28 มี.ค. 2021 เวลา 16:10 • การศึกษา
โรงเรียนประถม-มัธยมในสหราชอาณาจักรสอนวิชาการเงิน
ไม่ใช่แค่สอนให้ออมเงิน แต่สอนภาษี ค่าเงิน สินเชื่อ และอื่นๆ
13
ช่วงเวลาของการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของบ้านเรากำลังจะผ่านพ้นไปอีกปี แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าในประเทศไทยมีคนจำนวนมากไม่เข้าใจเรื่องการบริหารการเงินส่วนบุคคล ไม่เคยยื่นแบบภาษี เสียภาษี หรือขอคืนภาษีใด ๆ ทั้งสิ้น แม้กระทั่งคนที่เรียนจบทำงานได้สักระยะที่ไม่เข้าใจเรื่องภาษีก็มีให้เห็นถมเถ
6
ปัญหาหลักที่เราทุกคนรับรู้ก็คือ การเงินเป็นเรื่องสำคัญ แต่ทำไมกัน... ดูเหมือนโรงเรียนจะไม่เคยสอนเราเรื่องพวกนี้เท่าไหร่เลย
2
จะพาไปดูว่าระบบการศึกษาในประเทศชั้นนำทางด้านการศึกษาสหราชอาณาจักร อันประกอบด้วยอังกฤษ ไอร์แลนด์เหนือ สกอตแลนด์ และเวลส์ บรรจุวิชาการเงินเข้าไปในหลักสูตรการเรียนทั้งระดับประถมและมัธยมอย่างไร สอนอะไรกันบ้าง และสอนอย่างไร
1
เมื่อจบชั้นประถมศึกษา (อายุ 11 ปี)
2
- อังกฤษ : สอดแทรกวิชาการเงินไว้กับวิชาคณิตศาสตร์ ให้นักเรียนพอจะมีความเข้าใจเรื่องสกุลเงินปอนด์ ชิลลิง การใช้เหรียญและธนบัตร การทอนเงิน
- ไอร์แลนด์เหนือ : กำหนดว่าต้องมีความรู้เรื่องการเก็บรักษาเงิน การทำงบรายรับรายจ่าย การออมเงิน การวางแผนการเงิน การวางแผนใช้จ่าย
- สกอตแลนด์ : กำหนดให้ต้องมีความรู้เท่าทันในการใช้เงิน การทอนเงิน การเปรียบเทียบราคา และการใช้บัตรต่าง ๆ ของธนาคาร
- เวลส์ : เช่นเดียวกับสกอตแลนด์ แต่เพิ่มความรู้เรื่องกำไร ขาดทุน และการประเมินมูลค่าเงินเข้าไปด้วย
11
เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษา (อายุ 18 ปี)
1
- อังกฤษ : ได้เรียนรู้เรื่องการจัดการความเสี่ยง หนี้ สินเชื่อ ประกันชีวิต การออมเงิน การรับเงินบำนาญ บริการทางการเงิน และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เช่น ดอกเบี้ย
- ไอร์แลนด์เหนือ : ได้เรียนรู้การใช้คณิตศาสตร์เพื่อประกอบการตัดสินใจทางการเงิน ความสามารถในการชำระหนี้
- สกอตแลนด์ : ได้เรียนรู้เพิ่มในเรื่องนิติกรรมสัญญาทางการเงิน บริการทางการเงิน หนี้ สินเชื่อ การมีรายได้ การเสียภาษี และการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
- เวลส์ : ได้เรียนรู้เพิ่มเรื่องเงินตราระหว่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน ดอกเบี้ยทบต้น รายรับรายจ่ายครัวเรือน การเปรียบเทียบและตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
6
โดยสหราชอาณาจักรอยู่ในระหว่างการผลักดันหลักสูตรการศึกษาด้านบุคคล สังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจ ในระดับโรงเรียน หรือ Personal, Social, Health and Economic (PSHE) education พัฒนาเด็กให้เติบโตอย่างมีสุขภาพดี ปลอดภัย และมีความพร้อมที่จะใช้ชีวิตและทำงาน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และการมีความรับผิดชอบต่อสังคม และปัจจุบันมีเครือข่ายครูและบุคลากรทางการศึกษาในโครงการนี้แล้วมากกว่า 50,000 คน
1
โฆษณา