27 มี.ค. 2021 เวลา 01:23 • หนังสือ
📚 รีวิวหนังสือ Think Again 💡 หนังสือที่ Bill Gates แนะนำและจะทำให้คุณต้องหันกลับมาคิดใหม่อีกครั้ง 📚
Think Again 💭
The Power of Knowing What You Don’t Know
1
เขียนโดย Adam Grant
📍 เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้วหลาย ๆ คนคงรู้จักและเคยใช้โทรศัพท์มือถือ BlackBerry หรือ BB กันบ้างมั้ยครับ? เชื่อมั้ยครับว่าเมื่อปี 2009 นั้น BlackBerry ครองตลาดมือถือในอเมริกาถึงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว แล้วเกิดอะไรขึ้นทำไมทุกวันนี้เราไม่เห็นใครใช้ BlackBerry อีกเลย?
1
👉🏻 ตัดภาพมาที่ฝั่งของบริษัทอย่าง Apple เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงไม่เคยรู้มาก่อนว่า Steve Jobs ที่เรายกย่องให้เป็นศาสดาของ Apple นั้นเป็นคนที่ต่อต้านและปฏิเสธการที่จะให้ Apple ลงมาทำมือถือขาย จากการที่ทีมงานคนหนึ่งเสนอไอเดียเรื่องนี้ ซึ่งเค้าบอกว่ามันเป็นไอเดียที่ห่วยแตกที่สุดเลยด้วยซ้ำ ! โดยเค้าได้พูดในที่ประชุมและที่สาธารณะต่าง ๆ มากมายว่าหัวเด็ดตีนขาดยังไงเค้าก็จะไม่ทำโทรศัพท์มือถือขายอย่างแน่นอน แต่ทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือ iPhone กลายเป็นสิ่งที่เปลี่ยนโลกไปเลยแถมเป็นตัวที่ทำยอดขายและทำให้มูลค่าของบริษัท Apple พุ่งกระฉูด...!! 📈
Mike Lazaridis ในฐานะผู้ก่อตั้งรวมถึง CEO ของ BlackBerry มีความภาคภูมิใจมากกับความสำเร็จของโทรศัพท์ BlackBerry ในยุคนั้นที่ไม่ว่าใครก็ต้องใช้กัน เค้ามีความเชื่อมั่นมากว่าใคร ๆ ก็ยังต้องใช้ BlackBerry อย่างแน่นอนเพราะมีจุดเด่นมาก ๆ ในเรื่องของอีเมล์และการพิมพ์แบบแป้นพิมพ์บนมือถือ ซึ่งเมื่อ Apple เปิดตัวโทรศัพท์ iPhone ช่วงแรกนั้นเค้าก็ยังไม่เชื่อว่าคนจะชอบใช้โทรศัพท์ที่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ย่อส่วน
หลังจากนั้นไม่นานทีมงานก็เสนอ Mike ให้ทำ Internet browser บ้างใน BlackBerry รวมถึงการทำแอพพลิเคชั่นแชทให้สามารถคุยกับโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการอื่นได้ด้วย แต่ Mike ก็ปฏิเสธเนื่องจากกลัวว่าจะเสียความเป็นเอกลักษณ์ของ BlackBerry ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานเราก็ได้เห็น WhatsApp ที่เป็นแอพพลิเคชั่นแชทที่สามารถคุยกันได้ทุกระบบปฏิบัติการ (IOS , Android) ซึ่งในภายหลังเติบโตจนโดน Facebook เข้าซื้อในราคาถึง 19,000 ล้านเหรียญเลยทีเดียว!
👉🏻 กลับมาดูที่ฝั่งของ Apple ที่หลังจากทีมงานมีการเสนอทำโทรศัพท์มือถือด้วยการโน้มน้าว Steve Jobs ว่าจะไม่มีทางเปลี่ยนบริษัทไปเป็นบริษัทมือถือแน่นอน แต่ยังคงความเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์อยู่ ดีซะอีกที่มีผลิตภัณฑ์ที่ต่อยอดจาก iPod เพียงแค่เพิ่มฟังก์ชันของโทรศัพท์เข้าไปแค่นั้นเอง ซึ่งทำให้ Steve Jobs กลับมา “rethink” แล้วก็ทำให้พวกเราได้ใช้ iPhone 📱 กันอยู่อย่างทุกวันนี้ไงครับ (ปรบมือให้เลยครับ)
1
💥 นี่แหละครับพลังของการ “Think Again” ที่ผู้เขียนยกตัวอย่างมาเราทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้
1
📌 ในโลกที่มันค่อนข้างเสถียรอย่างในสมัยก่อน การนำเอาความรู้หรือประสบการณ์ที่เราเคยทำสำเร็จมาแล้วมาใช้ต่อยอดอาจจะเป็นเรื่องที่ดีที่ทำให้ธุรกิจยังดำเนินอยู่ได้นะครับ แต่กับโลกสมัยใหม่ที่มันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเหลือเกินด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เข้ามาทำให้ ทักษะของการ “rethinking” นี้มีความสำคัญมากเลยทีเดียวครับ
3
……………..
“Scientist Mode” 👨‍🔬👩‍🔬
2
Phil Tetlock ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานกับผู้เขียนนั้นได้ค้นพบว่ามนุษย์เราเวลาจะคิดและพูดอะไรนั้น จะมีแนวคิดที่มีลักษณะคล้ายกับอาชีพอยู่ 4 แบบ
1
• Preachers 🧙🏻‍♂️ ซึ่งก็คือ นักบวชหรือบาทหลวง ซึ่งจะใช้การสอนเป็นหลัก แล้วพูดโดยอาศัยความเชื่อเป็นหลัก
1
• Prosecutors 👨🏻‍⚖️ หรือ อัยการ ก็คือการพูดหรือทำเพื่อพิสูจน์ตัวเองเพื่อเอาชนะ และหาข้อผิดของผู้อื่น
1
• Politician 🧑🏼‍💼 ก็คือนักการเมือง ที่มักจะมีการพูดเพื่อโน้มน้าว ชักจูงคนอื่น
4
• Scientist 👨🏻‍🔬 ก็คือการเป็น นักวิทยาศาสตร์ ที่จะมีการทดลองเพื่อค้นหาความจริง และดูหลักฐานเป็นหลัก
3
💡 ซึ่งเค้าบอกว่าเราควรจะอยู่ในโหมดการคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ (scientist mode) ซึ่งจะนำเราไปสู่กระบวนการ “rethink” ได้ครับ
5
……………..
“Confirmation Bias and Desirability Bias”
1
คนเรานั้นมักจะยึดติดอยู่กับความเชื่อของเราแล้วพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนสิ่งที่เราเชื่อมากกว่าจะหาเหตุผลเพื่อจะมาพิสูจน์ความจริงนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองฉลาดเท่าไหร่ ก็จะยิ่งยากที่จะปรับเปลี่ยนความคิดของตัวเองครับ
1
ซึ่งอันนี้เรียกว่าเรามี “Confirmation Bias” คือเราจะเห็นเฉพาะสิ่งที่เราคาดหวังไว้ว่าจะเห็นหรือจะเชื่อเท่านั้น
1
ส่วนอีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า “Desirability Bias” นั้นคือการที่เราเห็นเฉพาะสิ่งที่เราอยากเห็นเท่านั้น
และยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนเล่าว่าอันนี้แหละที่ทำให้คนฉลาด ๆ มักจะไม่รู้ตัวเองคือสิ่งที่เรียกว่า “I’m not biased” นั้นคือเราเชื่อว่าเราไม่ได้ bias! 😲
2
ทั้งหมดที่กล่าวมานี่แหละครับเป็นตัวที่ขัดขวางไม่ให้เราพยายามที่จะ “rethink”
……………..
