15 มี.ค. 2021 เวลา 08:37 • หุ้น & เศรษฐกิจ
1วัน ของการเดินทางไปทำงาน ‘คนกรุงเทพ’ เสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?
รีวิวชีวิตคนกรุง ใช้ชีวิตในการทำงานในเมืองหลวง เวลา 1 วัน ตั้งแต่ตื่นนอน ออกจากบ้าน เดินทางไปทำงาน จะต้องมีค่าใช้จ่าย อะไรบ้าง เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น แบบ “ตัดไม่ได้เลย” และอะไรที่เสียไปกับค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย ที่สามารถตัดออกได้ หากเราเกิดเหตุฉุกเฉินหรือต้องเก็บออมเงินเพื่ออนาคตจริงๆ
มาเริ่มกันที่ “ตื่นเช้า” ทุกคนก็จะหาข้าวเช้ารับประทานกัน ก่อนเติมพลังงานก่อนลุยงานเต็มที่
- ค่าน้ำมันรถ ทางด่วน สำหรับใครที่ทำงานไกลบ้านแล้วใช้รถส่วนตัวในการทำงาน ขับรถไปเองก็ต้องมีต้นทุนเรื่องราคาน้ำมันรถ ค่าทางด่วน ค่าซ่อมบำรุง ค่าประกันรายปีต่างๆ มากมาย ที่จะเป็นต้นทุนที่จะต้องหักออกจากเงินเดือนที่ได้รับมา
- ค่าแท็กชี่ รถเมล์ เรือ วินมอเตอร์ไซค์ ส่วนใครที่ไม่มีรถส่วนตัวก็ต้องเพิ่งรถสาธารณะไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ แต่ก็ต้องตื่นไวหน่อย ส่วนใครที่ไม่ชอบโหนรถเมล์ก็อาจไปแท็กซี่ก็จะเปลืองเงินกว่า บางท่านเลือกที่จะเดินทาง ทางเรือ ก็เร็วดี ข้อเสียคือน้ำกระเด็น บางคนก็ต้องไปต่อวินมอเตอร์ไซค์เข้าไปที่ทำงานอีก เรียกได้ว่ากว่าจะถึงที่ทำงานหมดค่าเดินทางไปเยอะ
- อาหารกลางวัน ของว่าง อันนี้สำคัญเพราะเราต้องเติมพลังให้เพียงพอเพื่อให้อยู่ได้ตลอดทั้งวันเราต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาจจะตบท้ายด้วยของว่างนิดหน่อย
- ค่ากาแฟ ชาไข่มุก เช้ามาก็ต้องดื่มกาแฟเพื่อให้ร่างกายสดชื่น บ่ายๆ ก็อีกสักแก้วเพื่อให้หายง่วงนอนยามบ่าย ส่วนคุณผู้หญิงอาจจะเบาๆ ด้วยชาไข่มุก สวย ๆ
- ช้อปปิ้ง ข้างที่ทำงาน แน่นอนโดยเฉพาะคุณผู้หญิงขาช้อป หลังจากที่รับประทานอารหารเที่ยงเสร็จข้าง ๆ ออฟฟิศก็จะมีของมาขายเยอะมาก เสื้อ ผ้า หน้าผม มีมาเพียบทำให้ดึงเงินสาว ๆ ออกจากระเป๋าได้มากเลย
- ภาษีสังคมหลังเลิกงาน อันนี้หนักสุดเพราะบางออฟฟิศทุกเย็นหลังเลิกงานจะมีการตั้งวง สังสรรค์กัน ทั้งไปหาร้านชิลล์ ชิลล์ นั่ง หรือกินกันเองใกล้ ๆ ออฟฟิศ หรือไปทำกินกันที่บ้านใครคนใดคนหนึ่ง อันนี้ก็ต้องหารกันตามระเบียบ
ทั้งหมดนี้ คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจคร่าว ๆ ของ ‘คนกรุงเทพ’ ที่ใน 1วัน จะต้องทำอะไรบ้าง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีอะไรบ้าง แล้วเดือนหนึ่งเหลือเงินกันเยอะไหม ?
เงินเดือนที่เราได้รับเท่านี้กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวันของเราเหมาะสมหรือไม่ หรือเพียงพอหรือไม่ แล้วเราต้องหารายได้ช่องทางอื่นเสริมหรือไม่ หรือต้องประหยัดเงินในกิจกรรมส่วนไหนลง เช่น ภาษีสังคม เบาได้ขอให้เบา !
โฆษณา