27 มี.ค. 2021 เวลา 01:35 • ปรัชญา
🍃การฟังด้วยหัวใจ 🍃
🌼การฟังด้วยใจ เป็นการฟังความรู้สึก
หรือความต้องการของคนที่เราสนทนาด้วย
ถ้าเราเห็นไม่ตรงกันแต่เราใช้หัวใจฟังความรู้สึกของคนคนนั้น มันจะสามารถช่วยลดความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจกันได้อย่างดีมาก
2
🌼ความสามารถหรือทักษะต่างๆไม่ว่าจะการพูด การเขียนล้วนเป็นทักษะที่สำคัญ
ในการที่เราจะทำงานต่างๆหรือใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จได้ดีขึ้นง่ายขึ้น
แต่มีทักษะอย่างหนึ่งที่เราลืมที่จะคิดถึง
คือทักษะที่ว่าด้วยเรื่องของการฟัง
เมื่อเราฟังอะไรมา คือเราก็ได้ยินว่าความหมายว่าอะไรมันก็แค่นั้น แต่จริงๆมันไม่ได้แค่นั้น เพราะว่าจริงๆแล้วการฟังนี้มันมีหลายระดับทั้ง
🌟การฟังด้วยหู
🌟การฟังด้วยหัว
🌟การฟังด้วยใจ
ซึ่งแต่ละระดับมันมีความลึกความเข้าใจแล้วมีผลที่เกิดขึ้นต่างกัน
2
🌼การฟังด้วยใจทำใมจึงสำคัญ
ถ้าเราไม่เคยรู้จักศาสตร์นี้ เราจะเข้าใจว่าชีวิตประจำวันเราฟังอยู่แล้ว แต่เราไม่ได้ฟังด้วยความที่จะเข้าใจจริงๆ ฟังแค่เนื้อหา ฟังข้อความ
1
การฟังด้วยใจคือการฟังเพื่อจะเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของคนที่เราสนทนาด้วย
ซึ่งเป็นทักษะที่ถ้าไม่รู้เท่าทันตัวเอง เวลาคุยกับใครเราจะรู้สึกว่าเราฟังเขา แต่หลายๆครั้งคนเราฟังผ่านความคิด ฟังผ่านหัวแล้วก็แนะนำสั่งสอน
1
🌼ความแตกต่างของการฟังแต่ละแบบ
🍃ตัวอย่างบทสนทนา
.
ลูก : แม่...หนูขี้เกียจอ่านหนังสือจังเลย
.
🌟การฟังด้วยหู...สู้ๆลูก (จะตอบแบบอัตโนมัติ)
.
🌟การฟังด้วยหัว...ทำใมหนูเป็นคนขี้เกียจอย่างนี้แค่นี้ยังขี้เกียจต้องไปทำอะไรกิน (ถ้าสั่งผ่านหัวจะมีการตัดสินและสั่งสอน)
.
🌟การฟังด้วยใจ...คือการฟังเข้าไปถึงความรู้สึก ประโยคที่เด็กพูดว่า
...หนูขี้เกียจอ่านหนังสือ
.
มันมีความรู้สึกปนอยู่ อาจจะรู้สึกเครียด รู้สึกกังวล รู้สึกเหนื่อย ถ้าฟังผ่านใจ แม่อาจจะตอบลูกว่า
...เหนื่อยหรอลูก
5
จะเห็นว่าการตอบ
...แค่นี้ขี้เกียจแล้วจะไปทำไรกิน กับเหนื่อยเหรอลูก มีผลต่อใจลูกต่างกันมาก
การฟังที่ลึกที่สุด คือการฟังผ่านเข้าไปถึงความต้องการ
1
ลองฝึกนึกภาพ ฟังผ่านหู ฟังผ่านหัว ฟังผ่านใจ ฟังผ่านเข้าไปถึงความต้องการ
ทุกประโยคที่จริงๆเด็กสื่อสารหรือคนที่สื่อสารกับเรา ไม่ว่าจะเป็น แฟน เพื่อน พี่
น้อง เวลาที่เขาสื่อสารอะไรออกมา จริงๆมันมีต้องการซ่อนอยู่
1
ซึ่งความต้องการนี้ มันเป็นความต้องการพื้นฐานของการเป็นมนุษย์
🍃ตัวอย่างบทสนทนา
.
แฟนเราบอกว่า
...แค่นี้ไปเป็นเพื่อนหน่อยไม่ได้เหรอ
.