“Humility”
สิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้เราเกิดวงจรการ “rethinking” ก็คือ “humility” ซึ่งก็คือการ “ถ่อมตนว่าไม่รู้” เมื่อเรามีการถ่อมตนว่าเราไม่ได้รู้ดีแล้ว เราก็จะเกิดคำถามและความไม่แน่ใจที่จะนำเราไปสู่ความอยากรู้คำถาม ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเราอยากรู้คำตอบเราก็จะพยายามเสาะหาคำตอบและค้นพบบางสิ่งบางอย่างครับ ซึ่งอันนี้แหละคือ “Rethinking Cycle” 🔬
3
ต่างกันกับในเรื่องของการที่เรามีความเชื่อมั่นแบบเต็มประดาว่าเราเก่งและรู้ดี มันจะทำให้เรามั่นใจสุด ๆ และเกิด bias ก็ได้เล่าไว้ข้างต้น มันก็จะทำให้เราไม่มีการคิดใหม่อีกรอบ แต่มันจะกลายเป็น “Overconfident Cycle” ไปแทนอย่างในกรณีของ BlackBerry ที่เล่าไว้ข้างต้นไงครับ
1
……………..
“Confident VS Competent”
1
ในเรื่องของ”ความมั่นใจ” ของคนเรากับ ”ความสามารถ”นั้น หากเราไม่ได้มีในจุดที่เหมาะสมมันก็เกิดเหตุการณ์สองอย่างนี้ครับ
2
👉🏻 อย่างแรกคือในกรณีที่เรามี ความมั่นใจมากกว่าความสามารถจริงของเรา เค้าเรียกว่า อาการ “Armchair Quarterback Syndrome” 🏈 ซึ่งเป็นการที่เค้าเปรียบเทียบกับการดูกีฬาครับ เช่น เราดูฟุตบอล แต่คงมีหลาย ๆคนคงเคยได้ยินหรือเห็นคนบางคนที่วิพากษ์วิจารณ์เก่งเหลือเกินอย่างกับว่าเก่งกว่าผู้เล่นหรือโค้ชเสียอีก (5555)
1
คนที่มักจะมีอาการมีความเชื่อมั่นมากกว่าความสามารถจริง ๆมักจะเกิดกับคนที่อยู่ในระดับ “มือสมัครเล่น” (Amateur) ครับ เพราะคนที่เป็นมือใหม่เลย (Novice) เค้าก็จะไม่รู้อะไรเลยจริง ๆ จึงไม่ค่อยมีอาการนี้ แต่มันมักจะเกิดกับคนที่พอรู้เรื่องหน่อย ๆ พอคุยได้ ก็จะติดกับดักที่คิดว่าตัวเองรู้ดีแล้ว
👉🏻 ในอีกกรณีที่เรามี ความมั่นใจต่ำกว่าความสามารถจริง ๆ นั้น เค้าเรียกว่าอาการ “Imposter Syndrome” ซึ่งจริง ๆ เค้าบอกว่าข้อนี้มีข้อดีที่สนับสนุนให้เกิดการ “rethinking” อยู่ไม่น้อยเลยนะครับ เช่น มันจะทำให้เราทำงานหนักกว่าคนอื่น ทำให้เรามีแรงกระตุ้นและพยายามมากกว่าคนอื่น เพราะเราไม่มั่นใจว่าเรารู้แล้วหรือเก่งแล้ว ถูกมั้ยครับ? ที่สำคัญมันทำให้เราเกิดการเรียนรู้ที่ดีกว่าด้วย
2
อย่างไรก็ตามผู้เขียนได้บอกว่าว่าจุดที่เหมาะสมจริง ๆ ควรจะเป็นจุดที่มีทั้งสองอย่างพอ ๆ กัน หรือเรียกว่า “confident humility” คือมีความมั่นใจแล้วก็เชื่อในความสามารถตัวเองนะแต่ก็ยอมรับว่าเราก็ไม่ได้รู้ทั้งหมด
1
……………..
“The Joy of Being Wrong” 🎉
ผู้เขียนได้เล่าให้ฟังว่ามีคนดังหรือคนที่ประสบความสำเร็จหลายคนที่มีความสุขกับการที่ได้รู้ว่าตัวเองผิดพลาดหรือไม่รู้อะไร เช่น
1
Daniel Kahneman ผู้เขียนรางวัล Nobel Prize ที่เขียนหนังสือเล่มดังชื่อ “Thinking Fast and Slow” ซึ่งได้เจอกับผู้เขียนหลังจากที่ได้อ่านหนังสืออีกเล่มของผู้เขียนที่ชื่อ ”Give and Take” แล้วเค้าได้ยอมรับต่อผู้เขียนเลยว่า “ว้าวสุดยอดเลย! เป็นเรื่องที่เค้าไม่รู้และเค้าคิดผิดมาตลอดเลย !”
