27 มี.ค. 2021 เวลา 07:34 • ความคิดเห็น
🔖มนสิการ กับ นมัสการ🔖
คำสองคำนี้ที่เขียนใกล้เคียงกันเหลือเกิน แต่ความหมายไม่ใกล้กันเลยนะครับ
หลายคนคงจะเคยอ่านผ่านตามาบ้างแล้วสำหรับศัพท์ทั้งสองคำนี้ เป็นคำที่นักภาษาชอบใช้กันเพื่อให้ความรู้สึกที่ลึกซึ้งเข้าถึงกว่าคำธรรมดาที่เคยใช้กันปกติทั่วไป
.
เราลองมาดูความหมายของสองคำนี้กันนะครับ
cr: pixabay/Verywell Mind
🔻นมัสการ หมายถึง การแสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบไหว้
ใช้ขึ้นต้นและลงท้ายหนังสือที่ไปถึงภิกษุสามเณร
🔻ภาษาเขมร
នមស្ការ (นมสฺการ)
🔻ภาษาสันสกฤต नमस्कार
(นมสฺการ)
🔻ภาษาบาลี นมกฺการ
🔻มนสิการ หมายถึง การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา
1
🤔 โยนิโสมนสิการ หมายถึง การทำในใจโดยแยบคาย การพิจารณาโดยแยบคาย
2
โยนิโสมนสิการ มาจาก 2 คำ
คือ โยนิโส + มนสิการ
• โยนิโส มาจากคำว่า โยนิ หมายถึง เหตุ ต้นเหตุ หรือ จุดเกิดแห่งเหตุ
• มนสิการ แปลว่า การคิด การวิเคราะห์ การพิจารณา
คือ พิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริง โดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับ
🔻การทำใจให้แยบคาย เป็นปัจจัยในการรับรู้ผัสสะจากภายนอก อันจะเป็นตัวกั้นกระแสความคิดไม่ให้ปรุงแต่งตามตัณหา ความทะยานอยากที่เป็นองค์ประกอบภายในของตนเอง ทำให้พิจารณาสิ่งต่างๆอย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนั้น โยนิโสมนสิการ จึงมีความหมายของการคิดที่เป็นระบบ คิดเป็นระเบียบ และคิดมีเหตุผล🔻
🔻โยนิโสมนสิการ
ตามหลักภาษาไทย และระเบียบวิธีในหลักภาษาอื่นๆ
1
อ่านว่า
โย-นิ-โส-มะ-นะ-สิ-กาน
1
ประกอบด้วย
โยนิโส + มนสิการ
โยนิโส ประกอบด้วย
โยนิ + โส
โยนิ หมายถึง ได้หลายอย่างคือ
1. มดลูก ช่องคลอด
2. กำเนิด, บ่อเกิด, ธรรมชาติ, อาณาจักรแห่งความเป็นอยู่
3. ความละเอียด, ปรีชา, ความรู้, ญาณ
โส หมายถึง ปัจจัย (โดย, เป็น)
โยนิโส แปลตามศัพท์ว่า โดยต้นกำเนิด
หมายถึง ละเอียด ทั่วถึง มีระเบียบ อย่างฉลาดหรือสุขุม อย่างถูกต้องหรือสมควร โดยแยบคาย
มนสิการ ประกอบด้วย
มนสิ + การ
มนสิ คำเดิมคือ มน (มะ-นะ) ใจ + สมึ (สะ-หมึง) ใน, ใกล้, ที่, ครั้น, เมื่อ, ใน, เพราะ
มนสิ แปลว่า ในใจ
การ แปลว่า การกระทำ
มนสิการ แปลว่า การทำไว้ในใจ
โยนิโสมนสิการ แปลว่า การพิจารณาโดยแยบคาย(คำนาม) เข้าใจตั้งแต่ต้น, เข้าใจโดยตลอด(คำกริยา)
ข้อมูลเชิงลึกด้านภาษาศาสตร์สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
โฆษณา