24 มี.ค. 2021 เวลา 00:24 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เงินเฟ้อ คืออะไร??
ช่วงนี้มักจะได้เห็นข่าว ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อกัน วันนี้มารู้จักกันว่า เงินเฟ้อคืออะไร
2
เงินเฟ้อ คือ การที่สินค้าและบริการโดยเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้น เช่น ค่าอาหาร ค่าแก๊สหุงต้ม ค่าน้ำมัน ค่ายา ค่าเสื้อผ้า ค่าเดินทาง ค่าห้องพัก และอื่นๆ
1
จะเห็นว่า ภาวะเงินเฟ้อจะขึ้นอยู่กับ 2 เรื่องหลัก
อย่างแรก มีคนต้องการสินค้าและบริการนั้นจำนวนมาก เมื่อ demand ในตลาดมาก ก็ทำให้คนที่ขายสินค้าหรือบริการ สามารปรับราคาสินค้าและบริการได้
อย่างที่ 2 คือ ต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ก็จะให้คนขายไม่สามารถขายได้ในราคาเดิมก็ต้องปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น เช่น คนขายอาหารตามสั่ง ถ้าค่าแก๊ส ค่าไข่ ของสดเพิ่ม เขาก็จะปรับราคาอาหารที่ขายเราเพิ่มขึ้น
ทั้ง 2 เรื่องก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ และตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญที่รัฐก็จะเข้ามาควบคุมเงินเฟ้อ ให้อยู่ในภาวะสมดุล ไม่ขึ้นมากเกินไป หรือน้อยไป เพราะเศรษฐกิจจะดี ต้องมีภาวะเงินเฟ้ออยู่บ้าง ประมาณ 1-3% เพราะเมื่อมีภาวะเงินเฟ้ออ่อนๆ แสดงว่าผู้คนมีการจับจ่ายใช้สอย ผู้ผลิตก็ขายของได้ ได้กำไร ก็เพิ่มการผลิตสินค้า หรือบริการมากขึ้น มีการจ้างงาน การลงทุนมากขึ้น ซึ่งก็จะดีกับเศรษฐกิจ
จาก 2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อ คือ ความต้องการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการที่เพิ่มมากขึ้น และต้นทุนของสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ
ดังนั้น คนที่เข้ามาดูแลเรื่องนี้ ก็จะเป็น
1. กระทรวงพาณิชย์ ที่เข้ามาดูแลราคาสินค้าและบริการ ไม่ให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสในช่วงสินค้าขาดแคลนปรับเพิ่มราคาสินค้ามากเกินไป และช่วยตรึงราคาสินค้าที่จำเป็นกับประชาชนโดยทั่วไปตามความเหมาะสม ตรงนี้ก็จะช่วยควบคุมไม่ให้เงินเฟ้อเพิ่มมากเกินไปได้ส่วนหนึ่ง
2. ธนาคารกลาง หรือบ้านเราก็คือธนาคารแห่งประเทศไทย หรือที่เราชอบเรียกันว่า แบงค์ชาติ การดูแลภาวะเงินเฟ้อของแบงค์ชาติ จะเป็นการดูแล ผ่านอาวุธสำคัญคือ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
2
โดยเมื่อมีเงินเฟ้อเริ่มเพิ่มมากเกินไป แบงค์ชาติจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพราะเมื่อมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น ประชาชนก็เริ่มชะลอการใช้จ่าย เอาเงินไปออมเพิ่มขึ้น จะกู้เงินมาซื้อบ้าน ซื้อรถ ก็จะระวังมากขึ้น เพราะเมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลกับการกู้เงินไปเพิ่มกำลังการผลิต หรือขยายกิจการของผู้ประกอบการต่างๆ ตรงนี้ก็จะส่งผลต่อผู้ประกอบต่างๆ ที่อยู่ในตลาดหุ้นด้วยนะ
4
จึงเป็นกลไกเพื่อให้เงินเฟ้ออยู่ในสมดุลที่เหมาะสมนั่นเอง ส่วนถ้าเงินเฟ้อน้อยเกินไป แบงค์ชาติก็จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะส่งผลในทิศทางกลับกันนั่นเอง
ภาวะเงินเฟ้อควรมีในระบบเศรษฐกิจในภาวะที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
ซึ่งภาวะเงินเฟ้อนี้จะส่งผลต่อเงินในกระเป๋าเราด้วยนะ เมื่อราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น นั่นก็แปลว่า เงินเราจำนวนเท่าเดิมจะซื้อสินค้าได้น้อยลง หรือก็คือ มันทำให้มูลค่าเงินของเราลดลงตามเวลานั่นเอง
เช่น ถ้าเราฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์เฉยๆ ที่ได้ดอกเบี้ยเงินฝาก แทบจะ 0% ต่อปี แต่มีภาวะเงินเฟ้ออยู่ประมาณ 1.5% ต่อปีไปเรื่อยๆ จะเห็นว่า เงินที่เราฝากไปเรื่อยๆ มูลค่าของมันจะ “ลดลง” ไปเรื่อยๆ ปีละ 1.5% แบบทบต้น แบงค์ 1000 บ. ใบเดิม แต่ซื้อของได้น้อยลงไปเรื่อยๆ
1
จึงเป็นสาเหตุที่เราควรศึกษาและเริ่มลงทุน เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากโดยเฉพาะเงินฝากออมทรัพย์ในปัจจุบัน ไม่สามารถชนะอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นได้
#หมอยุ่งอยากมีเวลา
#เงินเฟ้อ
#เงินเฟ้อคืออะไร
#มูลค่าของเงินตามเวลา
#มูลค่าเงินลดลง
โฆษณา