1
ส่วน Ray Dalio ผู้ก่อตั้งกองทุน Bridgewater ที่ใหญ่ที่สุดในโลกรวมถึงเขียนหนังสือดังอย่าง “Principles” ก็บอกว่า “ถ้าให้มองย้อนกลับไปในปี ๆ หนึ่งแล้วพบว่าเราไม่ได้ทำอะไรผิดหรือทำอะไรโง่ ๆ เลยเนี่ยแสดงว่าปีที่ผ่านมาเราไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย!” 👍🏻👍🏻👍🏻
5
……………..
“The Best Forecaster”
ผู้เขียนได้เล่าถึงนักพยากรณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ ในบ้านเมืองที่ชื่อ Jean-Pierre Beugoms ที่เค้าแทบจะเป็นคนส่วนน้อยมากกกกที่ทำนายว่า Donald Trump จะชนะการเลือกตั้งในเป็นประธานาธิบดีของอเมริกาในขณะนั้น
1
📌 เค้าบอกว่าเทคนิคของเค้า คือ “การเปลี่ยนความคิดหรือความเชื่อ” โดยไม่ยึดติดกับความเชื่อของเรา โดยให้พยายาม “detach” คือแยกความคิดเห็นออกจากความเป็นตัวเราครับ เพราะคนเราส่วนใหญ่มักจะนิยามตัวเราจากความเชื่อลึก ๆ ของเราและนี่แหละครับที่เป็นปัญหาใหญ่ที่มายับยั้งไม่ให้เราเปลี่ยนความคิดเมื่อสถานการณ์หรือเหตุการณ์ในโลกมันเปลี่ยนไป
4
💡 นอกจากนี้เวลาเค้าจะตั้งสมมติฐานเพื่อทำนายอะไร เค้าจะทำ “list of arguments” หรือเรื่องหรือหัวข้อที่จะโต้แย้งในสิ่งที่เค้าจะทำนายไว้ แล้วก็จำพยายามค้นหาข้อมูลเพื่อที่จะมาพิสูจน์ข้อโต้แย้งนั้น ๆ โดยใช้ “scientist mode” นั่นเองครับ แล้วเค้าก็จะทำ “list of conditions” ที่ระบุเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสมมติฐานเอาไว้ด้วยเพื่อดูว่าถ้าเหตุการณ์ไหนเปลี่ยน ก็จะทำให้ความเชื่ออันนี้เปลี่ยนไป ผมว่าอันนี้เราสามารถเอาไปใช้ในชีวิตเราได้ดีเลยหละครับ 😊
3
……………..
“Can We Debate?”
ในเรื่องของการทำงานเป็นทีมนั้น เค้าบอกไว้ว่า ทีมที่จะมี performance ที่ดีในระยะยาวนั้นคือทีมที่มี “task conflict” มากตั้งแต่ต้น ต่างการทีมที่มี “relationship conflict” มากแต่ต้นจะทำให้ performance แย่ในระยะยาว เพราะอะไรกันครับ? 🤔
2
การมี “relationship conflict” คือการที่มีความสัมพันธ์ในทีมที่ไม่ดีแต่แรก เช่น ไม่ชอบหน้ากันแล้ว เกลียดขี้หน้ากันแล้วจะทำงานอะไรก็ทำลำบาก ถูกต้องมั้ยครับ 😥
2
📌 แต่การมี “task conflict” คือการขัดแย้งหรือเห็นไม่ตรงกันในเรื่องของงาน ซึ่งการขัดแย้งและมีการถกเถียงกันแบบสร้างสรรค์ “thoughtful critics” นี่จะช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ไอเดียใหม่ ๆ หรือการตัดสินใจที่ดีและรอบคอบมากกว่านะครับ ดังนั้นอย่ากลัวที่จะมีความเห็นที่ไม่ตรงกันครับ มันจะช่วยทำให้ให้ทีมเราเกิดการ “rethink” 😃
3
💡 ซึ่งเค้าบอกว่ามีเทคนิคการโต้แย้งหรือขอแสดงความเห็นต่างง่าย ๆ เลยคือ “การขออนุญาต” ครับ ก็คือเราอาจจะพูดขออนุญาตก่อนจะแสดงความเห็นก่อน ซึ่งมันจะช่วยทำให้เรานอบน้อมและดูเบาลงได้เลยนะครับ เทียบกับการที่คุณโพล่งออกมาเลยว่าผมไม่เห็นด้วย
……………..
