28 มี.ค. 2021 เวลา 12:45 • หนังสือ
#สรุปหนังสือ The Road Less Treveled : บทเรียนชีวิตที่จิตแพทย์อยากบอก
1
1.M. Scott Peck นักเขียนจิตแพทย์ได้ค้นพบว่า ..คุณไม่สามารถเติบโตได้ถ้าคุณหลีกเลี่ยง ‘ความเจ็บปวด’ ในชีวิต เพราะความเจ็บปวดนั้นคือหนทางของความเจริญงอกงามอย่างแท้จริง
2. #วินัย คือเครื่องมือที่จำเป็นพื้นฐานต่อการแก้ปัญหาชีวิต หากเราไม่มีวินัย เราจะแก้ไขอะไรไม่ได้เลย หากเรามีวินัยบางส่วน เราจะแก้ปัญหาได้บางส่วน หากเรามีวินัยเต็มที่ เราจะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด โดยวินัยจะประกอบไปด้วย 1. การอดเปรี้ยวไว้กินหวาน 2. การรับผิดชอบ 3. การยึดถือความจริงและ 4. การรักษาความสมดุล
3. ปัญหาคือสิ่งที่แสดงถึงความยากลำบาก แต่การเผชิญและแก้ไขปัญหาทั้งหมดนี้เอง ที่ทำให้ชีวิตมีความหมายในตัวของมันเอง
5
4. คาร์ล ยุง กล่าวไว้ว่า “โรคประสาทคือผลลัพธ์ของการไม่ยอมเผชิญความทุกข์อย่างตรงไปตรงมา”
5. “วินัย” คือเครื่องมือที่ทำให้เราเผชิญปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ผ่านความเจ็บปวด และสุดท้ายทำให้จิตวิญญาณภายในเติบโตและเจริญงอกงาม
6. เด็กที่อดใจทำการบ้านให้เสร็จก่อนไปเล่นกับเพื่อน เด็กที่ถูบ้านให้เสร็จก่อนไปดูหนัง คือตัวอย่างของการเผชิญหน้าความเจ็บปวด การอดเปรี้ยวไว้กินหวานแสดงถึงความมีวินัยอย่างหนึ่ง เด็กที่ไม่สามารถทำได้มักเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหา เนื่องจากเค้าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เค้าจะทำแต่สิ่งที่เค้าชอบและจะเปลี่ยนแปลงก็ต่อเมื่อถูกบังคับจากปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
7. เมื่อเรารักสิ่งใด เราจะใส่ใจและมีเวลาให้สิ่งนั้น พ่อแม่ที่ใกล้ชิดและมีเวลาให้กับลูกจะตรวจพบความต้องการด้านวินัยของลูกอย่างรวดเร็วและแก้สิ่งต่างๆที่ลูกต้องปรับอย่างอ่อนโยน ในทางกลับกันพ่อแม่ที่ไม่มีเวลาให้กับลูกมากนักมักปล่อยวางวินัยที่ควรแก้ไขแต่เนิ่น ๆ และวางกฎกรอบหรือโทษเพื่อให้ลูกปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง แต่น่าเสียดายนั่นอาจสายไปเสียแล้ว ไม่ว่าจะเป็น การแปรงฟัน การเคารพผู้ใหญ่ การทักทาย การพูดจา การมีน้ำใจ เหล่านี้ต้องคอยขัดเกลาตั้งแต่เริ่มต้น
8. การมอบความรักให้ลูกอย่างเต็มที่ทำให้เด็กเติบโตมามีความมั่นใจ สุขภาพจิตดี และมีวินัยสูง เนื่องจากเค้าสัมผัสถึงความมีคุณค่าในตัวเองจากการกระทำของพ่อแม่ การรู้สึกว่ามีคุณค่าทำให้เค้าผ่านทุกปัญหาไปอย่างไม่ยากเย็น และทำให้เค้าพยายามสร้างวินัยขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับคุณค่าที่เค้าเป็น ดังนั้นการให้เวลากับลูกจึงมีความสำคัญมาก !
9. เวลาเกิดปัญหาเรามักไม่ชอบทนอยู่กับความไม่สบายใจ โดยพยายามหลีกเลี่ยง เบี่ยงเบน กลบเกลื่อนและฝังลืม การให้เวลากับการแก้ปัญหาน้อยมาก ทำให้เราไม่เข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง พอเราไม่เข้าใจเราจะไม่ปล่อยวาง อาทิ เช่น เมื่อยอดขายของร้านลดลง เมื่อเราวิเคราะห์ดูแล้วพบว่าเนื่องจากเป็นสิ้นเดือน หรือเป็นวันหวยออก 55 ก็อาจทำให้ยอดขายลดลงได้เนื่องจากผู้คนสนใจแต่หวยมากกว่าเรื่องอื่น ดังนั้นเราต้องวิเคราะห์ปัญหาให้เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วสมองเราก็จะปล่อยวางเอง เริ่มง่ายๆจากคุณต้องให้เวลากับมันก่อน
1
10. การแก้ปัญหาได้ต้องเริ่มจากการยอมรับว่า ปัญหานั้นคือปัญหาของเรา อาทิเช่น มีสุนัขบ้านอื่นมาอุจจาระหน้าบ้านของเรา ถ้าเราบอกว่านี่เป็นปัญหาของเจ้าของสุนัข ไม่ใช่ปัญหาของเรา คำถามคือ เมื่อเราไม่ยอมรับว่าเป็นปัญหาของเรา แล้วอุจจาระจะสลายหายไปจากหน้าบ้านเราไหม ? จะเห็นได้ว่า เราอาจรู้ว่าอะไรเป็นปัญหา แต่บางทีเราไม่อยากยอมรับมันโดยตรง ปัญหาจึงไม่ได้ถูกแก้
11. ปัญหาความผิดปกติทางจิตที่จิตแพทย์พบบ่อยมีสองอย่าง คือ #โรคประสาทที่เกิดจากการแบกความรับผิดชอบมากเกินไป กับ #โรคประสาทที่เกิดจากการไม่รับผิดชอบอะไร คนกลุ่มแรกมักชอบรู้สึกผิด และมักใช้คำว่า “ฉันควรจะ” “ฉันน่าจะ” แต่อีกกลุ่มมักใช้คำว่า “ฉันทำไม่ได้” “ฉันจำเป็นต้อง...” ถ้าเทียบสองคนนี้ คนแรกจะรักษาง่ายกว่า เพราะเค้ารู้สึกว่าตัวเองต้องรับผิดชอบปัญหาของตัวเอง และมองตัวเองว่าเป็นปัญหา ส่วนอีกคนจะแก้ยากมากเพราะเค้ามองว่าที่เค้าทำไม่ได้เพราะปัจจัยภายนอกเป็นปัญหา เรื่องนี้ทำให้เห็นว่า.. #การก้าวข้ามปัญหาต้องอาศัยความรับผิดชอบ
12. ทุกคนมีปัญหาทางจิต..แต่มากน้อยแตกต่างกันไป ถาวรหรือชั่วคราวก็แตกต่างกันไปอีก การแยกแยะว่าอะไรที่เราควรรับผิด และอะไรที่ไม่ใช่ความรับผิดชอบของเรานั้น เป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของมวลมนุษย์
13. โรคประสาทที่เกิดจากการับผิดชอบมากไป มักทำให้ตัวเองรู้สึกแย่ #แต่โรคประสาทที่เกิดจากการไม่รับผิดชอบอะไรมักทำให้คนรอบข้างรู้สึกแย่ แทบฟันธงได้เลยว่าคนประเภทที่สองมักทำให้ลูกเป็นโรคประสาท ยกตัวอย่างเช่น “ที่ฉันเป็นแบบนี้ก็เพราะเธอนั่นแหละ ถ้าฉันไม่มีเธอป่านนี้คงสบายไปแล้ว !” คำพูดเหล่านี้ฝังลงจิตใต้สำนึกได้รุนแรงมาก ว่าเค้าคือตัวปัญหา และไม่มีค่าอะไร นั้นคือจุดเริ่มต้นของการสร้างปัญหาสังคมในอนาคต
14. เราโทษสิ่งใด หมายความว่าเรายกอำนาจให้สิ่งนั้น ยิ่งเราโทษมากเท่าไร เราก็ยิ่งไม่มีอำนาจใดๆในการเลือกชีวิตเลย
15. การสร้างวินัยในตัวเองคือการสอนให้ตัวเราทำสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมชาติในตอนแรก ลักษณะอีกด้านของธรรมชาติมนุษย์คือ ความสามารถในการทำสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมชาติ #รวมถึงความสามารถที่จะก้าวข้ามและเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของตัวเราเอง
16. เอลดริจด์ คลีฟเวอร์ กล่าวไว้ว่า.. “ถ้าคุณไม่ใช่ส่วนหนึ่งของทางแก้ปัญหา คุณก็คือส่วนหนึ่งของปัญหา” ซึ่งหมายความว่า ถ้าคุณไม่แก้ปัญหา #ท้ายที่สุดแล้วตัวคุณเองจะกลายเป็นตัวปัญหาซะแทน !!!
17. ปัญหาสร้างความเจ็บปวดให้กับเด็กอาจไม่มีผลแบบเดียวกับผู้ใหญ่ จะเห็นได้ว่าเมื่อเราเติบโตจากภายใน สิ่งใดที่เป็นปัญหาอาจไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป ดังนั้นเราจะมองสิ่งใดเป็นเรื่องยากลำบากจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดปัญหาอย่างเดียวแต่ขึ้นอยู่กับขนาดการเติบโตภายในด้วย
18. “ถ้าจุดมุ่งหมายในชีวิตคุณคือการหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดและหลบหนีความทุกข์ ผมไม่แนะนำให้คุณแสวงหาการเติบโตทางจิตใจ ประการแรกเพราะคุณไม่สามารถได้มันมาโดยปราศจากความทุกข์”
19. จากการทดลองคัดคนที่ประสบความสำเร็จ 12 คน มาทำการสำรวจโดยให้คนเหล่านี้เขียนปัจจัยที่ทำให้เค้าประสบความสำเร็จ โดยให้เขียนออกมา 3 ปัจจัย ได้คำตอบสุดน่าทึ่งโดยพบว่า ปัจจัยที่ 3 และที่ 2 นั้นแตกต่างกันไปแต่ละคน แต่ปัจจัยที่ 1 นั้นทุกคนเขียนเหมือนกันว่า “ตัวฉันเอง” ไม่ใช่เพราะความรัก ไม่ใช่เพราะครอบครัว แต่ที่ฉันทำสำเร็จอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อ “ตัวฉันเอง” สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึง “การรักตัวเอง นับถือตัวเอง เป็นตัวของตัวเอง” #เป็นพื้นฐานที่ผลักให้แต่ละคนเชื่อมั่นในตัวเองและรับผิดชอบกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ เมื่อสำรวจลึกลงแล้วพบว่า บุคคลเหล่านี้มีครอบครัวที่อบอุ่น ลูกน้องรักใคร่ สื่อว่า.. #การรักตัวเองไม่ได้ทำร้ายใครอีกทั้งยังช่วยทำให้คนรอบข้างมีความสุขด้วย
20. การรักตัวเองเป็นการยืนยันถึงความสำคัญของตัวเอง ส่วนความรู้สึกพึงพอใจของตัวเองนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง #เราอาจรักตัวเองแต่ไม่จำเป็นต้องรู้สึกพึงพอใจเสมอ เพราะบางเวลาที่เราต้องแก้ไขนิสัยบางประเภทก็อาจมีช่วงที่ไม่พึงใจอยู่บ้าง สองความรู้สึกนี้แยกคนออกได้เป็นสองประเภท คือคนที่มีโอกาสประสบความสำเร็จกับผู้ที่ปล่อยชีวิตเหลวแหลกเพียงเพื่ออยากให้ทุกวินาทีของตัวเองนั้นมีแต่ความพึงพอใจ
1
21. ความรู้สึกว่าเราเป็นคนไม่สำคัญ ไม่ควรค่าแก่การรัก ไม่น่าปรารถนาเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดในการสร้างสุขภาพจิตที่ดีและสังคมที่ดี มีเหตุผลมากมายที่ทำให้คุณมองว่าคุณนั้นสำคัญ #จงเพ่งมองไปที่มัน
22. ดอน ฮวน ปราชญ์ชาวบ้านแห่งเผ่ายาคีได้กล่าวไว้ว่า “ความตายเป็นพันธมิตรที่น่ากลัวแต่ก็เป็นที่ปรึกษาที่ชาญฉลาดให้เราเสมอ” การไม่ยอมเผชิญหน้ายอมรับความตาย เราจะขาดตัวกรองที่จะบอกเราว่า เรื่องใดสำคัญและเรื่องใดไม่สำคัญ ดังนั้น การยอมรับว่าเราต้องตายทำให้สิ่งที่เราเลือกทำนั้นมีความหมายต่อเราจริงๆ และไม่หลงทางไปกับการเดินตามทางของผู้อื่น
