Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ทีพี ที่ปรึกษากฎหมาย
•
ติดตาม
16 มี.ค. 2021 เวลา 13:35 • ความคิดเห็น
สื่อมวลชนที่เผยแพร่ข่าว ภายหลังปรากฏว่าข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง
จะอ้างว่าได้ข้อมูลมาจากแหล่งข่าว และเผยแพร่ข่าวตามหน้าที่ หรือแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตได้หรือไม่
เรื่องทำนองใกล้เคียงกันนี้ เคยเป็นคดีสู่ศาลฎีกามาแล้ว โดยคำพิพากษาฎีกาที่ 14169/2557
คดีนี้เป็นคดีพิพาทในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
ผู้เสียเสียหายเป็นนายตำรวจ ถูกจำเลยซึ่งเป็นสื่อมวลชนท้องถิ่นรายหนึ่งเผยแพร่ข่าวว่า
นายตำรวจนำยาเสพติดจำหน่ายให้กับชาวบ้าน
โดยสื่อมวลชนอ้างว่านำข้อมูลมาจากหนังสือร้องเรียนหนึ่งฉบับที่มีผู้ส่งมาให้ แต่ไม่มีการลงชื่อผู้ร้องเรียน
ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงแล้วได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้ไว้ว่า
"... ในฐานะเป็นสื่อมวลชน เมื่อมีหนังสือร้องเรียนซึ่งไม่ได้ลงชื่อผู้ร้องเรียนเพียงฉบับเดียวเท่านั้น ข้อมูลในการกล่าวหาโจทก์ที่ได้มาเพียงเท่านี้ วิญญูชนย่อมทราบได้ว่าอาจมีการกลั่นแกล้งกัน
จำเลยที่ 3 ต้องใช้ความระมัดระวังในการเสนอข่าวมากเป็นพิเศษ จะถือว่าเป็นสื่อมวลชนแล้วจะเสนอข่าวอย่างใดก็ได้นั้นมิได้
มิฉะนั้นอาจจะเป็นช่องทางให้บุคคลบางคนบางกลุ่มใช้สื่อในการทำลายชื่อเสียงกันและย่อมถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยมิชอบอีกด้วย
การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงไม่ถือว่าเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริตหรือเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชน
การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นความผิด..."
สรุป เป็นสื่อมวลชนต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ต้องตรวจสอบ
เพียงแต่รับข้อมูลหรือได้ข่าวมาแล้วเผยแพร่ต่อทันทีไม่ได้ เพราะสื่อมวลชนอาจตกเป็นเครื่องมือในการทำลายชื่อเสียงเสียเอง
หากไม่ตรวจสอบไม่ใช้ความระมัดระวัง จะอ้างว่าทำตามหน้าที่หรือแสดงความเห็นโดยสุจริตไม่ได้
#คดีหมิ่นประมาท #หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา #หน้าที่สื่อมวลชน
Reference:
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14169/2557
https://deka.supremecourt.or.th/
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย