25 มี.ค. 2021 เวลา 08:11 • ไลฟ์สไตล์
Culture shock ด้านภาษา
เมื่อจากเมืองใต้ มาอยู่กทม ใหม่ๆ
จะเล่าให้ฟังว่าตอนนั้นสามล้อ^^_^^ เดินทางมา กทม ครั้งแรกเพื่อมาเรียนม.ปลาย
ถึงแม้จะพูดภาษากลางได้ชัด
…แต่วัฒนธรรมการใช้คำพูดก้อยังแตกต่างกันอยู่หลายๆอย่าง
…อย่างเช่น....
“เอา/พา”
ตอนเรียนเคยพูดไปว่า…“ผมลืมพาดินสอมา” เพื่อนหันมามองกันทั้งห้อง..... ดินสอมรึงใหญ่ขนาดไหนฟ่ะ ถึงจะต้องพามาด้วย
555555555
4
“กินเป็นมั้ย”
หลายๆครั้ง เวลาออกไปหาอะไรทานกะเพื่อน
เพื่อนก้อสั่งของอร่อยที่ตัวเองชอบมา แล้วถามเราว่ากินเป็นมั้ย
.....เราก้อตอบแบบซื่อๆว่า อ่อ ....กินเป็นซิ... แต่ไม่ชอบกิน
.... ไม่ก้อตอบว่า กินเป็นๆ... ดูแล้วไม่น่ากินยาก …
เพื่อนก้อมองประมาณว่า กวนทรีนนะเมริงงงง :)
นี่ถ้าเป็นสมัยนี้อาจตอบว่า...ไม่น่ายาก …ไม่เป็นไร เด้วเปิดกูเกิ้ลดูได้ ฮี่ๆๆ
2
หลายๆคำเป็นคำพูดที่เหมือนภาษากลางทั่วไป แต่ความหมายต่างออกไปอีก เช่น
ชวนเพื่อนไปธุระ... เพื่อนถามว่าอีกไกลมั้ย เราก้อตอบว่า แค่ๆ
เพื่อนก้องงซิ...ว่าทำไมไม่พูดต่อให้จบ...แค่ไหนก้อว่ามา
ถามทีไรก้อตอบแค่ๆ….....ซึ่งแค่ๆแปลว่าใกล้ๆนี่เอง 55555555
2
อีกคำคือคำว่า”นิ”
…ทำไมต้อง”นิ”ด้วย …
…ไม่”นิ”ก้อเข้าใจอยู่แล้ว พอมี”นิ”เข้ามา ทำให้งงเลย :p
ปกติคำนี้จะเป็นเหมือน suffix ของภาษาที่พูดกันทั่วไป
…คล้ายอุทานเสริมบทมั้ง
มาพักหลังๆคำนี้ก้อเริ่มแพร่ซึมleakออกมาลงท้ายประโยคติดปากในภาษากลางบ้างแล้วนิ :)
6
แถมอีกคำ “สงขลาหอน – นครหมา” ..
...โบร๋ววววววววววว....โอ๊ะ.....มะช่ายยยยยย
แต่หมายถึง.... การเคยกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น คำว่าไม่เคยไป คนสงขลาจะเอิ้นว่า ....ไม่หอนไป
แต่คนนคร จะพูดว่า หมาไปมั๊ย .....ซึ่งแปลว่าไม่เคยไปเหมือนกัน
2
อ่อ....อีกคำ คือคำว่า “เบ่อ”หรือ” กะเบ่อ”
…ซึ่งเป็นได้ทั้งprefixและsuffix
คือต่อหัวหรือต่อท้ายของประโยคคำพูดก้อได้
1
คำนี้เดิมจะพูดกันทั่วไปที่หาดใหญ่/ สงขลา
…จะมีความหมายไปทางบอกเหตุผล...
เช่น ทำไมไม่ไปเที่ยวกะเค้า.....
…เคยไปแล้วกะเบ่อ / เบ่อเคยไปแล้ว
พักหลังๆคำนี้ก้อมาแฝงอยู่ในภาษากลาง ในภาษาเนต อยู่เนืองๆ
3
…จริงๆภาษาสงขลาจะค่อนข้างพูดช้า
ไม่เร็วเหมือนภาษานคร หรือภาษาสุราษฎร์
และมีศัพท์เฉพาะถิ่น(technical term )น้อยกว่า
โดยทั่วไปจะเหมือนภาษากลาง แค่พูดเป็นสำเนียงใต้เท่านั้นเอง
ที่บ้านสามล้อเองก้อไม่ได้พูดใต้กันหรอกครับ
เพราะแม่เป็นคนลำปางแต่พ่อเป็นคนสงขลา
ก้อเลยต้องมาหัดพูดใต้กะเพื่อนๆที่โรงเรียน ตั้งแต่เด็ก
จนพูดได้เหมือนเพื่อนๆ อย่างภาคภูมิใจแหละ :)
1
ลองมาพูดเสียงภาษาใต้กันดูนะครับ
นี่ ถ้าจะเขียนออกเสียงเป็นภาษาไทย เสียงก้อคงเขียนได้ไม่ตรงนัก
 
ลองมาออกเสียงเป็นภาษาอังกฤษดูนะครับ
อาจจะได้สำเนียงเสียงที่ใกล้เคียงที่สุดเลย ลองดูนะครับ
* Eyesight ภาษาอังกฤษแปลว่า การมองเห็น, สายตา
ภาษาใต้ อ๋ายไส่ แปลว่า อายทำไม (ไส่ แปลว่าทำไม)
* Nightmare ภาษาอังกฤษแปลว่า ฝันร้าย
ภาษาใต้ ไน่แหม่ แปลว่า ไหนแม่
* Can Die ภาษาอังกฤษแปลว่า สามารถทำให้ตาย
ภาษาใต้ แค่นได้ แปลว่า พอใช้ได้ พอไหว
* My Right ภาษาอังกฤษแปลว่า สิทธิของฉัน
* ส่วนใน ภาษาใต้ มายไหร๋ แปลว่า ไม่มีอะไรเลย
อะไรทำนองนี้พอสังเขป :)
1
…ว่ากันว่าภาษาใต้ปกติจะพูดห้วนๆสั้นๆ
สั้นขนาดว่ารถไฟสวนกันยังสื่อสารรับฟังกันได้รู้เรื่อง
Pratap Saetang / shutterstock.com
อย่างเช่น…
ไน๊ - ไย๊ ....
…คือคนแรกตะโกนถามว่าไปไหน
- คนที่สองก้อตอบว่า ไปหาดใหญ่
1
แล้วคนที่สองก้อถามกลับไปว่า
ไน๊ – ก๊อก... คือแล้วคุณล่ะไปไหน
- แล้วก้อมีเสียง”ก๊อก”จากอีกฝั่งตอบกลับมา
1
เพื่อนของคนที่สองที่นั่งในอยู่รถไฟก้อเลยพูดว่า…อ่อออ เค้าคงไป”บางกอก”อ่ะ…
2
“เปล่าๆๆ”…
…คนที่สองหันมาบอกเพื่อนที่นั่งในรถไฟ
…พอดีแกชะโงกตัวมาตะโกนมากไปหน่อย
หัวแกเลยฟาดราวสะพานรถไฟซิ…ดังก๊อก…กระจายเบยยยย :p
1
ครับ :)หากสงสัยคำไหนเพิ่มเติม …สามารถถาม ผู้ชำนาญการด้านภาษาได้ดังนี้
#หนอนน้อยซ์ จอมกาดึ๊บซ์
ป๋าชอ #ชตระกูล ศรีสวัสดิ์
น้องฮาม #เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา