Enterprise Architect – รับโจทย์ภาพใหญ่ขององค์กรจากทีม Business มาและนำมาออกแบบเพื่อให้แน่ใจว่าระบบทั้งหมดได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงาน Business ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
Data Architect – ผู้รู้และผู้ออกแบบโครงสร้าง Data ในองค์กร รวมถึงสร้างโครงสร้างความสัมพันธ์ของ Data ในระบบต่าง ๆ และสามารถรวบรวมทุกอย่างไปสร้างเป็น Master Data Management (MDM) ในองค์กรได้ เพื่อให้พร้อมนำไปใช้งานสำหรับจุดประสงค์ต่าง ๆ ขององค์กรอย่างมีนัยยะสำคัญ (แนะนำให้มีถ้าจะทำ Big Data ในอนาคต)
Infra Architect – ออกแบบระบบโครงสร้างขององค์กรในเชิง Infrastructure เช่น Infra Server (On-premises หรือ Cloud) ออกแบบการทำงานของ Network และดูแลความปลอดภัยในการใช้งานในเชิง Security (ในบางกรณีแยก Security ออกมาเป็นอีก 1 ตำแหน่ง Architect) หน้าที่หลักของ Infra Architect ออกแบบความสัมพันธ์ของ Server แต่ละ Server เพื่อลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุดและสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้ขององค์กรในเชิงการทำงานของระบบ เรียกได้ว่าพื้นฐานของระบบทุกอย่างที่ทาง The Enterprise ได้พูดมา
Q - องค์กรไม่มี IT Architect ได้หรือไม่
ถ้าองค์กรมีระบบแค่ 1 ระบบหรือมากกว่าหนึ่งระบบแต่ไม่มีความซับซ้อนต่อกันไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ แต่ถ้าองค์กรเริ่มมีระบบหลากหลายและต้องมีการทำ Integration ทำ Automation ข้ามระบบเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่สุด จึงควรจะต้องมี IT Architect มาดูแล และขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้น ๆ จะให้ความสำคัญในด้านไหนด้วย ตามประเภทที่แตกต่างกันของ IT Architect ตามหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกัน
Q - ถ้าไม่มีงบและไม่อยากลงทุน IT Architect จะทำอย่างไรได้บ้าง
จริง ๆ แล้วแนะนำให้มีถ้าเงื่อนไขการใช้งานระบบในองค์กรเริ่มมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น แนะนำให้องค์กรลองดูว่าจะ Focus ในกลุ่ม IT Architect ประเภทไหนที่องค์กรเน้นก่อน เช่น Infra ก่อนก็ได้หรือ Solution/Software ก่อนแล้วค่อย ๆ ขยายตามความต้องการของ Business Team แต่ถ้าไม่อยากได้ IT Architect มานั่งประจำทางคุณ Wiphop ก็แนะนำว่าอาจจะจ้างเป็น Outsource ที่มีความเชี่ยวชาญในงาน IT Architect มาให้บริการเป็นครั้ง ๆ แทน เนื่องจากถ้าระบบไม่เยอะ ไม่ซับซ้อน หรือมีการเปลื่ยนแปลงไม่บ่อย ก็อาจจะไม่ต้องลงทุนจ้าง IT Architect มานั่งประจำก็เป็นไปได้