21 มี.ค. 2021 เวลา 06:24 • ประวัติศาสตร์
ปัญหาของศิริราชสมัยแรก คือ ไม่มีเงินทุน ไม่มีหมออยากประจำ และไม่มีผู้ป่วยอยากรักษาที่นี่
2
...
เมื่อปี พ.ศ.2424 เกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้น มีการตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวใน 48ตำบล เมื่อโรคระบาดซา
โรงพยาบาลก็ได้ปิดทำการลง
2
แต่ในใจรัชกาลที่ 5 ท่านตระหนักว่าโรงพยาบาลนั้นจะมีประโยชน์ต่อไปในภายภาคหน้า แต่การสร้างโรงพยาบาลเป็นเรื่องใหญ่ทั้งบุคลากร และทุนทรัพย์
1️⃣ ไม่มีเงินทุน
พ.ศ.2429 รัชกาลที่ 5 ตั้งคณะกรรมธิการ ซึ่งมีสมาชิก 9 คน หนึ่งในนั้นคือพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ (ลูกร.4) และ ดร.เคาแวน หมอประจำรัชกาลที่ 5 หรือที่เรียกว่าหมอกะเวน สร้างโรงพยาบาลแรกขึ้น โดยตกลงกันว่าเป็นโรงพยาบาลทดลอง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวังหลังซึ่งเป็นที่รกร้างขณะนั้น
2
จึงมีบางคนเรียกโรงพยาบาลวังหลัง
1
พ.ศ.2430 เจ้าฟ้าศิริราช พระราชโอรสองค์หนึ่งของร.5 สิ้นพระชนม์ด้วยโรคบิด ท่านเสียใจมาก ตั้งใจว่ากิจการโรงพยาบาลต้องสำเร็จให้ได้
4
เสร็จจากงานพระเมรุเจ้าฟ้าศิริราช ร.5 ให้รื้อเครื่องใช้ต่าง ๆ ในงานพระเมรุไปสร้างโรงพยาบาล พระราชทานทรัพย์ส่วนของเจ้าฟ้าศิริราชแก่โรงพยาบาล และตั้งชื่อโรงพยาบาลว่า "ศิริราช"
2
โรงพยาบาลว่าศิริราชจึงได้รับทุนทรัพย์ จนก่อสร้างสำเร็จ
2
2️⃣ ไม่มีหมออยากประจำ
ในสมัยนั้นแพทย์ยังเป็นแพทย์แผนไทยทั้งสิ้น ใช้พืชพันธุ์รากไม้มาต้มเป็นยา และได้ผลดี
1
การใช้แพทย์แผนไทยมีอุปสรรคคือต่างคนต่างอิจฉา หวงวิชา ไม่ยินดีแลกเปลี่ยนความรู้ วิชาถือเป็นความลับ และไม่ทำงานร่วมกัน
6
ในที่สุดพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ทรงชักชวนแพทย์หลวงแผนโบราณท่านหนึ่งที่มีชื่อเสียงและเลิกทำงานแล้วมาทำงานได้
ต่อมาการสาธารณสุขเริ่มขยายตัว มีโรงพยาบาลเปิดขึ้นอีก จึงมีการตั้งโรงเรียนการแพทย์แผนใหม่ขึ้นที่โรงพยาบาลศิริราช
ในที่สุดจึงเริ่มมีนักเรียนแพทย์สำเร็จออกมา
1
แต่ก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี แพทย์ฝรั่งจึงหากินในเมืองไทยร่ำรวยได้อีกนาน
1
3️⃣ ไม่มีผู้ป่วยอยากรักษาที่นี่
ผู้อ่านคงแปลกใจ เพราะเป้ยก็แปลกใจเหมือนกัน เพราะทุกวันนี้ใครก็อยากเข้าศิริราช
แต่ตอนที่โรงพยาบาลเริ่มเปิด ชาวบ้านคุ้นเคยกับการรักษาด้วยยาไทยยาโบราณมาตลอด ไม่มีใครอยากลองยาฝรั่งเพราะไม่มั่นใจ ไม่มีใครอยากไปโรงพยาบาลเพราะไว้ใจหมอของตนมากกว่า
เว้นแต่คนที่เจ็บป่วยหนักที่รักษาด้วยยาไทยแล้วไม่หาย ค่อยยอมใช้อะไรก็ได้รักษา จึงไปโรงพยาบาล
แต่อาจเพราะช้าไป เมื่อไปอยู่โรงพยาบาลได้ไม่นานก็เสียชีวิต คนจึงทึกทักว่าไปโรงพยาบาลคือไปตาย เลยไม่กล้าไป
4
ในเบื้องต้น หมอกะเวน เสนอว่าให้นำขอทานที่เป็นโรคผิวหนังมารักษา แต่ขอทานกลับโกรธว่าถ้ารักษาหายจะเป็นการตัดอาชีพทำมาหากิน
7
จึงเกณฑ์มหาดเล็กที่เจ็บป่วยเล็กน้อยมารักษา เมื่อรักษาหาย ประชาชนเริ่มคิดว่าโรงพยาบาลรักษาดี จึงเริ่มมาโรงพยาบาลกันจนเตียงไม่พอรับคนไข้ในที่สุด
1
...
บทความนี้ใช้ภาษาเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ และหากมีข้อผิดพลาดประการใด กรุณาชี้แจงอย่างสุภาพค่ะ
อ้างอิจจากหนังสือเจ้าชีวิต
เขียนโดยพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
เป้ย 21 Mar 21
โฆษณา