10 เม.ย. 2021 เวลา 15:50 • ธุรกิจ
Due Diligence คืออะไร?
Due Diligence
Due Diligence ถ้าแปลเป็นไทยแบบง่าย หมายถึง "การตรวจสอบเชิงลึก" , "การแสวงหารความเสี่ยง" หรือการทำ Due Diligence บางครั้งอาจให้ความหมายว่า "การสอบทานธุรกิจ (Business Review)" ก็ได้ครับ และมันคือการตรวจสอบอะไรล่ะ!!!
Due Diligence เป็นการตรวจสอบและประเมินทรัพย์สิน ตลอดจนหนี้สินของบริษัทฯ ว่ามีมูลค่าอยู่จำนวนเท่าใด มีข้อจำกัดใด มีเงื่อนไขใด? และถูกต้องครบถ้วนตามที่ได้เปรียบเทียบกับข้อมูลหรือตัวเลขทางบัญชีหรือไม่ รวมทั้ง มีอยู่จริงหรือไม่? นั่นเอง ซึ่งในการตรวจสอบและประเมินมูลค่าดังกล่าว ผู้กระทำ ต้องใช้ความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเพียงพอด้วย
โดยการทำ Legal Due Diligence ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปด้านการตรวจสอบด้านภาษีอากร ตรวจสอบกิจการว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงสูงมากต่อการจะถูกฟ้องร้อง โดยเฉพาะผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนั้น มีความสำคัญมากต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่สนใจซื้อกิจการ หรือลงทุน เพราะอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงาน และเงินลงทุน
การทำ Due Diligence จะดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะของกิจการ ซึ่งแบ่งได้เป็นส่วนที่ต้องตรวจสอบวิเคราะได้ห์ 3 ด้าน ดังนี้ครับ
ด้านที่ 1. การตรวจสอบมูลค่าทางธุรกิจ (Valuation Validation)
ด้านที่ 2. การตรวจสอบบัญชี (Accounting)
ด้านที่ 3. การตรวจสอบกฎหมาย (Legal)
โดยการทำ Due Diligence ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจาก ในกรณีซื้อขายกิจการ หรือเลิกกิจการ รวมทั้ง การวางแผนควบรวมกิจการ การเจรจาแก้ปัญหาในการแยกกิจการ แยกหุ้นส่วน ขายหุ้น หรือ หาพันธมิตรในการเพิ่มทุน ฯลฯ เพื่อให้ทุกฝ่ายทราบมูลค่าที่แท้จริง และสถานภาพ ของกิจการ ทั้งในทางบัญชี รวมทั้ง ข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งหมด
และการทำ Due Diligence นั้น ต้องให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ดำเนินการ ร่วมกับ สำนักงานบัญชีโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(CPA) และ รวมถึงสำนักงานกฎหมาย (Law Firm) เพราะต้องมีความเชี่ยวชาญทั้งด้านการเงิน กฎหมาย และด้านบัญชี เพื่อให้ช่วยตรวจสอบด้านต่างๆให้ครอบคลุมครบถ้วน
เรียกได้ว่า Due Diligence ในเชิงธุรกิจนั้น เรียกได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมีผลอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ เพื่อไม่ให้เป็นการลงทุนที่ผิดพลาด และเป็นการทำให้รู้ถึงธุรกิจนั้นๆก่อนการดำเนินการอย่างใดได้เป็นอย่างดีนั่นเองครับ :)
❤️วันนี้ผมขอจบบทความนี้แต่เพียงเท่านี้ก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า ฝากติดตามเป็นกำลังใจให้กันต่อไปด้วยนะครับ Thank you very much 🙏🏻😊
📌สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ จากเพจความรู้คู่ความโง่ (Stupid with Knowledge) ✔ทุกคนจะฉลาดมากขึ้น หากเกิดข้อสงสัย ตั้งคำถาม และหาคำตอบให้กับเรื่องนั้นๆ 🙂🐻
💓 อย่าลืมกด " Like " กด " Share " เป็นกำลังใจให้แอดมินด้วยนะครับ
📝 Feedback ให้แอดมินได้เสมอนะครับ ทางเพจยินดีน้อมรับทุกคำติชมจากทุกท่าน 💙
Please Support & Follow us ♥️✍🏻
โฆษณา