาในฐานะผู้รับพินัยกรรม”
ประเภทของสัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขายแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท
1. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
“สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด หรือ สัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์ คือสัญญาที่เกิดขึ้นจากการตกลงกันของคู่สัญญา โดยผู้ขายตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อทันทีอย่างเด็ดขาดในขณะทำสัญญา โดยไม่คำนึงถึงการส่งมอบหรือชำระราคาว่าจะทำกันเมื่อไร (มาตรา 455) ”
2. สัญญาจะซื้อจะขาย
“สัญญาจะซื้อจะขาย หรือ สัญญาจะซื้อขาย หมายถึง สัญญาซื้อขายที่ยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ คู่สัญญายังจะต้องไปทำอะไรต่อไปในอีกภายหน้า และสิ่งที่จะต้องทำก็คือทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั่นเอง ”
3. คำมั่นจะซื้อจะขาย
“คำมั่นจะซื้อจะขาย หรือคำมั่นในการซื้อขาย หมายถึง การที่ผู้จะซื้อหรือผู้จะขายได้ให้คำมั่นต่ออีกฝ่ายหนึ่งว่าจะทำการซื้อหรือขายทรัพย์สินที่ประสงค์จะทำการซื้อขาย ถ้าผู้รับคำมั่นได้สนองคำมั่นภายในเวลาที่กำหนดก็จะเกิดเป็นสัญญาซื้อขาย โดยคำมั่นนั้น จะผูกพันผู้ให้คำมั่นแต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้ให้คำมั่นไม่อาจถอนคำมั่นของตนภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ถ้าผู้ให้คำมั่น มิได้กำหนดเวลาถอนคำมั่นไว้ ผู้ให้คำมั่นจะกำหนดเวลาในภายหลังและถอนคำมั่นภายในเวลาที่กำหนดก็ได้
4. “ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข หมายถึง สัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงนำเอาเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนมาใช้เป็นเครื่องมือเหนี่ยวรั้งการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินตามสัญญาซื้อขาย เช่น
ตกลงว่ากรรมสิทธิ์จะยังไม่โอนจนกว่าผู้ซื้อจะชำระราคาให้เสร็จสิ้น ."
5. “สัญญาซื้อขายมีเงื่อนเวลา หมายถึง สัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงนำเอาระยะเวลาที่แน่นอนมาใช้เป็นเครื่องมือเหนี่ยวรั้งการโอนกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินตามสัญญาซื้อขาย เช่น ตกลงว่ากรรมสิทธิ์จะโอนไปยังผู้ซื้อภายในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ."
แบบของสัญญาซื้อขาย
สำหรับกฎหมายลักษณะซื้อขาย แบบของการทำสัญญามีแบบเดียวคือ การทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งทรัพย์สินประเภทที่ต้องทำแบบ คือ
1. “อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ที่ดิน ทรัพย์อันติดกับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน รวมทั้งสิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วย“
จากนิยามดังกล่าว อาจแบ่งอสังหาริมทรัพย์ออกได้ดังนี้
1.1. “ ที่ดิน หมายถึง พื้นดินทั่วไป รวมทั้งภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะและที่ชายทะเลด้วย
1.2. ทรัพย์อันติดกับที่ดิน ได้แก่ ไม้ยืนต้น อาคาร โรงเรือน หรือ สิ่งก่อสร้างบนที่ดิน เช่น บ้าน, ทาวน์เฮาส์, คอนโดมีเนียม
1.3. ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง แร่ธาตุ กรวด ทราย ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือซึ่งมนุษย์นำมารวมไว้กับที่ดินจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นดินตาม ธรรมชาติ”
2. “สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ คือ กฎหมายได้ถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ แต่มีบทพิเศษในส่วนของทรัพย์จำพวกนี้ ได้แก่”
“-เรือมีระวางตั้งแต่5ตันขึ้นไป
-แพ คือ แพที่เป็นที่อยู่อาศัยของคนเท่านั้น
-สัตว์พาหนะ ได้แก่ ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ และลา ที่ได้ทำเป็นตั๋วรูปพรรณ”
หน้าที่ของผู้ขาย
“สำหรับหนี้หลักของผู้ขายที่มีต่อผู้ซื้อ คือ การโอนการครอบครอง หรือการส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ เหตุผลที่กฎหมายจำต้องกำหนดให้ผู้ขายมีหน้าที่ประการนี้ เพราะโดยหลักของสัญญาซื้อขาย กรรมสิทธิ์ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่ได้ทำสัญญาโดยไม่มีใครต้องรู้เห็น”
หน้าที่ของผู้ซื้อ
“เมื่อผู้ขายมีหน้าที่ที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ขายย่อมมีสิทธิเรีกให้ผู้ซื้อรับมอบทรัพย์และชดใช้ราคาดังที่มาตรา 486 บัญญัติว่า ผู้ซื้อ จำต้องรับมอบ ทรัพย์สิน ที่ตน ได้รับซื้อ และ ใช้ราคา ตามสัญญา
ดังนั้นผู้ซื้อมีหน้าที่
-ต้องรับมอบทรัพย์สิน เว้นแต่กรณีที่อาจอ้างมูลมาตรากฎหมายได้เช่น ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินขาดตกบกพร่อง หรือล้ำจำนวน หรือระคนปนกับทรัพย์สินอื่น
-ต้องชำระราคา
-ผู้ซื้อมีสิทธิยึดหน่วง”
การรอนสิทธิ
“การรอนสิทธิ หมายถึง การที่ผู้ซื้อทรัพย์สินถูกบุคคลภายนอกมาก่อกวนขัดสิทธิในอันที่จะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข”
หลักฐานที่จะฟ้องร้องบังคับคดี
“กฎหมายบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือ ได้วางประจำ หรือ มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว มีฉะนั้นจะฟ้องร้องมิได้ ได้แก่
1.สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
2. .สัญญาจะซื้อขายสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
3.คำมั่นในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
4.คำมั่นในการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
5.สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ธรรมดาที่มีราคาตั้งแต่ 2หมื่นบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป
สำหรับหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีแม้กฎหมายจะบัญญัติไว้3วิธี แต่ก็มิได้หมายความว่าจะต้องทำ3วิธี เพียงแต่ทำวิธีใดวิธีหนึ่งก็สามารถฟ้องร้องคดีได้แล้ว”
อายุความในการฟ้องร้อง
“1. ในกรณีที่ผู้ขายส่งมอบทรัพย์น้อยกว่าหรือมากกว่าที่ตกลงตามสัญญา ผู้ซื้อต้องฟ้อง
ภายใน 1 ปี นับแต่วันส่งมอบทรัพย์สิน
2. ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นชำรุดบกพร่อง ผู้ซื้อต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง
3. ในกรณีที่เป็นการรอนสิทธิผู้ซื้อ ถ้าผู้ขายไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิมหรือถ้าผู้ซื้อได้ ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอก หรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ต้องฟ้อง คดีภายในอายุความ 3 เดือน นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่มีการ ประนีประนอมยอมความ หรือวันที่ผู้ซื้อยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง
4. ผู้ขายซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกค่าสินค้าจากผู้ซื้อ ต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ส่งมอบ”
อ้างอิง
http://specific-law-bung.blogspot.com/2011/08/blog-post_05.html
1 บันทึก
3
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย