16 มี.ค. 2021 เวลา 05:46 • การศึกษา
📍ถอดเคล็ดลับ "ราชาสมองเพชร" (โคโนะ เก็นโตะ)
10
ด้วยเทคนิคที่ใครๆ ก็ทำกันได้แบบง่ายๆจนสำเร็จ
3
จากหนุ่มญี่ปุ่นยอดอัจฉริยะ คนแรกที่คว้าแชมป์รายการ The King of Brains มากที่สุดถึง 3 ปี
👉 โคโนะ เก็นโตะ เขาคือใครกัน
ไปทำความรู้จักกันค่ะ....
(บทความนี้ขอไม่กล่าวถึงข่าวฉาวของเขานะคะ)
"โคโนะ เก็นโตะ" (Gento Kono) เขาคือเด็กหนุ่มชาวญี่ปุ่น ที่เรียนจบคณะแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโตเกียว พร้อมทั้งยังสอบเนติบัณฑิตตอนขณะเรียนเเพทย์ แบบผ่านในครั้งเดียว โดยใช้เวลาอ่านหนังสือเพียง 8 เดือนเท่านั้น จนได้รับการขนานนามว่า เป็นอัจฉริยะด้านการเรียนรู้ และจดจำ หรือ "ซูเปอร์แมนด้านการจำ" จากการได้เป็นแชมป์ในรายการ The King of Brains รายการที่เฟ้นหาสุดยอดอัจฉริยะในญี่ปุ่น เขาเป็นแชมป์ 2 ปีติดกัน (ปี 2018-2019) และในปี 2021 นี้เขาก็เป็นผู้ชนะ 🎉
นับเป็นคนแรกของรายการ ที่สามารถคว้าแชมป์ได้ 3 ปี
👉 "โคโนะ เก็นโตะ" เกิดที่โตเกียว เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 1996 พ่อทำงานเป็นพนักงานธนาคาร ส่วนแม่เปิดโรงเรียนกวดวิชาเอกชนอยู่ที่บ้าน โดยพ่อและแม่ของเขาก็จบจากมหาวิทยาลัยโตเกียวเช่นกัน เขาอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาจนถึงอายุ 8 ขวบ ก็ย้ายกลับมาอยู่ที่ญี่ปุ่น เเละเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนประถมที่โตเกียว
รูปภาพจากช่อง Youtube : รายการดูให้รู้ Duhiru
โคโนะ เก็นโตะ เริ่มเรียนรู้ตัวเลข ตัวอักษรภาษาอังกฤษ และฮิรางานะ เมื่ออายุยังไม่ถึงขวบ เรียนรู้สูตรคูณ ตอนอายุ 2 ขวบ และเรียนรู้การบวกลบ เมื่ออายุ 3 ขวบ
ตั้งแต่อายุสี่ขวบ เขาเริ่มเขียนคุมอง และชอบทำแบบฝึกหัดอยู่ตลอด จนเมื่อขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เขาสามารถทำโจทย์คณิตศาสตร์ระดับมัธยมปลายได้ รวมทั้งแคลคูลัส
พออายุได้ 8 ขวบ เขาก็ได้เดินทางกลับไปญี่ปุ่นพร้อมครอบครัว และเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนประถมที่โตเกียว โดยตอนชั้นประถมปีที่ 5 แม่ของเขาได้เริ่มให้เข้าเรียน Nichinoken และท้าทายให้สอบชั้นมัธยมต้น จนได้เข้าเรียนในโรงเรียนชายล้วน Seiko Gakuin High School ระดับมัธยมต้น มัธยมปลาย และไปโรงเรียนเตรียม (ซันได) เพื่อเตรียมตัว และจำลองการทดสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ
ถึงแม้ว่าเขาย้ายมาจากอเมริกา แต่เขาก็ยังเตรียมตัวในการเรียนภาษาอังกฤษอย่างหนัก จนสามารถสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ Eiken ผ่านตามเกณฑ์ และสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียวได้สำเร็จ
6
โดยในขณะที่เขากำลังเรียนที่คณะแพทย์ ชั้นปีที่ 2 เขาได้สอบเนติบัณฑิตผ่าน และสามารถเป็นทนายความ ในขณะที่ยังคงเป็นนักเรียนเเพทย์
1
ในปี 2017 เขาเริ่มสนใจในด้านอื่นๆ และได้เข้าร่วมการแข่งขัน Junon Super Boy Contest ครั้งที่ 30 ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 30 คนที่ดีที่สุด และเขาก็ได้เริ่มอีกอาชีพเป็นนายแบบ
1
รูปภาพจาก : https://mdpr.jp/photo/detail/4236790
ในปี 2018 เขาได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการ The King of Brains หรือชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า 最強の頭脳 日本一決定戦! 頭脳王 (ไซเคียวโนะซุโนนิฮ่องอิจิเค็ทเทเซน! ซุโนโอ) เป็นรายการแข่งขันตอบปัญหาทางช่อง NTV ของญี่ปุ่น โดยจะคัดเลือกคนที่มีสติปัญญาสุดล้ำในด้านต่างๆ เช่น ด้านความจำ การคำนวณ การคิดเชิงตรรกะ หรือจินตนาการ มาทำการแข่งขันกัน ผู้ที่ชนะจนได้เป็นเเชมป์ จะได้รับฉายาว่า "ราชาสมองเพชร" และได้รับเงินรางวัลจำนวน 1 ล้านเยน 🎉
1
โคโนะ เก็นโตะ ถือได้ว่าเป็นคนแรกที่ได้แชมป์จากรายการนี้มากที่สุดถึง 3 ปี คือในปี 2018 ปี 2019 และปี 2021
1
เขาได้รับอีกฉายาว่า "The God Brain of the University of Tokyo" (สมองเทพแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว)
รูปภาพจาก Facebook : สมาคมติ่งเก็นเก็นแห่งประเทศไทย
📍 พื้นฐานที่ดีเริ่มต้นจากครอบครัว
พ่อและแม่ของโคโนะ เก็นโตะ ให้ความสำคัญ และสนับสนุนในเรื่องของการเรียนรู้ของลูกมาโดยตลอดตั้งแต่เขาเกิด การเรียนรู้ที่บ้านในวัยเด็กของเขานั้น เกิดขึ้นจากวิธีคิดของคุณแม่ (Katsumi Kono)
คุณแม่เล่าให้ฟังว่า โคโนะ เก็นโตะ ในวัยที่ยังไม่ถึงขวบ ชอบเล่นรถไฟโทมัส แม่ของเขาก็จะพูดเล่าเรื่องของรถไฟให้ฟังไปเรื่อยๆ ตอนที่เขาเล่น จนเขาสามารถเรียนรู้ และชี้ได้ว่ารถไฟคันไหนชื่ออะไร เบอร์อะไร ในวัยเพียง 6 เดือน และนอกจากนี้เขายังชอบ และสนใจตัวเลข ตัวอักษรภาษาอังกฤษ โดยเขาจะชี้ตัวอักษรไปเรื่อยๆ แล้วคุณแม่ก็จะสังเกต และพูดให้ฟังไปเรื่อยๆ ว่าแต่ละตัวนั้นคือตัวอะไร
รูปภาพจากช่อง Youtube : ดูให้รู้ Dohiru
ตอนนั้นคุณแม่ของเขายังไม่รู้ว่าโคโนะ เก็นโตะ จะรู้เรื่องไหม แต่ก็ยังคงพูดให้ฟังไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งคุณแม่ได้ลองพูดชื่อตัวอักษรแล้วให้เขาชี้ เขาสามารถชี้ได้ถูกต้อง สิ่งนี้จึงทำให้คุณแม่ของเขาเริ่มเชื่อว่า ถึงแม้ลูกจะยังพูดไม่ได้ แต่ลูกสามารถรับรู้ และเข้าใจได้แล้ว หลังจากนั้นจึงเริ่มสอนตัวอักษรฮิรางานะ ให้ลูกได้เรียนรู้ในวัยที่ยังไม่ถึงขวบ
รูปภาพจากช่อง Youtube : ดูให้รู้ Duhiru
นับได้ว่าวัยเด็กของเขาอยู่กับการ์ตูน หนังสือ และตัวอักษร โดยคุณแม่จะคอยสังเกต และช่วยสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้กับเขาอยู่ตลอด จนเมื่อเขาอายุได้ 2 ขวบ ก็มีน้องสาว โคโนะ เก็นโตะ ได้อ่านหนังสือให้น้องของเขาฟัง แบบที่คุณแม่เขาชอบอ่านทุกอย่างให้เขาฟังเช่นกัน ทั้งที่น้องสาวยังไม่เข้าใจ แต่เขาก็อยากจะอ่านให้น้องสาวฟัง เพราะได้เรียนรู้มาจากคุณแม่
คุณแม่ของโคโนะ เก็นโตะ ได้กล่าวว่า "การเรียน คือการเล่น" การเรียนกับการเล่นต้องผสมกัน เมื่อใดที่รู้สึกสนุกกับการเรียน และการเล่น มันก็คือการพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ
1
วิธีการของคุณแม่ก็คือ การให้เขาได้เล่นคิดเลข ทำโจทย์ต่างๆแข่งกัน ในช่วงประถม ม.ต้น เขาสามารถคิดเลขได้ไวมากจนคนเป็นแม่ตกใจ แล้วพอแม่ตกใจก็ยิ่งชื่นชม เมื่อแม่ชื่นชมก็เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูก เขารู้สึกอยากที่จะเรียนรู้พัฒนาไปเรื่อยๆ คุณแม่ก็สอน และให้ทำโจทย์แข่งกันไปเรื่อยๆ แม่ก็ชื่นชมไปเรื่อยๆ จนกล่าวได้ว่า โคโนะ เก็นโตะ ในวัยเพียงชั้น ป.3 แต่มีความรู้เทียบเท่านักเรียนชั้น ม.6 แล้ว
1
👉 โดยทุกสิ่งที่เขาทำนั้น ไม่ได้ถูกบังคับ เขาสามารถไปเล่นอย่างอื่น หรือเลือกที่จะดูทีวีได้ แต่เขาเลือกที่จะเรียนกับคุณแม่ เพราะในความรู้สึกของเขาการเรียนกับคุณแม่ ก็เหมือนกับการเล่น เขาสนุกกับสิ่งนี้จนไม่ได้คิดว่ามันคือการเรียน
1
การสอนลูกในวันที่ลูกผิดหวังของคุณแม่ คือ "เมื่อลูกผิดพลาด คุณแม่จะยิ้ม และให้กำลังใจ" ในช่วงที่โคโนะ เก็นโตะ สอบเข้าเรียนในชั้นมัธยมต้นไม่ผ่านตามที่ตั้งใจ เขารู้สึกเสียใจมาก แม่และพ่อต้องเข้าใจ และให้กำลังใจเขา เพราะถ้าคุณแม่ทุกข์ลูกก็จะทุกข์ด้วย ความเข้าใจกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
👉 ด้วยการปลูกฝังเลี้ยงดูที่ดีอย่างมีแบบแผน ทำให้โคโนะ เก็นโตะ เป็นคนที่มีแบบแผนในชีวิต เมื่อเขาเรียนอยู่ชั้น ม.4 เขาวางแผนชีวิตที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยโตเกียวให้ได้ โดยการลงมือเริ่มเรียนล่วงหน้า ไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัยโตเกียว ให้จบตอนอยู่ชั้น ม.4 ทำให้ช่วง ม.5 ม.6 เขามีเวลาว่างมากพอที่จะเที่ยวเล่น ฝึกกีตาร์ เพื่อที่จะวางแผนต่อว่าช่วงที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยโตเกียว เขาจะเป็นนักร้องที่เก่ง
📍 พูดง่ายๆว่า เขาจะเตรียมการล่วงหน้าในชีวิต ก่อนสองถึงสามปี แบบจริงจังเสมอ การเตรียมตัวล่วงหน้า คือสิ่งสำคัญสำหรับเขามาก เพราะสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจ ลดความกังวลให้กับตัวเขา
เมื่อเข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว ตามที่หวังได้สำเร็จ ในช่วงที่เรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 เขาได้ไปเรียนด้านกฎหมายเพิ่มจากการเรียนแพทย์ เพราะเห็นถึงความสำคัญของวิชานี้ หากมีการฟ้องร้องเรื่องการรักษา ก็อาจจะเริ่มมีความเกี่ยวข้องกัน เขาสามารถสอบเนติบัณฑิตผ่านในครั้งเดียว โดยปกติคนที่สอบกันจะใช้เวลาในการเรียนอยู่ 3 ปี แต่เขาใช้เวลาเพียงแค่ 1 ปี จากการเรียนผ่านวิดีโอแบบรวดเร็ว
👉 คุณแม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนของเขา คุณแม่จะคอยถามถึงคดีความ ว่าเป็นยังไง แล้วจะแก้ยังไง เป็นการช่วยสนับสนุนให้ลูกของเขา ได้ถ่ายทอดความรู้ออกมา เมื่อพ่อแม่ได้ฟังลูกก็รู้สึกดีใจ และลูกก็รู้สึกสนุกอยากที่จะเรียนรู้ และถ่ายทอดให้ฟังอีก จนเขาสามารถสอบได้สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้
✒ คุณแม่ฝากทิ้งท้ายว่า อนาคตของลูกอยากจะเลือกเป็นอะไรก็ได้ แค่อยากให้ลูกได้ทำในสิ่งที่รัก และเป็นประโยชน์ต่อคนอื่น การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ และสนับสนุนอยู่ข้างๆเขา ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ
รูปภาพจากเว็บไซต์แหล่งอ้างอิงท้ายบทความ
📍 เทคนิคการคิดแบบกลับหลังของ โคโนะ เก็นโตะ
11
คือ....
1. ตั้งเป้าหมาย
: เช่น "จะทำคะแนนได้กี่คะแนนในการทดสอบ และเมื่อใด!"
1
2. หลังจากวิเคราะห์เป้าหมายแล้ว ให้กำหนดตารางเวลาคร่าวๆ
3. แบ่งตารางงานคร่าวๆออกเป็นชิ้นเล็กๆ และกำหนดงาน และเป้าหมายรายวันสำหรับวันนั้นๆ
📍📍5 ขั้นตอน ในการเขียนวิธีการคิดแบบกลับหลัง
1. รู้เป้าหมาย และตั้งเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม
: สิ่งสำคัญ คือต้องตั้งเป้าหมายที่ตรงกับสิ่งที่ตัวเองต้องการสูงสุด
2. กำหนดสิ่งที่อยากทำ (ตัดสินใจว่าต้องการทำอะไรบ้างตามเป้าหมาย)
1
: - ลองเปิดใจให้คนที่ประสบความสำเร็จในด้านนั้นๆสอน และจึงค่อยนำข้อมูลมาสรุป
- สรุปสิ่งที่ต้องลงมือทำ
- ยอมลงทุนให้กับตัวเองบ้าง
3. จัดทำตาราง (ใส่สิ่งที่ต้องทำลงในตารางเวลา)
: - จัดลำดับความสำคัญ
- ตั้งเป้าหมายในแต่ละวัน ว่าต้องทำอะไรบ้าง
4. ลงมือทำ
: - จดจำ
- ถามรายละเอียด
- สร้าง out put ถ่ายทอด
5. ตรวจสอบความคืบหน้าเป็นประจำ (ว่ามาในทิศทางถูกต้องหรือไม่)
1
: - ตรวจสอบผลเป็นระยะๆ
- วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้รับ