“How to Win Debates and Influence People?”
แล้วเวลาที่เราต้องการโน้มน้าวคนอื่นให้ “rethink” หละครับเราควรจะทำอย่างไร?
ผู้เขียนได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ในส่วนที่สองของหนังสือครับ โดยยกตัวอย่าง นักโต้วาทีที่เก่งมาก ๆ คนหนึ่งที่สามารถชนะการโต้วาทีกับ AI ได้ทั้ง ๆ ที่ AI นั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลและชี้แจ้งได้มากกว่ามนุษย์เราอย่างแน่นอน
แต่เค้าทำยังไงหละครับ? 🤔
เค้าบอกเทคนิคการโต้แย้งว่าให้ทำเหมือนเราเต้นรำครับ คือเราค่อย ๆ ขยับเดินไปตามจังหวะของคู่เต้นด้วยกัน 💃🕺อย่าคิดว่ามันคือสงครามที่ต้องเอาชนะกัน
โดยให้เริ่มจากการหา “common ground” หรือสิ่งที่เราเห็นด้วยกันกับอีกฝ่ายก่อนเลยครับ เพื่อที่จะโน้มน้าวให้เค้าเห็นตรงกับเรา รวมถึงทำให้เราดูน่าเชื่อถืออีกด้วยครับ
1
👉🏻 นอกจากนี้เหตุผลหรือประเด็นที่เราจะพูดให้เน้นเฉพาะข้อที่มันเห็นชัด หนักแน่น “strong points” ไม่กี่ข้อดีกว่าจะพูดหลาย ๆ เรื่องที่บางเรื่องอาจจะฟังแล้วไม่ค่อยหนักแน่นดีกว่าครับ เพราะเมื่อผู้ฟังได้ยินส่วนที่ไม่ค่อยหนักแน่น เค้าจะเริ่มลังเลแล้วครับว่าสิ่งที่เราพูดมาทั้งหมดมันน่าเชื่อรึเปล่า
2
📌 สุดท้ายเวลาเราจะสรุปประเด็นเพื่อให้เค้าเปลี่ยนความคิด อย่าพยายามยัดเยียดความคิดเราให้เค้าครับ ไม่งั้นเค้าจะต่อต้านแล้วก็ปฏิเสธเราทันที ให้เราแค่เสนอแนะ ถามคำถามแล้วเปิดประเด็นไปให้เค้าคิดต่อเองจะดีกว่า
1
……………..
“Yankee Fans VS Red Sox Fans” 🧢⚾️
ผู้เขียนบอกว่าเคยสังเกตมั้ยครับเวลาเราเชียร์ทีมกีฬาเรามักจะไม่ชอบถึงกระทั่งเกลียดทีมคู่อริ เช่น แมนยูกับลิเวอร์พูล อะไรแบบนี้ครับ 😝
เค้าบอกว่าคนเราชอบที่จะเหมารวม “stereotype” ครับ เช่น คนไว้ผมทรงแบบนี้จะเป็นคนไม่ดี อะไรแบบนี้ ซึ่งการที่เรามองแบบนี้ทำให้ยากที่เราจะเกิดการ “rethink” ครับ แล้วเราจะทำยังไงที่จะโน้มน้าวคนที่มีแนวคิดแบบนี้ให้เกิดกระบวนการคิดใหม่หละครับ?
