15 มี.ค. 2021 เวลา 23:00 • ความคิดเห็น
ในหนังฮีโร จะมีความสามารถพิเศษอยู่อย่างหนึ่งเรียกว่า Healing Factor ที่สามารถรักษาอาการบาดเจ็บทางกายได้อย่างรวดเร็ว
ผู้ที่มีความสามารถนี้ก็ เช่น Wolverine Deadpool เป็นต้น
ด้านจิตใจของคนเราทั่วไป เมื่อเกิดการกระทบ แล้วเกิดการบาดเจ็บทางใจก็ย่อมมีการเยียวยาใจของปัจเจคบุคคลเช่นกันเป็นธรรมดา
เพราะหากชีวิตยังมีอยู่ ย่อมต้อง 'มุ้ปอร' กันต่อไป (นั่นมัน Move on ... แฮร่~)
จากความสามารถในการเยียวยาจิตใจให้กลับมาสู่สภาวะก่อนหน้าเกิดเหตุการหรือสภาวะใจปกติของคน ๆ นั้นได้นั่นเอง (Resilience)
ซึ่งที่นี้เราจะเรียกมันว่า "มุ้ปอร Factor"
ไม่ว่าการเรียน การทำงานจะถาโถมขนาดไหน
จะเจอมรสุมชีวิตซักเท่าไหร่
จะอกหัก รักคุด ไม่มีคนเห็นใจ ไม่มีคนแยแส ไม่มีใครเข้าใจ
โดนเพื่อนทิ้ง ไปห้องน้ำแล้วเพื่อนไม่ยอมไปด้วยกัน เพื่อนนัดกันเที่ยวแล้วไม่ชวนเรา พ่อแม่ให้ไปล้างจานแต่ยังไม่อยากไป
(ประมาณนี้ก่อน เดี๋ยวเยอะเกิน 5555)
คงไม่แคล้วคลาดให้เกิดการทุกข์ใจกันบ้าง
ซึ่งแต่ละคนก็จะมีวิธีการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นในใจของตัวเองแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ 'มุ้ปอร factor' ของคน ๆ นั้น อันมากจากองค์ประกอบหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการมองโลกในแง่ดี มีทัศนะคติที่ดี การควบคุมอารมณ์ มุมมองที่มีต่อความล้มเหลวว่าเป็นประโยชน์มากแค่ไหน เป็นต้น
แน่นอน หากเกิดความทุกข์ในใจไม่ว่าจะด้านไหน เช่น ความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ, ความไม่พอใจในตัวเอง, โรคระบาด เป็นต้น
แล้วไม่จัดการรับผิดชอบกับความรู้สึกนั้น หรือจัดการในทิศทางที่ไม่ได้ทำให้ดีขึ้นอย่างการเกิดกลไกการป้องกันตัวเอง (Defense Mechanisms ซึ่งเกิดได้โดยไม่รู้ตัวเลย) ก็อาจยิ่งทำให้ทุกข์ไปกันใหญ่ได้
และหากปล่อยไว้ให้เกิดการบาดเจ็บทางใจมาก ๆ ซ้ำ ๆ เข้าก็ก่อให้เป็นการบาดเจ็บเรื้อรังขึ้นไปอีกได้ (Chronic Trauma) ซึ่งก็เป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดซึมเศร้าได้เช่นกัน
กล่าวถึงเรื่องราวมหากาพย์แห่งความทุกข์ประมาณนี้ก่อน ...
... กลับมาที่ "การรับผิดชอบต่อความทุกข์" ที่เกิดขึ้น.
ก็คือเราจะจัดการกับมันอย่างไร?
.
(1) รู้ตัวก่อน ว่าใจเริ่มผิดปกติไปแล้ว
เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ หลายครั้งที่ความทุข์เกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย สำคัญคือต้องหมั่นสังเกตใจเสมอ ๆ ว่าตอนนี้ใจเราขุ่นหรือไม่
.
(2) ยอมรับ
ยอมรับว่ามันได้เกิดขึ้นในใจแล้ว พร้อมกับสังเกตว่าเป็นอารมณ์ความรู้สึกแบบไหน เช่น โกรธ อิจฉา เศร้า กลัว เกลียดชัง หงุดหงิด หดหู่ สับสน น้อยใจ เป็นต้น
หลายครั้งอาจระบุไม่ถูก ก็ค่อย ๆ เรียนรู้อารมณ์ของตัวเอง ไม่ต้องรีบร้อน
ที่ต้องฝึกยอมรับเพราะกลไกการป้องกันตัวเองที่เราไม่รู้ตัว จะทำให้เราปฏิเสธและปิดกั้นว่าเรามีความรู้สึกแบบไหน โดยเฉพาะถ้าเป็นสิ่งที่ทำให้ตัวเราดูน่าเกลียดในสายตาตัวเอง
.
