21 มี.ค. 2021 เวลา 13:40 • การศึกษา
ประวัติศาสตร์เงินตรา (3 / 5)
เพื่อให้เงินกระดาษ (ธนบัตร) ของประเทศตัวเอง ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ จึงเริ่มมีประเทศที่อ้างอิงราคาที่พิมพ์บนธนบัตรของตัวเองกับทองคำ เป็นสัญญาว่า สามารถนำธนบัตรของตัวเองไปแลกเปลี่ยนเป็นทองคำตามที่ระบุได้เสมอ และนั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า "มาตรฐานทองคำ" หรือ Gold Standard นั่นเอง
มาตรฐานทองคำ มาตรฐานเงินตรา
ระบบมาตรฐานทองคำ (gold standard) ถือเป็นระบบมาตรฐานการเงินระหว่างประเทศระบบแรกที่ประเทศต่างๆ นำมาใช้ในการทำการค้าระหว่างกันอย่างกว้างขวาง โดยเริ่มต้นที่ประเทศสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ในปี ค.ศ. 1816
ในยุคนั้นสหราชอาณาจักรเป็นผู้นำทั้งในด้านอุตสาหกรรม การค้าระหว่างประเทศ การทหารและการเมือง เป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก เป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก ทำให้เงินปอนด์สเตอร์ลิงของสหราชอาณาจักรได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างมาก
ระบบมาตรฐานทองคำ ถือว่ามีเสถียรภาพสามารถทำงานได้ค่อนข้างราบรื่น โดยมีการขยายตัวของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศโดยเงินปอนด์สเตอร์ลิงถือเป็นเงินสกุลหลักของโลก รวมทั้งมีปัญหาความขัดแย้งในนโยบายของประเทศต่างๆ ค่อนข้างน้อย จนอาจกล่าวได้ว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นยุคทองของความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นกลไกที่ช่วยสนับสนุนด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เหรียญทองของอังกฤษ 1 เหรียญทองมีค่า 1 ปอน์ดสเตอร์ลิง
สหรัฐอเมริกา ก็เริ่มใช้ มาตรฐานทองคำอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1900 แต่ต้องระงับการใช้มาตรฐานทองคำในปี ค.ศ. 1919 เช่นเดียวกับอังกฤษ สาเหตุเพราะการปะทุขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นผลให้หลายปรเทศต้องการพิมพ์เงินอย่างบ้าคลั่ง เพื่อซื้อเสบียง อาวุธยุโธปกรณ์ การผูกค่าเงินของตนกับทองคำกลับกลายเป็นอุปสรรค ทองคำถูกห้ามส่งออก เมื่อประเทศไม่สามารถหาทองคำมาหนุนหลังธนบัตรของตนได้ จึงไม่สามารถพิมพ์เงินได้ดังใจประสงค์ หลายประเทศจึงยกเลิกการผูกค่าเงินตัวเองกับทองคำ ปี ค.ศ. 1925 ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ยุติไปแล้ว อังกฤษกลับมาใช้มาตรฐานทองคำอีกครั้ง แต่เพราะเศรษฐกิจถถถอยอย่างรุนแรงหลังสมคราม อังกฤษจึงตัดสินใจยกเลิกการใช้มาตรฐานทองคำโดยสมบูรณ์ในปี 1931 ซึ่งทำให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายในระบบการเงินการธนาคารของโลก ประชาชนไม่เชื่อมั่นในเงินกระดาษที่พิมพ์โดยรัฐบาล โดยประชาชนเลือกที่จะถือทองคำมากกว่าเงินของรัฐบาล
เพื่อยุติความโกลาหลโดยเฉพาะต่อภาคธนาคาร ในปี 1933 ปธน. รูสเวลธ์ ของสหรัฐอเมริการ จึงประกาศห้ามไม่ให้ประชาชน ธุรกิจ ห้างร้าน กิจการของสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของทองคำ โดยทุฝ่ายต้องขายทองคำที่ตนเองถือครองให้แก่ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริการ ในราคา 20.67 เหรียญต่อออนซ์
1
ข้อตกลงเบรตตันวูดส์
สงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1939 – 1945) ได้ส่งผลเสียหายต่อชีวิตและผู้คนและความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างประมาณค่ามิได้ ดังนั้นจึงได้มีการร่วมมือกันเพื่อที่จะกอบกู้เศรษฐกิจเพื่อไม่ให้ประเทศผู้แพ้สงครามเดือดร้อน จึงมีการประชุมกันปรึกษาหารือกัน ในปี 1944 ที่เมืองเบรตตันวูดส์ มลรัฐนิวแฮมเชียร์ สหรัฐอเมริกา โดยประเทศเข้าร่วมประชุมจำนวน 44 ชาติเพื่อแสวงหาแนวทางความร่วมมือกันเพื่อหาแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกภายหลังสงคราม เพื่อจัดระเบียบการเงินในโลกใหม่โดยกำหนดให้มีการใช้ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ แต่ไม่ใช่ระบบมาตรฐานทองคำดังในอดีต มีเพียงดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นที่ตรึงมูลค่ากับทองคำที่ 35$ ต่อทองคำน้ำหนัก 1 ออนซ์ ในขณะที่สกุลอื่นๆ ก็กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนตายตัวกับเงินดอลลาร์สหรัฐอีกทอดหนึ่ง
อัตราแลกเปลี่ยนตามมาตรฐาน Bretton Woods 35 US$= 1 Oz ทองคำ
ข้อสังเกต
1. สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ทำให้เศรษฐกิจของประเทศในยุโรปและเอเซียถูกทำลายย่อยยับและตกต่ำเป็นอย่างมาก ในขณะที่ด้วยที่ตั้งที่แยกออกไปเป็นเอกเทศ ทำให้สหรัฐอเมริกาแทบไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกทั้งสองครั้งเลย ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวสหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นประเทศมหาอำนาจของโลก
2. ข้อตกลงเบรตตันวูดส์ เกิดขึ้นช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 จะยุติโดยสมบูรณ์ (1 ปีก่อนการทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ในปี ค.ศ. 1945) เป็นช่วงที่กลุ่มพันธมิตรเริมได้รับชัยชนะ ฝ่ายอักษะพ่ายแพ้ถอยร่น อิทธิพลของสหรัฐอเมริการขึ้นสู่จุดสูงสุด จึงไม่น่าแปลกใจว่าข้อตกลงจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจขอสหรัฐอเมริกามากกว่าประเทศอื่นๆ
โฆษณา