25 มี.ค. 2021 เวลา 11:53 • ธุรกิจ
จาก D&G สู่ NIKE เมื่อแบรนด์ต้องเลือกระหว่าง “อุดมการณ์” หรือ “ผลประโยชน์”
5
“เราจะบอกคนทั้งโลกว่าประเทศจีนมันห่วย และขอให้รู้ไว้เลยว่าเราอยู่ได้โดยที่ไม่มีพวกคุณ”
ประโยคดังกล่าวถูกพิมพ์ขึ้นโดยเจ้าของแบรนด์หรู Dolce & Gabbana สัญชาติอิตาลี เมื่อราว 2 ปีก่อน จนถูกแบนจากชาวจีนจนถึงทุกวันนี้
11
และเมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้มีเรื่องราวในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นอีกครั้ง กับแบรนด์ระดับโลกอย่าง Nike, Zara, Gap, Uniqlo และ H&M ที่มีแนวโน้มว่าอาจจะถูกแบน และมีโอกาสจะได้รับผลกระทบมหาศาล
12
สิ่งที่ต่างกันระหว่างสองเหตุการณ์นี้ก็คือ Dolce & Gabbana เกิดกับตัวบุคคลที่เหมือนไปดูถูกวัฒนธรรมประเทศจีน แต่เหตุการณ์หลังเกิดขึ้นจากการที่แบรนด์เสื้อผ้า กำลังแสดงจุดยืนเรื่องสิทธิมนุษยชน
3
แล้วมันเกิดอะไรขึ้น?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
5
เรื่องราวทั้งหมดนี้ มีจุดเริ่มต้นจาก “เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์”
ซึ่งถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่งในประเทศจีน
ดินแดนแห่งนี้เป็นแหล่งผลิตผ้าฝ้ายปริมาณมหาศาล ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับแบรนด์เสื้อผ้า
1
ซินเจียงมีกำลังการผลิตผ้าฝ้ายราว 20% ของกำลังการผลิตทั่วโลก ซึ่งซินเจียงถือเป็นหนึ่งในแหล่งที่ผลิตได้มากที่สุดในโลก
1
และเมื่อไม่นานมานี้มีรายงานว่า “ชาวอุยกูร์” เป็นแรงงานสำคัญในอุตสาหกรรมผลิตผ้าฝ้าย
ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้เองที่ได้กลายมาเป็นประเด็นสำคัญของเรื่องราวทั้งหมดต่อจากนี้
1
ด้วยความที่ชาวอุยกูร์มีวัฒนธรรม เชื้อสาย และนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งแตกต่างจากชาวจีนส่วนใหญ่ในประเทศ ทำให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่าน พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติ และถูกคุกคามจากรัฐบาลจีน
10
จากการรายงานของสื่อตะวันตกหลายแห่งได้ระบุว่าใน 1 ปีจะมีชาวอุยกูร์เกือบ 5 แสนคน
ถูกบังคับให้มาเป็นแรงงานในการเก็บฝ้าย ทอผ้า รวมไปถึงตัดเย็บเสื้อผ้า
2
หลังจากที่ข่าวเรื่องนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ก็ได้ทำให้เกิดคำถามถึงแบรนด์เสื้อผ้าที่ได้เลือกใช้วัตถุดิบจากซินเจียง ว่ากำลังสนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์ หรือไม่ ?
2
เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ จึงมีหลายแบรนด์ดังระดับโลก
พาเหรดกันออกมาแสดงจุดยืนว่าไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์
ที่มาจากการใช้แรงงานในซินเจียงไม่ว่าจะเป็น Nike, Adidas, Uniqlo, H&M
และมีแนวโน้มที่อีกหลายแบรนด์กำลังจะเข้าร่วมแสดงจุดยืน เช่นกัน
8
อย่างไรก็ตาม ท่าทีของบรรดาแบรนด์ต่างชาติไม่ได้สร้างผลกระทบอะไรมากนัก
จนกระทั่งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สหภาพยุโรป (EU), สหรัฐฯ, อังกฤษ และแคนาดา
ได้ออกมากำหนดมาตรการคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีน
ในข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวอุยกูร์ในซินเจียง
 
ประเด็นดังกล่าวกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์บนโลกออนไลน์
และมีการนำแถลงการณ์ของแบรนด์ต่าง ๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ มาเผยแพร่ปลุกกระแสชาตินิยมในจีนให้ร้อนระอุ
 
หนึ่งในแบรนด์ที่โดนทัวร์ลงอย่างหนัก คือ H&M
ซึ่งออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อสถานการณ์อุยกูร์ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
จนถูกแบนจากทุกช่องทางของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจีน
ไม่ว่าจะเป็น Tmall, Taobao, JD.com และ Pinduoduo
ขณะที่คนดังชาวจีนที่ร่วมงานกับทางแบรนด์ก็เตรียมจะฉีกสัญญาที่ทำกับแบรนด์ เช่นกัน
 
อย่างไรก็ตาม H&M ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ออกมาตอบโต้ว่า บริษัทไม่ได้ต้องการแสดงจุดยืนทางการเมืองใด ๆ
และ H&M ยังคงเคารพผู้บริโภคชาวจีนเหมือนอย่างเคย และมุ่งมั่นที่จะลงทุนและพัฒนาระยะยาวในประเทศจีน
 
เช่นเดียวกับ​ Nike, Adidas และ Uniqlo ก็กลายเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ หลังออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนในทำนองเดียวกัน
 
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า หวังอี้ป๋อ ถานซงอวิ้น ดารานักแสดงดาวรุ่งชื่อดัง
ออกมาประกาศยุติความร่วมมือทั้งหมดที่มีกับแบรนด์ Nike โดยให้มีผลทันที
 
ขณะที่ วิกตอเรีย ซ่ง นักร้องและนักแสดง จะยกเลิกสัญญากับทาง H&M
และคาดว่าจะมีดาราจีนอีกหลายคนที่ร่วมงานกับแบรนด์ต่างชาติออกมาแสดงจุดยืนเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่นกัน
 
ซึ่งเหตุการณ์ในลักษณะนี้ ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับแบรนด์ Dolce & Gabbana
จากประเด็นโฆษณาการใช้ตะเกียบคีบอาหารอิตาลี
ที่ทางผู้ก่อตั้งยึดมั่นในอุดมการณ์ของตนเอง และใช้คำที่เปรียบเสมือนกับการดูถูกวัฒนธรรมของประเทศจีน
จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และส่งผลให้ “ยอดขายเกือบทั้งหมด” ในประเทศจีนหายไปอย่างรวดเร็ว
28
แต่ในอีกมุมหนึ่ง
ก็ยังมีบางบริษัทที่เห็นว่าผลประโยชน์ของตัวเองต้องมาก่อน
หนึ่งในตัวอย่างที่เราอาจนึกไม่ถึงก็คือสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล
ที่ได้แบน เมซุท เออซิล นักเตะตัวเก่งของตัวเอง
7
เพราะนักเตะคนดังกล่าว ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นไม่เห็นด้วยต่อการกระทำของรัฐบาลจีน ต่อชาวอุยกูร์
5
สาเหตุที่อาร์เซนอลต้องแบน ก็เพราะว่ายังต้องการทำธุรกิจในประเทศจีนต่อไป
7
แต่จากแนวโน้มที่แบรนด์เสื้อผ้าระดับโลกออกมาแสดงจุดยืนในตอนนี้
ก็ดูเหมือนว่ากระแสจะเทไปทางเดียวก็คือ ไม่สนับสนุนการใช้แรงงานชาวอุยกูร์
แล้วแบรนด์ที่ออกมาแสดงจุดยืนในเรื่องดังกล่าว
มีสัดส่วนรายได้จากประเทศจีนมากขนาดไหน ?
2
Nike มีรายได้จากจีน 2.0 แสนล้านบาท ต่อปี คิดเป็น 18% ของรายได้ทั้งหมด
Adidas มีรายได้จากจีน 1.6 แสนล้านบาท ต่อปี คิดเป็น 24% ของรายได้ทั้งหมด
Uniqlo มีรายได้จากจีน 1.3 แสนล้านบาท ต่อปี คิดเป็น 23% ของรายได้ทั้งหมด
H&M มีรายได้จากจีน 0.4 แสนล้านบาท ต่อปี คิดเป็น 5% ของรายได้ทั้งหมด
5
จะเห็นได้ว่าบริษัทเหล่านี้ มีรายได้มหาศาลจากประเทศจีน
ซึ่งหากว่าแบรนด์เหล่านี้ ได้รับผลกระทบในรูปแบบเดียวกันกับ Dolce & Gabbana คือถูกแบนทิ้งทั้งหมด
1
และแน่นอนว่าเมื่อรายได้จากประเทศจีนมีแนวโน้มจะลดลงในอนาคต
สิ่งที่สะท้อนมาเป็นลำดับแรกก็คือ มุมมองของนักลงทุนต่อมูลค่าบริษัท
2
H&M -3%
Adidas -4%
ในขณะที่ราคาก่อนเปิดตลาดของ Nike ในตอนนี้ก็คือ -4%
ส่วนหุ้นของบริษัทที่ทำอุปกรณ์กีฬาในประเทศจีน กลับพุ่งสูงขึ้นเพราะเหตุการณ์นี้ เช่น
Li-Ning +11%
Anta +8%
5
ถึงตรงนี้ เราอาจจะต้องดูกันต่อไปว่าว่าผลกระทบในระยะยาวจะเป็นอย่างไร
3
ก็อดคิดไม่ได้ว่าถ้าเรื่องนี้ เกิดขึ้นกับธุรกิจของเรา
ที่มีตัวเลือกระหว่างคำว่า “อุดมการณ์” หรือ “ผลประโยชน์”
เป็นเรา เราจะเลือกอะไร..
3
โฆษณา