19 มี.ค. 2021 เวลา 02:40 • ธุรกิจ
Teladoc แอปพบหมอ บนจอสมาร์ตโฟน กำลังโตระเบิด
3
ในช่วงปีวิกฤติโควิด 19 ที่ผ่านมา บริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการแพทย์
ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับความสนใจมากที่สุดจากกลุ่มนักลงทุน
2
นอกจากบริษัทยาและผู้พัฒนาวัคซีน ที่เราคุ้นหู
อย่าง Moderna, Pfizer หรือ AstraZeneca แล้ว
2
อีกหนึ่งบริษัทที่มาแรงไม่แพ้กันก็คือ “Teladoc” อ่านว่า เทลาด็อก
ซึ่งเป็นเจ้าของแอปพลิเคชันที่ทำให้คนไข้พบกับหมอ บนจอสมาร์ตโฟน
6
รู้ไหมว่า ปัจจุบัน Teladoc มีมูลค่าบริษัทราว 9 แสนล้านบาท
เพิ่มขึ้นมามากถึง 1,470% ในระยะเวลาเพียง 5 ปี
2
มูลค่าเพิ่มขึ้นมากขนาดนี้
แล้ว Teladoc เติบโตดีขนาดไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Teladoc ถูกก่อตั้งขึ้นโดย Byron Brooks และ Michael Gorton ในปี 2002 หรือราว 19 ปีก่อน
โดยเริ่มต้นทำธุรกิจ “Telemedicine” หรือ การปรึกษาแพทย์จากทางไกล
1
โดย Telemedicine ในที่นี้คือ การที่คนไข้
สามารถเข้ามาในแพลตฟอร์มของ Teladoc
เพื่อรับคำปรึกษาหรือรับการวินิจฉัย จากทางคุณหมอได้ทันที
หรือแม้แต่จะนัดไว้ล่วงหน้าก็ทำได้เช่นกัน
สำหรับช่องทางการเข้าถึงคุณหมอ
ก็มีตั้งแต่การพูดคุยกันทางโทรศัพท์
หรือจะเป็นในรูปแบบของวิดีโอคอลผ่านเว็บไซต์
รวมถึงแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนก็ได้
Cr. InnerBody
หากคนไข้จำเป็นต้องได้รับยา
คุณหมอก็สามารถออกใบสั่งยาให้คนไข้นำไปซื้อยาต่อได้ทันทีเช่นกัน
หลายคนอาจจะคิดว่ากลุ่มลูกค้าหลักของบริษัท
ก็คือ “บุคคลทั่วไป” ที่ป่วย และต้องการจะพบแพทย์
แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่แบบนั้น..
แล้วใครกันที่เป็นลูกค้าของ Teladoc ?
ตรงนี้ เราลองมาดูโครงสร้างรายได้
ของบริษัท Teladoc Health ที่แบ่งออกเป็น
- ระบบสมาชิกสำหรับลูกค้าองค์กร 79%
- ค่าธรรมเนียมของลูกค้าทั่วไป 19%
- อื่น ๆ 2%
2
จากโครงสร้างรายได้จะเห็นได้ว่า Teladoc มีรายได้หลัก
มาจาก “บริษัท” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่
โดย Teladoc ก็ได้ระบุว่าลูกค้ากลุ่มนี้เป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม Fortune 500
หรือบริษัทสัญชาติอเมริกัน ที่สร้างรายได้มากที่สุด 500 อันดับแรก มากถึง 40%
โดยกลุ่มลูกค้าองค์กร จะจ่ายค่าสมาชิกเพื่อให้พนักงานของบริษัทได้ใช้บริการ
ซึ่งก็ถือเป็นการให้สวัสดิการกับพนักงาน
ที่ส่วนใหญ่จะตกลงจ่ายกันเป็นสัญญาในระยะยาว
โมเดลการหารายได้ตรงนี้ มีลักษณะเป็นรายได้ประจำ หรือ “Recurring Income”
คล้ายกันกับการหารายได้ของเจ้าของซอฟต์แวร์องค์กรอย่าง Microsoft และ Adobe นั่นเอง
1
ทีนี้เรามาดูกันว่า Teladoc เติบโตขนาดไหน ?