(3) ทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ
โดยการตั้งคำถาม ครุ่นคิด และสังเกตใจ
เกิดอะไรขึ้นกับใจเรา? เรากังวลอะไร? เราต้องการอะไร? สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมันต้องเป็นอย่างไรถึงจะถูกใจเรา?
เพื่อหาเหตุในเหตุ ลงลึกไปเรื่อย ๆ
ไม่แน่ ถ้าลึกพออาจเจอถึงต้นต่อที่เป็นเหตุการณ์สำคัญต่ออารมณ์หรือ SEE (Significant Emotional Experience) ได้เลย
.
(4) จัดการหรือระบายออกมา
- ด้วยตัวเอง -> กลับมาที่ลมหายใจเข้าออก, สังเกตอารมณ์นั้นเฉย ๆ มองว่ามนไม่ใช่ตัวเรา แค่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในเรา, *ทบทวนว่าเราได้เรียนรู้หรือเติบโตอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้นบ้าง(Growth Mindset), มองมุมอื่น ๆ บ้าง (มุมของอีกฝ่าย, มุมของคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเหตุการณ์เลย บลา ๆ) ฯลฯ
- ใช้สิ่งภายนอกช่วย -> เขียนออกมา, พูดระบายสิ่งที่อัดอั้นในใจให้คนที่ไว้ใจฟัง, ปรึกษาจิตแพทย์ ฯลฯ
นอกจากนี้ 'มุ้ปอร' Factor ยังขึ้นอยู่กับมุมมองหรือทัศนะคติของคน ๆ นั้น
.
เช่น
มองว่าที่ล้มเหลวนั้นเพราะตัวเองดีไม่พอหรือตัวเองแย่ vs เป็นแค่เหตุการณ์เฉพาะที่เรายังไม่เคยผ่าน แล้วเรียนรู้มันเป็นบทเรียนเตือนตนต่อไป
ชีวิตนี้ต้องสมบูรณ์แบบ (Perfectionist) vs ก็เป็นปกติ เป็นธรรมชาติที่จะมีพลาดบ้าง สมหวังบ้าง ด่างพล้อยบ้าง
ตัวเรานั้นจะมีค่าเมื่อ ... (เงื่อนไข) vs คนเราล้วนมีค่าอยู่แล้ว
เป็นเพราะเขา(หรือฉัน) เลยทำให้ทุกอย่างมันเป็นแบบนี้ //หาคนผิด vs ยังไงมันก็เกิดขึ้นมาแล้ว เราจะช่วยกันรับมืออย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้กันดี //หาทางแก้ไขหรือทางออก
.
เป็นต้น
ทุกสิ่งบนโลกนี้ล้วนไม่สมบูรณ์ แม้แต่มนุษย์ รวมถึงตัวเรา
ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันก็ได้เกิดขึ้นไปแล้ว แต่หากเรายังไม่ตาย ชีวิตย่อมมีวันพรุ่งนี้ การฝึกที่จะล้างใจให้ผ่องใสอยู่เนือง ๆ จึงสำคัญ ถ้าความสุขเป็นสิ่งที่เธอต้องการ อันเป็นหัวใจของ 'มุ้ปอร Factor'
ไม่เป็นไรเลยนะ ที่เธอจะยัง 'มุ้ปอร' ไม่ได้ในตอนนี้ จงฝึกใจดีกับตัวเองให้มาก ๆ, ให้อภัย และเมตตาต่อทุกความรู้สึก
ขอแค่อย่าเพิ่งทิ้งความศรัทธาในตัวเอง เชื่อว่าซักวันจะทำได้
แค่นี้ก็ดีมาก ๆ แล้วนะ
ขนาดโกคู ตัวเอกในเรื่องดราก้อนบอล ตอนที่ได้พลังต่าง ๆ มาใหม่ ๆ ยังต้องฝึกฝน เรียนรู้ และทำความรู้จักมันเลย
คนเราก็เหมือนกัน มีพลัง 'มุ้ปอร Factor' อยู่ในตัวกันอยู่แล้ว แค่ต้องฝึกฝนเรียนรู้กันไป แล้วซักวันจะใช้มันได้อย่างคล่องแคล่วเอง
อ้างอิง
- ส่วนหนึ่งของ Resilience: Psychologytoday (Website)
โฆษณา