3
เค้าบอกว่าให้เราถามคำถามแบบปลายเปิด แล้วก็ฟังให้มากครับ ให้คิดอยู่เสมอว่าเรามีหน้าที่แค่สะท้อนความจริงแล้วก็ช่วยให้เค้าคิดเฉย ๆ แต่อย่าไปพยายามยัดเยียดความคิดหรือบังคับเค้าให้เชื่อเรา เพราะส่วนใหญ่ที่คนจะปฏิเสธก็เพราะเหตุผลนี้แหละครับ
……………..
“Learning Organization” 📚
ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างการเรียนการสอนที่หนึ่งซึ่งอาจารย์ผู้สอนนั้นไม่ได้บรรยายให้นักเรียนฟังอย่างเดียว แต่เป็นการสอนแบบ “active learning” ที่ให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเองและนำกลับมานำเสนอในมุมมองของตนเอง ซึ่งการเรียนการสอนแบบนี้ช่วยให้นักเรียนเกิดการ “rethink” มากกว่าการนั่งฟังบรรยายอย่างเดียว
1
นอกจากนี้ผลการวิจัยก็บอกไว้ว่าเรียนการสอนแบบ active learning นี่ทำให้เด็กเกิดทักษะและความรู้มากกว่าด้วยครับ
ในส่วนขององค์กรต่าง ๆ ก็ควรมีการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดเวลาเป็น “Learning Organization”
2
ผู้เขียนยังได้ชี้ประเด็นในเรื่องของ “Best Practice” ขององค์กรที่หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินมานะครับว่าให้เราทำตาม Best Practice ก็จะเป็นการทำงานที่ดีที่สุด แต่มันก็มีอันตรายที่ต้องระวังนะครับ 🚨
👉🏻 ผู้เขียนใด้บอกว่าให้เราลืมคำว่า “Best practice” ไปดีกว่าและให้พยายามหาทางหรือวิธีการที่ดีกว่าเรื่อย ๆ แทนที่จะยึดติดกับวิธีการที่แม้ว่าจะเป็น best practice ก็ตาม แม้แต่องค์กรอย่าง NASA เองก็ทำผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงมาแล้วในเรื่องการเชื่อ best practice จนเกิดความเสียหายจนกระทั่งมีนักบินอวกาศเสียชีวิตเลยครับ
👉🏻 นอกจากนี้ในองค์กรยังต้องมีสิ่งที่เรียกว่า “psychological safety” คือคนในทีมต้องกล้าที่จะบอกความผิดพลาดของตัวเอง ต้องเปิดใจ มีความเชื่อใจกัน กล้าที่จะยกประเด็นที่เป็นปัญหาความผิดพลาดมาคุยกันเพื่อที่จะเรียนรู้ ปรับปรุงและแก้ไข ไม่ใช่ว่าปกปิดความผิดพลาด ซ่อนไว้แล้วสุดท้ายมันจะเกิดผลเสียต่อตัวเราและองค์กรครับ
1
อีกประเด็นคือในองค์กรใหญ่หลาย ๆ องค์กรครับ หัวหน้าชอบที่จะถามหาการรับประกันความสำเร็จ ถามว่าอันนี้มันดีแน่ใช่มั้ยที่จะทำ ก่อนที่จะอนุมัติให้เราไปทำหรือลงทุน เคยเจอกันมั้ยครับ?
💡 ซึ่งจุดนี้เลยเค้าบอกว่าเป็นกับดักที่ทำให้องค์กรไม่เกิดการคิดค้นอะไรใหม่ ๆ ครับ เพราะในการทำอะไรใหม่ ๆ คงไม่มีใครรับประกันความสำเร็จได้ถูกมั้ยครับ มันต้องเกิดจากการทดลองทำ เค้าบอกเลยว่าอันนี้แหละเป็น “enemy of the progress” ศัตรูของความสำเร็จเลยครับ
3
……………..
