20 มี.ค. 2021 เวลา 23:00 • ธุรกิจ
สรุป Clubhouse หัวข้อ: BUJO for CEO ผู้นำยุคใหม่กับเทคนิคการบริหารจัดการแบบบูโจ
.
Speaker คุณนันท์ ปภากร สุทธินันท์ Chief Operating Officer บริษัท RPPS Consult Co.,Ltd. และ เจ้าของเพจ Minimalist Bullet Journal Thailand
1. Bullet Journal คือ ระบบการจัดลำดับความสำคัญในชีวิตเพื่อนำมาบริหารเวลา
2. Bullet Journal เหมาะสำหรับทุกคนตั้งแต่เด็กนักเรียนวัยประถม วัยนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ผู้บริหาร ไปจนถึงวัยเกษียณ เพราะการใช้ Bullet Journal คือ การรู้ตัวว่าแท้จริงแล้วเราต้องการอะไร? การรู้ว่าเราทำไปเพื่ออะไร? และเราจะตอบสนองความต้องการนั้นได้อย่างไง?
3. เริ่มต้นง่ายๆ จากการตั้งเป้าหมาย หรือ Setting Goal ของตัวเองก่อน เมื่อเรารู้ว่าเราต้องการทำอะไรในชีวิต หลังจากนั้นให้เดินตามเป้าหมายในชีวิตตามช่วงเวลาของเรา
4. เป้าหมายและความต้องการของเราเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ เพราะเวลาเปลี่ยน ความคิด และความฝันของคนเราก็เปลี่ยนแปลงได้เสมอ
5. สำหรับบูโจในวัยเด็กนักเรียน อาจจะเป็นการเขียนเป้าหมายเรื่องการเรียน และการหาความชอบส่วนตัว
6. สำหรับช่วงวัยทำงานให้เน้นเรื่องการดำรงชีวิต การสร้างครอบครัว การวางแผนการเงินในหน้าที่การงาน รวมถึงวางแผนเกษียณ
7. Bullet Journal ในการทำงาน สำหรับคนที่เป็น First Jobber จะช่วยทำให้เราใช้เวลาที่จะเรียนรู้กับสิ่งที่เราต้องการ หรือสิ่งที่เราถนัด หรือรู้ว่าสิ่งที่เราชอบคืออะไร
8. พอเราโตขึ้นมาเป็นตำแหน่งที่สูงขึ้น หน้าที่การทำงานและประสบการณ์ก็จะช่วยสอนเราให้รู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า เจ้านาย หัวหน้า เพื่อนที่ทำงาน ซึ่ง Bullet Journal ก็จะเข้ามาช่วยเราบริหารชีวิตของเราในตรงจุดนี้ ทำให้เราไม่สับสนกับหน้าที่ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงสามารถ Balance ชีวิตของเราให้เป็นไปตามที่เราอยากจะเป็นด้วย
9. Bullet Journal จึงเป็นระบบที่เป็น Guideline ที่ดีสำหรับทุกช่วงชีวิต
10. นอกจากนี้ Bullet Journal ใช้กับการวัดผลได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการวัดผลแบบ Balance Score Card / KPIs / OKRs หรือการวัดผลรูปแบบอื่นๆ
11. Balance Score Card คือ การนำเอาสถิติของเก่ามาประเมินร่วมกับสถานการณ์ของตลาดในปัจจุบันว่าบริษัทต้องเดินไปทางไหน โดยส่วนใหญ่ คือ เดินไปข้างหน้าอย่างเดียว เพราะเราวัดกันด้วยตัวเลขและสถิติล้วนๆ
12. KPIs คือ การวัดผลที่ถูกกำหนดมาแล้วจากผู้บริหาร ซึ่งพนักงานสามารถเปลี่ยนแปลงได้ยาก การวัดผลในรูปแบบนี้อาจจะไม่ค่อยเหมาะกับพนักงานที่เป็นผู้คิดค้นไอเดียต่างๆ อย่าง สถาปนิก Creative โฆษณา Graphic Designer หรือ แผนกวิจัยและพัฒนาที่ต้องคอยคิดค้นอะไรใหม่ๆ เป็นต้น
13. การวัดผลการทำงานขึ้นอยู่กับ 3 สิ่งที่สำคัญคือ
1) Value : การสร้างคุณค่าของชีวิต / ของบริษัท หรือเรียกว่า ความชอบ
2) Mission : พันธกิจของชีวิต / ของบริษัท หรือเรียกว่าสิ่งที่เราต้องการที่จะเป็น
3) Vision : วิสัยทัศน์ หรือเรียกง่ายๆ ว่า เราอยากจะเป็นอะไรในอนาคต
14. ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ตำแหน่งผู้บริหาร หรือแม้แต่เจ้าของบริษัท เราต้องถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าเราสามารถตอบโจทย์ 3 ข้อนี้ได้หรือยัง ถ้าตอบได้แล้วกระบวนการ หรือการวัดผลถึงจะเริ่มขึ้น จากนั้นวางแผนการทำงานและมาถึงขั้นตอนลงมือทำ
15. OKRs เป็นระบบที่สามารถปรับเปลี่ยนการวัดผลได้ตลอด เมื่อจบการทำงานแบบ Sprint ในแต่ละอย่างแล้ว ถือว่าเป็นการวัดผลที่ค่อนข้างมีความยืดหยุ่นสูงมาก และองค์กรสมัยใหม่ก็นิยมจะใช้กันมากขึ้น
16. สำหรับคนที่สนใจเรื่องการวัดผล โดยเฉพาะการวัดผลในเรื่องชีวิตส่วนตัว แนะนำให้อ่านหนังสือ "Personal OKRs ชีวิตจะสำเร็จตามเป้าหมาย ถ้าวัดผลได้เป็นระบบ" เขียนโดย ศ. ดร.นภดล ร่มโพธิ์ หนังสือเล่มนี้จะทำให้เรารู้จักการสร้างพันธกิจ (Mission) วิสัยทัศน์ (Vision) และสิ่งสำคัญของชีวิต (Value) รวมถึงเข้าใจหลักการออกแบบ OKRs สำหรับชีวิตประจำวัน รู้จักวิธีตั้ง OKRs ของชีวิตในระยะยาว ระยะสั้น และเพิ่มโอกาสทำเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้ประสบความสำเร็จ
17. ทิ้งท้าย 10 ข้อคิด ไขกุญแจสู่ประตูความสำเร็จ
1) มีเป้าหมายในการทำงานเสมอ
2) รู้จักลำดับความสำคัญ
3) Start with the end in mind มองที่ผลลัพท์ความสำเร็จ
4) มองภาพรวมแล้วลงลึกถึงรายละเอียดได้
5) เน้นแก้ปัญหาที่ Pain Point พร้อมทั้งหาสาเหตุ
6) ต้องรู้จักคิดบริหารความเสี่ยงหรือเผื่อใจเอาไว้สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
7) ล้มแล้ว ลุกได้
8) รู้จักถามคำถามให้เป็น
9) รู้จักการใช้เงินทำงาน
10) รู้จักหลับตาข้างเดียวให้เป็น เพราะเรื่องบางเรื่องเราต้องรู้จักปล่อยวาง
โฆษณา