มันมีความต้องการซ่อนอยู่ คือ อยากให้ยอมรับ อยากรู้สึกปลอดภัย
.
ถ้าฟังผ่านหัว
...แค่นี้ไปไม่ได้เหรอ
...อะไรแค่นี้เองทำไมเดินไปไม่ได้
.
ถ้าฟังผ่านใจ
เราก็จะเริ่มสนใจความรู้สึกเขาว่า
...ทำไมเหงาหรอ
...กลัวหรือเปล่าเดินไปคนเดียว
การสื่อสารจะถึงใจมากขึ้น
🍃ตัวอย่างบทสนทนา
.
ตอนเย็นๆแม่โทรศัพท์มาแล้วถามว่า
...กินข้าวหรือยังลูก
ฟังด้วยหู...บางทียังไม่ได้กิน แต่ก็ตอบให้มันจบไปว่า...กินแล้ว
บางทีก็ตัดสินใจ...แม่วุ่นวายจังโตป่านนี้แล้วยังต้องมาถามทำไม ว่ากินข้าวหรือยัง
ถ้าฟังด้วยใจ เราจะเห็นความรู้สึกจริงๆประโยคที่ว่า
...กินข้าวหรือยัง อาจจะมีความรู้สึกเป็นห่วงคิดถึง อยากได้ยินเสียง
1
ถ้าเราฟังเขาให้เข้าไปถึงความรู้สึกเขาได้
ประโยคที่ว่า
...กินข้าวหรือยังลูก
สิ่งที่เราตอบไป เราจะตอบกินแล้วแม่เหมือนกัน แต่ว่าโทนเสียงจะต่างกัน
เวลาที่เราใช้สิ่งที่ฟังต่างกัน
1
เราจะเห็นถึงความรู้สึกคิดถึงของเขา
เราก็จะตอบ
...กินแล้วแม่ แล้วแม่กินยัง (โทนเสียงจะอ่อนโยน)
1
ถ้าฟังลึกกว่านั้นคือ ฟังผ่านเข้าไปถึงความต้องการของเขา
ความต้องการของเขา คือ ต้องการอยากจะให้รู้สึกว่า
...ตัวเขามีคุณค่า
...ตัวเขามีความหมาย
...ตัวเขายังไม่ถูกลืม
...ตัวเขายังเป็นที่รักของเรา
1
เราจะฟังประโยคที่ว่า
...กินข้าวหรือยังลูกของแม่ ทำให้เราสื่อสารกับแม่ได้ดีมากขึ้น
มันเป็นทักษะที่ทำให้เราเข้าใจคนอื่นมากขึ้น สื่อสารกับคนอื่นได้ดีขึ้น
🌼นอกจากนี้ การฟังด้วยใจยังมีประโยชน์ คือ ทำให้เราเข้าใจตัวเองได้มากขึ้น
เพราะบางทีเราก็จะพูดประโยคบางอย่างออกไป แล้วเราก็รู้สึกผิดมาก
1
เช่น ลูกทำอะไรไม่ได้ดี แล้วแม่ก็พูดว่า
...ทำไมถึงงี่เง่าแบบนี้
จริงๆแม่พูดออกไปก็รู้สึกผิดเหมือนกัน
...เราไปว่าลูกทำไม เรื่องแค่นี้เอง
1
แต่ถ้าแม่ฟังผ่านใจแบบเข้าใจตัวเอง
...เราอาจจะกำลังรู้สึกโกรธ หรือหงุดหงิด หรือผิดหวัง
.
ลึกไปกว่านั้นคือ เราต้องการเป็นแม่ที่มีประสิทธิภาพ เป็นแม่ที่ดี
ที่พูดไม่ดีออกไป เพราะคิดไม่ทัน
ไม่ทันความต้องการของตัวเองจริงๆ
แต่ถ้าเข้าใจหลักการนี้ เข้าใจว่าจริงๆ กำลังรู้สึกอะไร เราจะสื่อสารออกไปได้มากขึ้น
1
แทนที่แม่จะพูดว่า
...ทำไมลูกงี่เง่าอย่างนี้
ก็จะพูดว่า
...แม่รู้สึกผิดหวังมากเลย
...หรือแม่รู้สึกหงุดหงิดเหมือนกันนะ
ที่หนูทำแบบนี้
🍃มนุษย์ทุกคนก็มีความรู้สึก มีความต้องการเป็นปกติ การฟังด้วยใจทำให้เราเข้าใจความเป็นมนุษย์ของตัวเรามากขึ้น แล้วก็ให้อภัยตัวเราได้ง่ายขึ้น
1
ฝึกฟังด้วยการใช้ใจบ่อยๆ เราจะมีสติ รู้เท่าทันมากขึ้น แล้วเราจะฟังแบบมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ลดการกระทบกระทั่งกันได้มากขึ้นด้วย ทั้งนี้เพราะถ้าความเห็นไม่ตรงกัน แต่เรารู้จักที่จะฟังด้วยใจมากขึ้น เราจะเข้าใจความรู้สึกและความต้องการ ซึ่งความต้องการนี้ที่แท้จริงของเขา
2
🌼วิธีการฝึกฟังด้วยใจ🌼
คือ การฝึกฟังเฉยๆ ไม่ตั้งคำถาม
ไม่ตัดสิน ไม่สั่งสอน และไม่แย่งซีน
🍃ยกตัวอย่าง
บทสนทนาระหว่าง A กับ B ซึ่ง A ต้องการเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับแฟนที่พึ่งคบกัน
.
A : ตั้งแต่เราคบกับคนนี้ เรามีความสุขมากเลย
B : อ้าวหรอ แล้วไปเจอกันได้ไง
.
B กำลังแทรกถาม ทำให้สิ่งที่ A กำลังจะอยากเล่า มันกลายเป็นสิ่งที่ B อยากรู้
อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ A กำลังอยากเล่า
.
การฟังที่มีคุณภาพอย่าพึ่งรีบแทรกถาม
และอย่าพึ่งแบบนี่ตัดสิน
3
A : เขาดีกับเราเสมอต้นเสมอปลาย
B : โอ้ย...จะนานอีกไหมเนี่ย อย่าไปคาดหวังอะไรกับเค้ามากนะ
.
การฟังของ B ก็จะไม่เข้าถึงใจของ A เพราะมีอคติ มีการตัดสิน และมีการแนะนำสั่งสอนไปในตัว
.
A : เรารู้สึกว่าคนนี่ไว้ใจได้นะ คุยด้วยแล้วสบายใจ
B : อืม...แฟนเราก็เป็นอย่างนี้เลย คุยได้ทุกเรื่องแล้วเราก็สบายใจ
.
Bกำลังแย่งซีน A
.
การฟังของ B จะไม่สามารถเข้าถึงความรู้สึก ความต้องการจริงๆของ A แต่ถ้าฟังไปเรื่อยๆโดยไม่พูดแทรก ไม่ตัดสิน ไม่สั่งสอน
และไม่แย่งซีน ความคิดของ B จะตกผลึก
และรู้ว่า A เล่าเรื่องนี้ให้ฟังเพื่ออะไร
2
🍃การใช้ชีวิตในสังคม เราควรจะหันมาฟังกันและกันด้วยหัวใจให้มากขึ้น เราจะได้อยู่กันง่ายขึ้น
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณมีความสัมพันธ์จะต้องมีความขัดแย้งเกิดขึ้นเป็นปกติ เพราะว่ามนุษย์มีความต้องการที่แตกต่างกัน
เมื่อเกิดความขัดแย้ง บ่อยครั้งเราจะมุ่งไปที่การใช้เหตุผล ใช้ตรรกะอธิบาย
แต่ถ้าเราฟังกันด้วยความเข้าใจความรู้สึกของอีกคน เข้าใจลึกถึงความต้องการของเขา เราจะอยู่ด้วยความเข้าใจคนอีกคนหนึ่งได้ดีมากขึ้น
เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเข้าใจความรู้สึก ความต้องการของอีกคนได้ เราจะยอมรับกับ concept ความต้องการของอีกฝ่ายได้ดีขึ้นได้เข้าใจมากขึ้น
ซึ่งจะไปช่วยลดความขัดแย้งตรงนี้ได้ เราจะอยู่กับเขาด้วยความเข้าใจความเป็นมนุษย์เขามากขึ้นค่ะ
😊หวังว่าบทความนี้คงมีส่วนช่วยให้
ผู้อ่านเข้าใจการฟังด้วยหัวใจ และมีความสุข กับทุกความสัมพันธ์นะคะ😊
🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼
ขอบคุณที่แวะมาอ่านและทักทายกันค่ะ
💖ฟ้าหลังฝน💖
27/03/64
โฆษณา