22 มี.ค. 2021 เวลา 06:37 • ปรัชญา
ความอิจฉาริษยา ถนนอีกสายที่พาให้เดินทางผิด
มนุษย์เราโดยพื้นฐานชีวิตประจำวันเรา จะมีส่วนของอารมณ์ควบคู่ไปด้วยเสมอ ไม่ว่าจะดีใจ โกรธ เศร้า แต่สิ่งที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ก็คือ “ความอิจฉา” ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเรามีและใช้มันอยู่เสมอ โดยที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
ความอิจฉานั้นไม่ใช่เรื่องผิดปกติ อยู่ที่เราจะยอมรับมันได้หรือไม่ คนที่คุ้นชินกับความอิจฉามากที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นคนที่มีพี่น้อง เนื่องจากต้องตกอยู่ในสถานะที่ต้องแบ่งปันสิ่งของต่าง ๆ น้องอาจจะอิจฉาพี่ที่ได้แต่ของใหม่ แต่ตัวเองได้แต่ใช้ของนั้น ต่อจากพี่ หรือบางครอบครัว พ่อแม่อาจจะตามใจน้องเกินไปจนคนเป็นพี่เป็นอันต้องตาร้อนอยู่ทุกวี่วัน
‘การกระทำที่กลั่นออกมาจากความอิจฉา ซึ่งหลายคนไม่ได้ยอมรับด้วยซ้ำ’
หรือหากมองในสังคมยุคนี้ เราจะเห็นได้ทั่วไปเลยว่าความอิจฉานั้นมีอยู่ทุกหนแห่ง โดยเฉพาะในโลกโซเชียล ที่เห็นได้ชัดคือการคอมเมนต์ถึงบุคคลที่โพสต์ภาพซื้อของใหม่ นู่นนี่นนั่น บอกว่า ซื้อของที่ไม่จำเป็น มีเงินอย่างเดียวไม่ได้นะ ต้องโง่ด้วย เหล่านี้แหละคือการกระทำที่กลั่นออกมาจากความอิจฉา ซึ่งหลายคนไม่ได้ยอมรับด้วยซ้ำ
สิ่งที่เราควรทำกับความอิจฉาของตัวเองนั้น ขั้นแรกคือควรยอมรับกับตัวเองก่อนเลยว่า ฉันกำลังอิจฉาเขาอยู่ แล้วในขั้นต่อ ๆ ไปคือการยอมรับในสิ่งที่ตนมี ไม่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น หรือหากอยากมีอยากได้แบบเขาเราก็ควรต้องพยายามทำมันด้วยตัวเอง
อิจฉาจนพาให้เดินในทางที่ผิด
เมื่อเราเกิดความอยากมีอยากได้ หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือ โลภ มักจะตามมาด้วยความทะเยอทะยานเสมอ ซึ่งอันที่จริงนั้นความทะเยอะทะยานถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันคือการวางเป้าหมายของตัวเราให้ชัดเจนและลงมือทำเพื่อให้ถึงจุดหมาย ทำให้เรามีพลังสู้กับอุปสรรค ข้อดีของความทะเยอทะยานที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด คือเรื่องของคนเดินพื้นที่เห็นนกบินก็คิดอยากจะบินได้บ้าง จนเวลาล่วงเลยไปโลกเรามีเครื่องบินใช้กันถึงทุกวันนี้
โฆษณา