23. ความมั่นคงที่แท้จริงอย่างเดียวในชีวิต คือการหาความสุขจากความรู้สึก “ไม่มั่นคง” ของชีวิต
24. รูปแบบของความรักคือการมีหนทางเลือกที่อิสระ และไม่จำเป็นต้องทำตามแบบแผนสังคมเสมอไป
25. ความรักที่แท้จริงจะยอมรับนับถือความเป็นปัจเจกชนและอัตลักษณ์เฉพาะตัวของคนอื่น ดังนั้นคนที่มีความรักอย่างแท้จริง ซึ่งให้ค่าและลักษณะเฉพาะและความแตกต่างของคนที่เขารัก จึงมักลังเลที่จะสรุปว่า “ฉันถูก คุณผิด ฉันรู้มากกว่าคุณ”
26. ระบบคอมมิวนิสต์กำเนิดมาเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคม แต่ไม่ตอบสนองความต้องการเชิงปัจเจก ส่วนทุนนิยมสร้างมาเพื่อตอบสนองความต้องการเชิงปัจเจก จนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ และสิ่งใดสำคัญกว่าล่ะระหว่าง สังคมที่สงบสุข กับปัจเจกที่สงบสุข ?
1
คำถามสุดโต่งประเภทนี้ย่อมไม่อาจหาคำตอบได้ เพราะคำตอบอาจอยู่ในทั้งสองปัจจัยข้างต้น เพราะสุขภาวะของปัจเจกชนขึ้นอยู่กับสุขภาวะของสังคม และสุขภาวะของสังคมก็ขึ้นกับสุขภาวะของปัจเจกชนอย่างแยกกันไม่ออก บางทีเราอาจลืมไปว่าไม่ได้มีแค่ด้านซ้ายกับด้านขวา แต่มันมีตรงกลางเป็นทางเลือกด้วย
4
27. อลัน โจนส์ นักเทววิทยาได้กล่าวไว้ว่า “หนึ่งในปัญหาของเราคือ น้อยคนที่จะพัฒนาชีวิตที่เป็นตัวของตัวเองอย่างเด่นชัด ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับตัวเราดูเหมือนจะเป็นของมือสอง แม้แต่อารมณ์ของเรา ในหลายกรณีเราต้องพึ่งพาข้อมูลชั้นสอง เราถึงจะมีชีวิตอยู่ได้ ผมต้องยอมรับคำพูดของแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ อย่างไว้วางใจ
“ผมไม่ชอบที่จะทำเช่นนี้เลย แต่ผมต้องทำตามเพราะพวกเขามีความรู้เฉพาะทางที่ผมไม่รู้ ผมมีชีวิตอยู่ได้เพราะข้อมูลมือสองเกี่ยวกับไตของผม ผลกระทบของคอเลสเตอรอล วิธีเลี้ยงไก่
#แต่เมื่อเราต้องเผชิญคำถามเรื่องความหมาย จุดมุ่งหมายของชีวิตและความตาย ข้อมูลมือสองไม่อาจช่วยเราได้ ถ้าหากผมจะมีชีวิตอยู่ผมจะต้องมีคำอธิบายของตัวเอง ผมจะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง”
สรุปคือ #ความรู้คุณถามคนอื่นได้แต่ความหมายคุณต้องสัมผัสเอง..
28. ปัจจุบันผู้คนมีแนวโน้มที่จะเชื่อวิทยาศาสตร์มากกว่าศาสนา เนื่องจากความเชื่อทางศาสนาอาจที่ยึดมั่นมากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ที่มีวุฒิภาวะก็ตระหนักได้ว่า วิทยาศาสตร์ก็อาจถูกเชื่ออย่างยึดติดงมงายได้ไม่ต่างจากคติความเชื่อทางศาสนาใดๆ ดังนั้นไม่ว่าใครก็ตามก็ล้วนแต่มีกรอบความเชื่อในการดำเนินชีวิตทั้งหมด #สิ่งสำคัญคือการรู้ตัวและไม่ตกเป็นเหยื่อของกรอบความเชื่ออย่างหน้ามืดตามัว
//พะโล้
#เรื่องย่อของหนังสือเล่มเยี่ยม
โฆษณา