รูปภาพจากเว็บไซต์แหล่งอ้างอิงท้ายบทความ
📍📍📍 เทคนิคการเรียน
1. เทคนิคการท่องจำ
- ทบทวนหลายๆครั้ง
- ทำเครื่องหายกำกับให้กลับมาทวนซ้ำ
- มีการเล่นคำ เพื่อเพิ่มความจดจำได้ง่าย
- สร้าง out put หรือทำการถ่ายทอดออกมาหลายๆครั้ง
2. ลดความเครียด
- กำหนดระยะเวลาให้เหมาะสม
- เลือกเรียนในสิ่งที่ชอบ และเหมาะสมกับตัวเอง
- อ่านหนังสือร่วมกันกับเพื่อน
- พักผ่อน นอน เล่นดนตรี ดูทีวี
3. ใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพ
1
- หาเวลาว่าง
- อ่านวิชาที่ชอบแทนการพักผ่อน
- ใช้เวลาว่างอ่านหนังสือ ท่องศัพท์
1
4. เป้าหมายต้องไม่สูญเปล่า
- คิดแผนการที่ดี ที่จะไม่สูญเปล่า
- ระวังอย่าให้เครื่องมือกลายเป็นเป้าหมาย
- ทำเนื้อหาที่เข้าใจได้ดีแล้ว ให้เป็นคะแนนให้ได้
รูปภาพจาก Facebook : สมาคมติ่งเก็นเก็นแห่งประเทศไทย
📍📍📍📍 การเพิ่มแรงบันดาลใจ
1. สนุกกับการเรียน
: โดยมีแบบแผน จัดทำวงจร PDCA คือการบริหารงานอย่างมีคุณภาพ สิ่งนี้เขาบอกว่าจะทำให้คนที่ทำตามรู้สึกว่า "ฉันทำได้” และอยากจะต่อยอดพัฒนาขึ้นไปอีก
- P คือ Plan วางแผน
- D คือ Do ทำ
- C คือ Check ตรวจสอบ
- A คือ Action ปรับปรุงแก้ไข
2. มองหาข้อดีของการเรียน
: เช่น เขาสนุกกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
ข้อดี คือ ช่วยเพิ่มความสามารถในการแก้ไขปัญหา เพิ่มความสามารถในการคิด โดยอ้างอิงจากทฤษฎี เป็นต้น
3. มองหาวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการเรียน
: โดยการจัดเรียงลำดับความสำคัญ
รูปภาพจากเว็บไซต์แหล่งอ้างอิงท้ายบทความ
✒ สรุปสิ่งที่ได้รับ
1. ทำให้การเรียน คือเรื่องสนุกให้ได้
2. มองหาประโยชน์ของการเรียน
3. ดำเนินชีวิตอย่างมีแบบแผน PDCA
4. รู้จักที่จะจัดลำดับความสำคัญสิ่งที่จะทำในแต่ละวัน
5. คนที่ประสบความสำเร็จ คือคนที่มีเป้าหมาย รู้จักวางแผนชีวิต (แม้อายุเท่าไรก็ไม่สำคัญ)
6. ไม่ทำเป้าหมายให้สูญเปล่า ไม่ยอมแพ้กับความผิดหวัง มีความอดทน พยายาม เพื่อความสำเร็จ
7. รู้จักที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเองอยู่เสมอ
8. เลือกทำในสิ่งที่รัก และเหมาะสมกับตัวเอง
1
👉 สุดท้ายนี้ โคโนะ เก็นโตะ ก็ได้กล่าวตอบสัมภาษณ์คำถามที่มีคนถามเขาว่า “ตกลงว่าจะเป็นหมอ เป็นทนาย หรือทำงานในวงการบันเทิง”
: โคโนะ เก็นโตะ ตอบว่า “ไม่เห็นจำเป็นต้องจำกัดอย่างใดอย่างหนึ่งเลยครับ ในเมื่อเราเป็นได้ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องเลือกอย่างเดียว”
1
👏👏👏👏
🙏จบแล้ว🎉 ขอบคุณทุกคนนะคะ ที่แวะเข้ามาอ่านบทความนี้ร่วมกัน 💕💕
ขอบคุณเเหล่งข้อมูล และรูปภาพ
โฆษณา