8 เม.ย. 2021 เวลา 02:30 • ธุรกิจ
บุตรนำมาลดหย่อนภาษีได้ถึงเมื่อไร?
แบบไหนลดได้?
แบบไหนไม่ได้?
การมีบุตรซักคนนั้นจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูทั้งในเรื่องของค่ากินอยู่ ค่าเทอม หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ดังนั้นทางสรรพากรจึงให้สิทธิในการนำค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรนั้นมาลดหย่อนภาษีได้ สามารถลดหย่อนได้ทั้งบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และบุตรบุญธรรม
โดยมีหลักเกณฑ์อายุดังนี้
1. ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรืออายุยังไม่ถึง 20 ปี
2. บรรลุนิติภาวะแล้ว (อายุ 20-25 ปี) และกำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญา (ปวส. หรือ ปวท.) หรือปริญญาตรีขึ้นไป
3. อายุเท่าไหร่ก็ได้ แต่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
รวมถึงบุตรคนนั้นต้องมีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาท ในปีภาษีนั้นด้วย
สำหรับหลักเกณฑ์การลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม เป็นดังนี้
1. บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นคือบุตรที่เกิดจากสามี ภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย หรือไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่มีการจดทะเบียนรับรองบุตร
บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นสามารถนำมาลดหย่อนได้กี่คนก็ได้ตามจำนวนบุตรที่มีจริงๆ โดยมีจำนวนเงินที่สามารถนำมาลดหย่อนได้เป็นตังนี้
- บุตรคนแรก (ไม่ว่าจะเกิดปีไหนก็ตาม) ลดหย่อนได้ 30,000 บาท
- บุตรคนที่สองเป็นต้นไป ในกรณีเกิดก่อนปี 2561 ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท แต่ถ้าเกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไปลดหย่อนได้คนละ 60,000
2. บุตรบุญธรรม
บุตรบุญธรรมนั้นสามารถนำมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน หรือเมื่อรวมกับบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วต้องไม่เกิน 3 คน โดยลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
ตัวอย่าง 1
มีเฉพาะบุตรบุญธรรมจำนวน 3 คน
สามารถลดหย่อนได้ทั้งหมด
ตัวอย่าง 2
มีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 2 คน และมีบุตรบุญธรรม 2 คน จะสามารถลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ทั้ง 2 คนแต่บุตรบุญธรรมจะนำมาลดหย่อนได้แค่คนเดียว
ตัวอย่าง 3
มีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 4 คน และมีบุตรบุญธรรม 1 คน จะสามารถลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ทั้ง 4 คน แต่บุตรบุญธรรมจะไม่สามารถนำมาลดหย่อนได้
นอกจากนั้นแล้วการนำบุตรมาลดหย่อนนั้นสามารถใช้สิทธิได้ทั้งพ่อและแม่โดยไม่ต้องแบ่งสิทธิคนละครึ่งเหมือนการลดหย่อนอื่นๆ
ตัวอย่าง
พ่อแม่ มีลูกชอบด้วยกฎหมาย 3 คน
คนแรกเกิดปี 2559
คนที่สองเกิดปี 2561
คนที่สามเกิดปี 2563
จากตัวอย่างนี้จะสามารถนำบุตรมาลดหย่อนได้ดังนี้
คนแรก 30,000 บาท
คนที่สอง 60,000 บาท
คนที่สาม 60,000 บาท
รวมเป็นลดหย่อนได้ 150,000 บาท
โดยพ่อและแม่สามารถนำไปหย่อนได้ 150,000 บาท ทั้งสองคนโดยไม่จำเป็นต้องแบ่งครึ่งแต่อย่างใด
จากหลักเกณฑ์ค่าลดหย่อนบุตรดังที่กล่าวมา
จะเห็นว่าสรรพากรให้สิทธิลดหย่อนบุตรได้เต็มจำนวนทั้งสองคนทั้งพ่อและแม่ ซึ่งยังมีพ่อและแม่หลายๆท่านยังเข้าใจผิดอยู่ว่าต้องใช้สิทธิคนละครึ่งหรือใช้สิทธิได้แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งจะส่งผลให้ใช้สิทธิลดหย่อนได้ไม่เต็มจำนวน ดังนั้นจะเห็นว่าการศึกษาหรือการวางแผนภาษีนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเราเข้าใจและมีการวางแผนใช้สิทธิลดหย่อน จะทำให้เราประหยัดภาษีที่จะต้องจ่ายได้ตามสิทธิที่เราพึงมีได้
🤸🤸‍♀️🤸‍♂️
🤑ดอยอะไรก็ติดได้..แต่อย่าติดดอยชีวิต🤑วางแผนไว้ก่อน..รู้รอดเป็นยอดดี
หมอลงทุน
FA Sayamon S.
Finnomena ref 116407
ติดต่อแนะนำการลงทุนได้ที่..สมัครเลย!
♥️ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ ♥️
รบกวนกด Like กดแชร์ เป็นกำลังใจให้กัน ส่งต่อความรู้ดีๆ ให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกคนน้า
blockdit หมอลงทุน
facebook หมอลงทุน
...
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา