31 มี.ค. 2021 เวลา 14:34 • สุขภาพ
สวัสดีค่ะ มาถึงบทความ เรื่อง ผิว ผิว ตอนที่ 4 กันแล้วนะคร้าาาา วันนี้ขอนำเสนอในเรื่องของการดูแลบาดแผลที่ผิวหนังนะคร้า วันนี้มาแนวที่แตกต่างจาก 3 บทความข้างต้น เนื่องมาจาก หลายวันก่อน คนใกล้ตัวของพี่เภสัชทรายได้รถล้มและถูกท่อไอเสีย ทำให้เกิดบาดแผลที่ขา ต้องบอกว่าไม่ได้เป็นแผลที่ใหญ่มากนะคะ ถ้าใหญ่มาก เลือดไหลไม่หยุด พี่เภทรายขอแนะนำให้ไปหาหมอและให้พยาบาลสุดสวยทำแผลเถอะนะคะ อิอิ เรามาต่อกันนะคะ คนใกล้ตัวของพี่เภทรายจึงได้มีการมาสอบถามเรื่องการดูแลแผลกับพี่เภสัชทราย ทำให้รู้ว่าเรื่องการดูแลแผลนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากๆนะคะ ดังนั้นจึงอยากมาแบ่งปันเรื่องนี้ให้กับทุกท่านค่ะ
แผลคืออะไร
แผล คือ การที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บนั่นเอง
แผลแบ่งตามความสะอาดหลักๆ ได้ 3 ประเภท
1. แผลสะอาด (clean wound) หมายถึง แผลที่ไม่มีการติดเชื้อหรือเป็นแผลที่เคยปนเปื้อนเชื้อ แต่ได้รับการดูแลจนแผลสะอาดไม่มีการติดเชื้อ เนื้อเยื่อของแผลเป็นสีชมพูอมแดงและมักเป็นแผลปิด (closed wound) หรือเป็นแผลที่เกิดจากการวางแผนล่วงหน้าเพื่อการตรวจรักษา มีการควบคุมภาวะปราศจากเชื้อ เช่น แผลผ่าตัด แผลเจาะหลัง แผลให้น้ำเกลือล้างแผล
2. แผลปนเปื้อน (contaminated wound) เป็นแผลที่ไม่สะอาด ได้แก่ แผลที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น แผลถลอก แผลไฟไหม้ แผลน้ำร้อนลวก แผลถูกรังสี แผลถูกกรด-ด่าง ไฟฟ้าช็อตหรือแผลผ่าตัดที่มีการปนเปื้อนเชื้อในระหว่างการผ่าตัด โดยแผลมีการอักเสบ คือ มีอาการ ปวด บวมแดง ร้อน แต่ยังไม่มีการติดเชื้อ
3. แผลติดเชื้อหรือแผลสกปรก (infected wound/ dirty wound) เป็นแผลที่มีการปนเปื้อนเชื้อจนเกิดการติดเชื้อ เกิดการอักเสบ มีหนอง ส่วนใหญ่เป็นแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุ
อุปกรณ์สำหรับทำแผล
1.ปากคีบเพื่อคีบสำลี ผ้าก๊อซ
2.สำลี
3.ผ้าก๊อซ เลือกขนาดที่เหมาะสมกับแผล
4.น้ำยาล้างแผล เช่น เบตาดีน ยาแดง
5.น้ำเกลือล้างแผล
6.แอลกอฮอล์ 70%
7.พลาสเตอร์ปิดแผล หรือผ้าก๊อซ
8.ผ้าพันแผล กรณีแผลมีขนาดใหญ่
การล้างแผลนั้นแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
1.กรณีแผลแห้ง
ขั้นตอนที่ 1 : ใช้ปากคีบ คีบก้อนส้าลีชุบแอลกอฮอล์ 70% ประมาณ 2/3 ของก้อนหรือพอหมาด นำไปเช็ดชิดขอบแผลและวนออกจากขอบแผลประมาณ 2-3 นิ้ว จนสะอาด
ขั้นตอนที่ 2 : ปิดแผลด้วยผ้าก็อซและติดพลาสเตอร์
2.กรณีแผลเปียก
ขั้นตอนที่ 1 : ใช้ปากคีบ คีบก้อนส้าลีชุบแอลกอฮอล์ 70% ประมาณ 2/3 ของก้อนหรือพอหมาด นำไปเช็ดชิดขอบแผลและวนออกจากขอบแผลประมาณ 2-3 นิ้ว จนสะอาด
ขั้นตอนที่ 2: ใช้ส้าลีชุบน้้าเกลือ 0.9% เช็ดในแผลจนสะอาด
ขั้นตอนที่ 3 : ใช้สำลีชุบน้ำยาล้างแผล เช่น เบตาดีน โดยเช็ดในแผล
ขั้นตอนที่ 4 : ปิดแผลด้วยผ้าก็อซ และปิดพลาสเตอร์
คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการดูแลแผล
1.ระมัดระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ หรือแผลเปียกชุ่ม หากแผลถูกน้ำ แผลเปียกควรเปลี่ยนผ้าปิดแผลใหม่ทันที
2.ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเพียงพอ โดยเน้นการดื่มน้ำเยอะๆ โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ เช่น วิตามินซี เอ และ อี เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างเนื้อเยื่อ และเสริมความแข็งแรงให้กับแผล
3.หากเกิดอาการคัน ไม่ควรเกา เนื่องจากทำให้แผลเกิดการถลอก เนื้อเยื่อไม่สมบูรณ์ เกิดการติดเชื้อ การอักเสบ เป็นแผลที่รุนแรงตามมาได้
4.หากแผลมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น มีอาการ บวม แดง ปวด แนะนำให้ไปพบแพทย์
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
1.กรณีทำแผลครั้งถัดไป หากแผลแห้งติดกับผ้าก๊อซ แนะนำให้ใช้สำลีชุบน้ำเกลือล้างแผล หยดลงบนผ้าปิดแผลหรือผ้าก๊อซ เพื่อให้เลือดหรือน้ำเหลืองอ่อนตัว จะช่วยให้ผ้าปิดแผลหลุดง่าย ไม่ทำร้ายเนื้อเยื่อบริเวณแผล
2.อายุการใช้งานของน้ำเกลือล้างแผลหลังจากเปิดคือ 1 เดือน ดังนั้น การเลือกซื้อให้ดูความถี่ของการใช้เป็นหลัก เช่น ถ้าใช้บ่อย กรณีล้างจมูก อาจซื้อขวดใหญ่ และถ้าใช้ไม่บ่อยอาจซื้อขวดเล็ก เป็นต้น
เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับบทความครั้งนี้ พี่เภสัชทรายหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะคะ พบกันใหม่บทความหน้านะคะ
เอกสารอ้างอิง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีบาดแผลและการอักเสบ http://courseware.npru.ac.th/admin/files/20170115134527_9712e31545d8c6c49a4187d69275c833.pdf
โฆษณา