1
ปี 2017 รายได้ 7,171 ล้านบาท ขาดทุน 3,281 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 12,842 ล้านบาท ขาดทุน 2,983 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 17,003 ล้านบาท ขาดทุน 3,038 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 33,617 ล้านบาท ขาดทุน 14,908 ล้านบาท
1
รายได้เติบโตเฉลี่ย 67% ต่อปี ซึ่งเป็นการเติบโตจากการสมัครสมาชิกให้พนักงานองค์กรเป็นหลัก
ในปีที่ผ่านมา Teladoc มีสมาชิกองค์กรอยู่ในมือ 51.8 ล้านราย เติบโตขึ้น 41%
และมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นบุคคลทั่วไปราว 21.3 ล้านราย เติบโตขึ้น 10%
ตลอดทั้งปีจะมีคนไข้เข้าพบคุณหมอผ่าน Teladoc ราว 3 ล้านครั้ง
ซึ่งเติบโตขึ้นจากปีก่อนหน้ามากถึง 156%
ในขณะเดียวกัน เราก็จะเห็นได้ว่าบริษัทก็ยังขาดทุนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในปี 2020
1
ที่ขาดทุนเพิ่มขึ้นมาก ส่วนหนึ่งก็มาจากค่าใช้จ่ายด้านการขายและการบริหาร ที่เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของรายได้ ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งมาจาก ค่าใช้จ่ายพิเศษที่เกิดขึ้นจากการเข้าซื้อบริษัท Livongo
ซึ่งการเข้าซื้อที่ว่านี้ มีมูลค่าสูงถึง 5.6 แสนล้านบาท
ถือเป็นหนึ่งในดีลการเข้าซื้อกิจการที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปีที่ผ่านมา
Cr. Forbes
แล้ว Livongo ที่ Teladoc เข้าไปลงทุนซื้อ ทำธุรกิจอะไร ?
จริง ๆ แล้ว Livongo เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเรื้อรังสามารถตรวจสุขภาพทางไกล และบริษัทก็จะมีผู้เชี่ยวชาญคอยตรวจสอบสุขภาพ และให้คำแนะนำกับคนไข้
ทีนี้ พอทั้ง 2 บริษัทมารวมกัน
Teladoc ก็จะได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่เป็นผู้ป่วยเรื้อรัง และเป็นเจ้าของอุปกรณ์ตรวจสุขภาพ
ในขณะที่ Livongo ก็จะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าหลายสิบล้านรายของ Teladoc ได้ทันที
ซึ่งดีลนี้แม้จะดูมีมูลค่ามหาศาล แต่พอมาดู Synergy ที่เกิดขึ้น ก็เรียกได้ว่าน่าติดตาม
2
และเมื่อรวมกับผลประกอบการที่เติบโตได้ดี และธุรกิจได้ประโยชน์จากวิกฤติโรคระบาด
ทั้งหมดนี้ก็ได้สะท้อนไปยังมูลค่าหุ้นของบริษัท Teladoc
ที่เคยขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 308 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น ในช่วงที่ผ่านมา
คิดเป็นมูลค่าบริษัทสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท
ซึ่ง ARK Invest ของคุณเคธี วูด ก็เป็นหนึ่งในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
ที่เข้ามาลงทุนใน Teladoc ในสัดส่วนที่สูง เช่นกัน
จากการเติบโตแบบก้าวกระโดดของ Teladoc ที่ผ่านมา
ก็ถือเป็นหนึ่งในเรื่องที่น่าติดตาม เพราะดูเหมือนว่าธุรกิจที่ Teladoc ทำอยู่
กำลังจะบอกเราว่าถ้าคุณไม่ได้ป่วยหนัก ก็มาปรึกษากับคุณหมอผ่านแอปพลิเคชันได้
สะดวกรวดเร็ว แถมไม่ต้องเดินทาง
Cr. Teladoc
ซึ่งตรงนี้เราก็ต้องมาดูกันว่าการสเกลของ Teladoc ไปยังต่างประเทศ
นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา ที่มีโครงสร้างทางสาธารณสุขที่แตกต่างกัน จะทำได้ดีขนาดไหน
ซึ่งก็อดคิดไม่ได้ว่าถ้า Teladoc รุกเข้ามาที่ประเทศไทย
พฤติกรรมคนไทยจะเปลี่ยนไปใช้บริการประเภทนี้
เหมือนกับที่เราเริ่มหันเข้าหาแพลตฟอร์มที่มาแทนห้างสรรพสินค้าหรือร้านอาหาร
อย่าง Lazada, Shopee และ Grab หรือไม่
หรือด้วยความที่คนไทยเข้าถึงโรงพยาบาลได้ง่ายอยู่แล้ว
เราก็จะยังเลือกไปยังโรงพยาบาลเหมือนเดิม..
1
โฆษณา