17 มี.ค. 2021 เวลา 08:30 • ธุรกิจ
ต้นทุนแรงงาน (Labor costs) ไม่ได้มีแค่เงินเดือนอย่างเดียว
ต้นทุนแรงงาน (Labor costs) ไม่ได้มีแค่เงินเดือนอย่างเดียว
หลายคนคงคิดว่าต้นทุนแรงงาน (Labor costs)
นั้นมีแค่เงินเดือนของพนักงานประจำ (Full-time staffs)
แต่แท้จริงแล้วมันเป็นแค่เพียงส่วนเดียวเท่านั้น
เพราะยังมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานอื่นๆอีก
ที่เราจำเป็นจะต้องรู้ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละร้านดังนี้
1.ต้นทุนพนักงานรายเดือน (Full-time staffs)
ค่าใช้จ่ายนี้เป็นส่วนที่มากที่สุดของ Labor costs
คือ 70-80% ของต้นทุนก้อนนี้ ซึ่งโดยปกติต้นทุน labor costs นี้
จะอยู่ที่ประมาณ 15-20% ของรายได้
2. ต้นทุนพนักงานพาร์ตไทม์ (Part-time staffs)
แต่ละร้านอาจมีต้นทุนก้อนนี้ต่างกัน หากเรามีพนักงานพาร์ตไทม์
มากก็อาจกระทบต่อคุณภาพของการบริการ
แต่หากเรามีแต่พนักงานประจำไม่มีพาร์ตไทม์เลย
เวลายอดขายเราตกจะทำให้ Labor costs เราสูงขึ้นมา
3. ค่าเซอร์วิสชาร์จ (Service charges)
3
ถึงแม้บางร้านจะชาร์จค่า SC ลูกค้าอยู่ที่ 7-10%
แต่เรามักจะให้พนักงานประมาณ 3% เท่านั้น
โดยจะคำนวณจากจำนวนชั่วโมงการทำงานของพนักงานแต่ละคน
ในวันนั้นๆ บางร้านอาจจะให้ 3% โดยหักค่าจานชามแตก
ค่าทำอาหารผิดพลาด บางร้านอาจให้เต็มโดยไม่หักเลย
4. ค่าโอที (OT)
ตามกฏหมายแรงงาน พนักงานคนนึงจะทำงานได้ไม่เกิน 8 ชม.ต่อวัน
หักเวลาพักไปแล้ว หากมีการทำงานนอกเหนือจากนี้
จะต้องจ่ายค่าล่วงเวลา (OT) อยู่ที่ 1.5 เท่าของอัตราค่าแรงต่อชม
แต่หากมีการทำงานในวันหยุดของพนักงานคนนั้น
ก็จำเป็นต้องจ่าย OT 2 เท่า
5. ค่า Incentives หรือ คอมมิชชั่น
บางร้านที่อยากกระตุ้นพนักงานให้ช่วยเชียร์ขายเมนู
หรือช่วยขายให้ได้ตามเป้า อาจมีการเสนอเงิน Incentives
ให้พนักงาน โดยอาจเสนอเป็นรายวันหรือรายเดือนก็ได้
6. ค่าประกันสังคม (Social security)
หากร้านคุณมีการขึ้นทะเบียนลูกจ้างกับประกันสังคม
นายจ้างจะมีหน้าที่หักเงินจากลูกจ้างส่วนหนึ่งและนายจ้าง
ต้องจ่ายเงินสมทบอีกส่วนหนึ่ง และนำส่งกองทุนประกันสังคมในทุกๆเดือน
7. โบนัสประจำปี (Bonus)
เจ้าของร้านส่วนใหญ่มักลืมคิดค่าใช้จ่ายตัวนี้ในแต่ละเดือน
ลงไปในต้นทุนแรงงาน ทำให้สิ้นปีอาจไม่เหลือเงินที่จะนำมา
จ่ายค่าโบนัสพนักงาน หรือทำให้กำไรเหลือน้อยลงกว่าที่คิดไว้ในตอนแรก
8. สวัสดิการต่างๆ (ฺBenefits)
บางร้านอาจมีค่าเดินทางและค่าอาหารให้กับพนักงาน
หรืออาจมีค่าฝีมือหรือค่าบริหารจัดการสำหรับพนักงาน
ในบางตำแหน่ง เหล่านี้อาจไม่ได้เป็นข้อบังคับสำหรับร้านอาหาร
แต่มันคือส่วนหนึ่งที่ทำให้พนักงานอยากมาทำงานกับทางร้านมากยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่าต้นทุนแรงงาน (Labor costs) นั้นไม่ได้มีแค่
เงินเดือนประจำเท่านั้น แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมาย
หากเราไม่มีการบันทึกค่าใช้จ่ายเหล่านี้ลงไปให้ครบ
อาจส่งผลต่อการบริหารจัดการที่ผิดพลาด
และกำไรต่อเดือนที่หายไปก็เป็นได้
ติดตามTorpenguin - ผู้ชายขายบริการในช่องทางอื่นๆได้ที่
ติดต่องาน E-mail : torpenguin.channel@gmail.com
โฆษณา