17 มี.ค. 2021 เวลา 08:49 • ดนตรี เพลง
ถ้าคุณเป็นคนทำเพลง การใช้งาน Compressor เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ
แล้ว Compressor แต่ละประเภทมีหน้าที่ต่างกันยังไง แบบไหนควรใช้กับงานประเภทไหน ProPlugin มีคำตอบ !!!
Compressor เป็นหนึ่งในปลั๊กอินที่จำเป็นต่อการมิกซ์เพลงอย่างมาก เป็นตัวช่วยให้เราจัดการน้ำหนักของเสียงให้มีความหน่วงหรือกระชับขึ้น
📍 สำหรับประเภทที่ แรก VCA Compressor 📍
VCA ย่อมาจาก “Voltage-Controlled Amplifier” แปลแบบตรงตัว คือ “แรงดันไฟฟ้าควบคุม ภาคขยาย” อธิบายให้เข้าใจง่ายกว่านั้นคือวงจรขยายสัญญาณที่อาศัยแรงดันไฟฟ้าควบคุมอัตราขยายของสัญญาณขาออกนั้นเอง
เนื่องจาก VCA Compressor จะให้เสียงที่ใส สะอาด และยังทำหน้าที่ รวมหรือยึด (Glue) Mix ของเราให้แน่นเข้าด้วยกัน VCA Compressor จะนิยมใช้เป็น Buss Compressor
ทั้งนี้เรายังสามารถใช้ได้ตั้งแต่ Recording, Mixing หรือ Mastering ซึ่งเราสามารถควบคุมแล้วหนักในการกดด้วยปุ่ม Threshold, Ratio, Attack และ Release ลองปรับเพื่อให้เหมาะกับเสียงที่เราต้องการนะครับ
VCA Compressor ที่นิยมใช้กันคือ API 2500, SSL G-Master Buss Compressor และ Shadow Hills Mastering Compressor
📍 ต่อมาประเภทที่สอง FET Compressor 📍
FET ย่อมาจาก “Field Effect Transistor” ถือว่าเป็นตัวจี๊ดในวงการ Compressorเพราะถูกออกแบบมาพร้อมกับค่า Attack และ Release ที่เร็วสุดในรุ่น
พร้อมวงจรแบบ Transistor มากับ Harmonic Distortion (ความผิดเพี้ยนของเสียง) ที่ยังสามารถให้คาแรคเตอร์เสียงที่จัดจ้าน ดุเด็ดเผ็ดมัน เป็นที่ชื่นชอบของเหล่า Mixing Engineer เพราะช่วยเพิ่มสีสันและความตื่นเต้นใน Mix ได้เป็นอย่างดี
นิยมใช้เป็น Buss และ Parallel compression เพื่อเสียงมีความ Punchy ให้กับเสียง Guitar เสียงแตก, Bass, Kick, Snare หรือ เสียงร้องโดดเด่นยิ่งขึ้น บอกเลยว่าสาย Rock ต้องถูกใจสิ่งนี้
ในกรณีที่ต้องการ Mix เสียงให้มีความนุ่ม สำหรับ FET Compressor นี้อาจจะไม่เหมาะสมเท่าไหร่ครับส่วน FET Compressor ที่นิยมใช้กันตลอดกาลและมีการจำลองในรูปแบบ Plugin เกือบจะทุกเจ้านั่นก็คือ “1176 Compressor” นั่นเอง
📍 ประเภทที่สาม Optical Compressor 📍
หรือเรียกอีกอย่างว่า Opto เป็น Compressor ที่ให้ “แสง” เป็นตัวควบคุม (เช่นแสง LED) ซึ่งจะให้เสียงที่ Smooth แล้ว ธรรมชาติ ด้วยการออกแบบการกำหนดค่า Ratio ตายตัวที่ 3:1 และ Attack, Release ที่ค่อนข้างช้า
ซึ่งนิยมใช้กันมากหรือขาดไม่ได้เลยในการนำมาปรับใส่ในเสียงร้อง และเพิ่มคาแรคเตอร์ให้กับเสียงให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น
ไม่เพียงใช้ในเสียงร้องเท่านั้น Optical Compressor สามารถใช้กับเสียงอื่นๆ ได้เหมือนกันไม่มีผิดหรือถูก ขึ้นอยู่ว่าต้องการเสียงแบบไหน เลือกใช้ตามความชอบและความเหมาะสมดูได้เลยครับ
Optical Compressor ที่นิยมใช้กันและมีการจำลองในรูปแบบ Plugin เกือบจะทุกเจ้านั้นก็คือ “LA-2A Compressor หรือบางเจ้าจะใช้ชื่อว่า "Opto Compressor”
📍 ประเภทสุดท้าย Variable Mu Compressor 📍
คุณปู่ในตระกูล Compressor มีอายุเก่าแก่ที่สุด เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงต้นๆ ยุค 50's มีการใช้ Tubes และ Transformers ควบคุม Gain-Reduction ที่แตกต่างจาก Compressor ตัวอื่นๆ นั่นคือ Soft-Knee Compression
ในส่วนนี้ทำให้ Gain-Reduction ค่อยๆ ทำงานและปรับให้โทนเสียงที่ได้มีความอุ่น แบบ “Vintage” และด้วยค่า Attack ที่ออกแบบมาค่อนข้างช้าจึงมักนิยมใช้ในการ Mix เครื่องคนตรีแบบ Stereo และ Mastering ร่วมด้วย
Variable Mu Compressor ที่นิยมใช้กันและมีการจำลองในรูปแบบ Plugin คือ Fairchild 670 และ Manley® Variable Mu Limiter Compressor นั่นเองครับ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : TEE
หากผู้อ่านชื่นชอบในบทความต่างๆ สามารถกดติดตาม Blockdit ProPlugin ของเราได้เลยครับ เพื่อเป็นกำลังใจในการผลิตคอนเทนต์เพื่อทุกคนต่อไป
นอกจาก Blockdit แล้วเรายังมีช่องทางการอื่นอีกตามด้านล่างนี้เลย หากอยากสอบถามเกี่ยวกับความรู้หรทออุปกรณ์ด้านครีเอเตอร์และดนตรี สามารถสอบถามเข้ามาได้เลยครับ
COMPRESSOR แต่ละประเภทมีหน้าที่ต่างกันยังไง
โฆษณา