“Rethinking Your Future” 🔮
เรื่องของการ “rethink” ก็ยังสามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับการวางแผนชีวิตเราได้ด้วยนะครับ
1
ซึ่งผู้เขียนได้ถามเราว่า ตอนเราเด็ก ๆ เราคงเคยมีคนถามว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ซึ่งเค้าบอกว่าหากเราเป็นพ่อแม่ เราไม่ควรจะสอนให้ลูกเรายึดกับกับการอยากเป็นอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งตั้งแต่เด็ก เพราะคนเราสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง เป็นอะไรได้หลายอย่าง สมมติเราเป็นวิศวกรก็ไม่จำเป็นว่าเราจะเป็นนักกีฬา นักเขียน หรือ นักดนตรีไม่ได้ เค้าบอกให้แยกอาชีพกับตัวตนเราออกจากกัน ซึ่งมันไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างเดียวกันครับ
1
นอกจากนี้การวางแผนอนาคตไว้แล้วยึดติดกับแผนนั้น ๆ มากเกินไปก็อาจจะเกิดผลเสียได้นะครับ เพราะเวลาเกิดอะไรขึ้นแล้วมันดันผิดแผนเค้าบอกว่าคนเราโดยเฉพาะคนที่เก่งและมีความพยายาม มักที่จะอดทน พยายามสู้ หาทางที่จะไปต่อทางนั้นให้ได้ โดยการทุ่มเทมากขึ้น ซึ่งฟังดูก็เหมือนจะดีนะครับ แต่เค้าบอกว่ามันมีเส้นบาง ๆ กั้นอยู่ระหว่างความอดทนกับการเป็นคนดื้อนะครับ เราต้องดูตรงนี้ให้ดี
1
ยิ่งเรามีการทุ่มเททำแบบเดิม ๆ มากเท่าไหร่ เราก็จะไม่ได้ย้อนกลับไปคิดหาทางอื่น หรือ “rethink” นั่นเองครับ
1
นอกจากนี้แม้ว่าเราจะวางแผนชีวิตไว้แล้วก็ตาม เค้าแนะนำให้เราทำ “life checkup” แผนของชีวิตเราเป็นประจำเหมือนที่เราไปตรวจสุขภาพประจำปีไงครับ 🩺 เพื่อที่จะให้เข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบัน ดูว่าเราได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง หรือเรามีความเชื่ออะไรที่เปลี่ยนไปบ้างมั้ยในช่วงที่ผ่านมา แล้วเรายังอยากทำหรือสนใจในสิ่งเดิมอยู่หรือเปล่า
3
📌 ผู้เขียนได้สรุปไว้ดีทีเดียวครับว่าในชีวิตและการทำงานของเรานั้น เราทำได้ดีที่สุดก็คือการวางแผนว่าเราจะทำอะไร เรียนรู้อะไรบ้าง แต่ให้อย่าลืมเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาระหว่างทางเสมอ
1
……………..
📍หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือแนะนำอีกเล่มหนึ่งเลยครับในปี 2021 นี้ที่เราควรจะอ่าน เพราะ “Adam Grant”ผู้เขียนที่เขียนหนังสือเล่มดังอย่าง “Originals” หรือ “Give and Take” นั้นเขียนได้อ่านสนุกมากทีเดียว คิดดูครับว่าทั้ง Bill Gates และ Ray Dalio บุคคลที่ประสบความสำเร็จก็แนะนำให้อ่านเล่มนี้
2
💡💡แนวคิดนี้ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่สำคัญในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งการเข้ามาของเทคโนโลยี หรือการเกิดโรคระบาดอย่าง COVID-19 ซึ่งทำให้เราเห็นเลยว่าสิ่งที่เราเคยทำมาแล้วเราคิดว่าดีแล้ว มันอาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไปครับ ฉะนั้นขอให้เราจงอย่าหยุดเรียนรู้ครับ แล้วให้เราลองหันกลับมา “think again” ดูครับ...💡💡
#ThinkAgain #BookReview #รีวิวหนังสือ #สิงห์นักอ่าน
ป.ล. ถ้าไม่อยากพลาดการติดตามการรีวิวหนังสือดี ๆ แบบละเอียดยิบ ฝากกด Like กดติดตามเพจ รวมถึงยังติดตามได้อีกหนึ่งช่องทางใน facebook - facebook.com/TheCrazyBookReader
โฆษณา